The Siam Society Lecture: ชาวจีนโพ้นทะเลกับราชอาณาจักรสยาม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 18 ก.ค. 2024
  • ชาวจีนโพ้นทะเลกับราชอาณาจักรสยาม (3 กุมภาพันธ์ 2567)
    บรรยายโดย ปเรตร์ อรรถวิภัชน์
    ร่วมสนทนากับ คุณปัญญภัทร เลิศสำราญเริงรมย์ (ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเขตคลองสาน), อาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน (ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรมจีน), และ คุณธะเรศ โปษยานนท์ (ลูกหลานรุ่นที่ ๕)
    เปิดตำนานความภาคภูมิใจของชาวจีนโพ้นทะเลกับราชอาณาจักรสยามผ่านบันทึกประวัติความเป็นมาของตระกูลโปษยานนท์ ซึ่งหลายคนเป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในหลากหลายสาขาอาชีพ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เริ่มต้นจากการเดินทางของ “เจ๊สัวล่อแช” ผู้เป็นต้นตระกูลและบรรพบุรุษของสกุลโปษยานนท์ ที่อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากอำเภอเหยี่ยวเพ้ง จังหวัดแต้จิ๋ว มาอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ และลงหลักปักฐานที่บางกอกโดยสร้างคฤหาสน์เก๋งจีนอายุกว่า ๑๕๐ ปี ชื่อ “บ้านโปษ์กี่” ที่เขตคลองสานซึ่งปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร
    เรียนรู้ประวัติและเรื่องราวเกี่ยวกับลูกหลานสกุลโปษยานนท์ที่ได้เข้ารับราชการ อาทิ ที่กรมท่าซ้าย กระทรวงการคลัง และ กระทรวงยุติธรรม ดังเช่น พระยาพิพัฒนธนากร อดีตอธิบดีกรมฝิ่น ศาสตราจารย์พิพัฒน์ โปษยานนท์ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อดีตประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ฯลฯ เสริมด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ในบ้านโปษ์กี่ในยุคที่รุ่งเรืองของพระยาพิพัฒนธนากรเมื่อ ๘๐ ปีก่อน รวมถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับอดีตที่เฟื่องฟูของถิ่นคลองสาน วิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรมของชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากในประเทศสยามเช่นเรื่องอาหารการกิน การจัดทำป้ายดวงวิญญาณและการจัดตั้งสุสาน
    ปเรตร์ อรรถวิภัชน์ จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน มีผลงานเขียน อาทิ “ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสินและขุนนางคู่พระทัย ใครเป็นใครในวันยึดกรุงธนบุรี” และเรื่อง “พระเจ้าตากฉบับผู้บริหาร” นอกจากนี้ยังเป็นลูกหลานรุ่นที่ ๖ ของสกุลโปษยานนท์
  • บันเทิง

ความคิดเห็น •