มอญร้องไห้ ออกประจำบ้าน : ครูสมบัติ สังเวียนทอง ปี่พาทย์มอญกรมศิลปากร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 6 ต.ค. 2022
  • มอญร้องไห้ ออกประจำบ้าน : ครูสมบัติ สังเวียนทอง ปี่พาทย์มอญกรมศิลปากร
    ขับร้อง : ครูสมบัติ สังเวียนทอง
    ปี่มอญ : ครูสุวัฒน์ อรรถก​ฤ​ษณ์
    ระนาดเอก : ครูบุญสร้าง เรืองนนท์
    ระนาดทุ้ม : ครูบุญสืบ เรืองนนท์
    ฆ้องมอญวงใหญ่ : ครูจำลอง ม่วงท้วม
    ฆ้องมอญวงเล็ก : ครูไพรัตน์ จรรนาฏย์
    ตะโพนมอญ : ครูบุญช่วย แสง​อนันต์
    เปิงมางคอก : ครูอนุชา บริพันธ์
    เรียบเรียงเพลง : ครูทองใบ เรืองนนท์
    ควบคุมวง : ครูบุญสร้าง เรืองนนท์
    บันทึกเสียง : สุเทพ บรรทัดจันทร์
    : ณรงค์ ลำเต็ม
    : ประทิน คุ้มประเสริฐ
    : จิระวัฒน์ ปานพุ่ม
    โปรดิว​เซอร์ : ปฏิพล เหมวรานันท์
    ห้องบันทึกเสียง : จาตุรงค์ สตูดิโอ (๒๐ เมษายน ๒๕๔๐)
    - เพลงมอญร้องไห้ -
    มอญร้องไห้เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ของชาวมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลานต่อผู้ตาย อีกทั้งยังเป็นการรำพันคุณงามความดีของผู้ตาย ที่กระทำไว้เมื่อครั้งยังมีลมหายใจ ผู้ร้องจะใช้ปฏิภาณกวี เนื้อหาที่ร้องนั้นไม่ตายตัว และเป็นภาษามอญทั้งสิ้น
    ประวัติความเป็นมาของ "มอญร้องไห้" นั้น มีผู้กล่าวไว้หลายแห่ง เช่น เสถียรโกเศศ กล่าวถึงในหนังสือประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ในตอนที่เกี่ยวกับความตายไว้ว่า ต้นเหตุมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงปาฏิหาริย์ให้พระบาททะลุออกมานอกโลง เพื่อให้พระมหากัสสปบูชา ฝ่ายพุทธบริษัทที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ผลต่างร้องไห้กันระงม จึงเป็นประเพณีสืบต่อมา หรือบ้างก็ว่า เป็นการสืบเนื่องมาจากนางมัลลิกา ทรงกันแสงคร่ำครวญ ต่อพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งชาวมอญนั้นนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จึงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อ ๆ มากับภิกษุสงฆ์ จนถึงฆราวาส
    ที่มาอีกประการคือ เป็นเรื่องกุศโลบายในการสงครามสมัยพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์มอญที่ขับเคี่ยวกับพม่าในอดีต ราชบุตรของพระเจ้าราชาธิราช คือพระยาเกียรติถูกพม่าเข้าล้อมเมืองโดยไม่รู้ตัว กำลังทหารรักษาเมืองก็น้อย ไม่สามารถสู้รบกับทหารพม่าที่มีกำลังมากกว่า ได้พยายามส่งข่าวไปให้พระราชบิดามาช่วยก็ไม่สามารถทำได้ ยังมีนายทหารชื่อสมิงอายมนทยา อาสาออกไปส่งข่าวด้วยการนำอุบาย “นอนตาย” ไปบนแพหยวกกล้วย ตามร่างการทาด้วยน้ำผึ้ง ข้างกายมีหม้อปลาเน่า ส่งกลิ่นเหม็นทำให้มีแมลงวันมาตอมเหมือนตายจริง ๆ ขณะเดียวกัน ในระหว่างที่เดินออกมา ก็ให้หญิงสาวชาวมอญโกนหัวเดินร้องไห้โหยหวน พลางรำพึงรำพันถึงคุณงามความดีของสามี ที่นอนตายบนแพหยวกกล้วยนั้น ฝ่ายทหารพม่าไม่ได้เฉลียวใจว่าถูกกลลวง ปล่อยให้ขบวนศพที่มีมอญร้องไห้ผ่านไป จนสามารถนำทัพหลวงมาช่วยได้สำเร็จ จึงเป็นประเพณีมอญร้องไห้ไว้อาลัยสืบต่อกันมา
    ธรรมเนียม “มอญร้องไห้” ได้มีอิทธิพลแพร่เข้าไปยังราชสำนักไทย จะต้องมีนางร้องไห้ทุกครั้งที่สูญเสียบุคคลในราชตระกูล ธรรมเนียมนางร้องไห้ในวังนี้ คาดว่ามีมาแต่ครั้งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มาเลิกไปสมัยรัชกาลที่ ๖ เพราะไม่โปรดฯ ด้วยเห็นว่าน่ารำคาญ ร้องไปคนตายก็ไม่ฟื้นมาได้ แต่ในหมู่สามัญชนนั้นก็ยังมีความนิยมไม่เปลี่ยน
    มาระยะหลังชาวไทยได้ประยุกต์"มอญร้องไห้" ใส่บทร้อง และบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญ เรียกว่าแบบตลาด ส่วนเนื้อเพลงนำมาจากเรื่อง “ราชาธิราช” จับตอนสมิงพระรามหนีเมีย โดยก่อนจะหนีก็เขียนจดหมายสอดไว้ใต้หมอน เข้าไปมองหน้าลูกเมียเป็นครั้งสุดท้าย ผู้ที่ร้องเพลงนี้เอาไว้เป็นท่านแรก คือ ครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ ร้องได้สะเทือนอารมณ์ผู้ฟัง และถือเป็นแม่แบบของเพลงมอญร้องไห้มาจนปัจจุบัน.
    (ที่มาประวัติ : อนงค์ บรรจุน)​
    ที่มาภาพถ่าย​ : ดร.ปกรณ์ หนูยี่ (สำนักการสังคีต กรมศิลปากร)​
    เทปคาสเซ็ท ปี่พาทย์มอญ ชุดที่ ๒ ประจำทางใหม่
    บริษัท กรุงไทยออดิโอ จำกัด
    สำเนาเสียงจากเทปคาส​เซ็ท​ : ฉ​ั​ต​รกร​ เกตุ​มี
    เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์​เพลงไทย​ใน​การศึกษา​ มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และแสวงหารายได้
    ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ : / @deklenkhimchannel7019

ความคิดเห็น • 7

  • @squirrel-P998
    @squirrel-P998 4 หลายเดือนก่อน

    ร้องไพเราะมากคะ ครูสมบัติ

  • @ChakkarpongRitdech
    @ChakkarpongRitdech 15 วันที่ผ่านมา

    ฟังมาหลายคนร้อง..อันนี้ไม่อินที่สุด...

  • @chadpetpornpracha7677
    @chadpetpornpracha7677 6 หลายเดือนก่อน

    ชอบมากๆค่ะ

  • @supottaganchan3404
    @supottaganchan3404 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณแอดที่ลงที่มาของเพลงครับและอ.ทุกท่านครับ

  • @user-ri5xf9ou7d
    @user-ri5xf9ou7d ปีที่แล้ว

    ขับเองเป่าปิ่้อองขอมะ

  • @user-ri5xf9ou7d
    @user-ri5xf9ou7d ปีที่แล้ว

    ขอมะพ่าว๑ทนายเอาไปใก้กมด้ลย