ระบำโบราณคดี ศรีวิชัย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 2 ม.ค. 2025
  • ระบำศรีวิชัยเป็นระบำโบราณคดี เป็นระบำชุดที่ 2 ของกรมศิลปากรที่มอบให้ นางลมุล ยมะคุปต์และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช 2530 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช 2528 เป็นผู้แต่งทำนองเพลง นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน เป็นผู้สร้างเครื่องแต่งกาย และนายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์และเครื่องประดับ โดยใช้หลักฐานจากศิลปกรรมภาพจำหลักที่สถูปบุโรพุทโธในเกาะชวา ซึ่งอยู่ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ อันเป็นยุคเดียวกันกับสมัยศรีวิชัย ที่สร้างขึ้นในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 ด้วยการแต่งทำนองเพลง กระบวนท่ารำและเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นจากลักษณะที่ปรากฏอยู่บนภาพจำหลักผสมกับท่วงท่าของนาฏศิลป์ชวา ที่เรียกว่าระบำศรีวิชัย และได้นำไปแสดงเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์ และนครสิงคโปร์ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2510 ต่อมาได้มีการปรับปรุงใหม่ทั้งกระบวนท่ารำและทำนองเพลงเพื่อให้เข้ากับระบำโบราณคดีอีก 4 ชุด สำหรับนำออกแสดง ณ สังคีตศาลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2510 และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2510

ความคิดเห็น •