พระซุ้มกอพิมพ์กลาง//มูลค่า 1.5 ล้านบาท

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 พ.ค. 2024
  • พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง//เนื้อดำหายากมาก
    "พระกำแพงซุ้มกอ"
    พระเครื่องที่คู่บ้านคู่เมืองแห่งจังหวัดกำแพงเพชรพระพิมพ์ซุ้มกอมีด้วยกันดังนี้1.พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนกและไม่มีกนก
    2.พระซุ้มกอพิมพ์กลาง
    3.พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก(พัดใบลาน)
    4.พระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี้ย
    ก่อน 700 ปีขึ้นไป ต่างก็เข้าใจกันว่า เมืองกำแพงเพชรนี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของ"ขอม"มาก่อนโดยมีชื่อในระยะนั้นว่า"ชากังราว"จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1890 พระยาเลอไทยกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงองค์ที่ 4 ได้โปรดให้ฟื้นฟูเมืองชากังราวขึ้นพร้อมกับพระราชทานนามใหม่ว่า"นครชุม"ทั้งยังยกเมืองนี้ให้เป็นเมืองลูกหลวงควบคู่ไปกับเมือง"ศรีสัชนาลัย"อีกด้วย กำแพงเพชรในสมัยสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1900 ปรากฏว่าเป็นเมืองลูกหลวงที่รุ่งโรจน์ที่สุดทั้งนี้ก็เพราะพระมหาธรรมราชาลิไทย(กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยองค์ที่ 5) ได้เสด็จไปสถาปนาพระบรมธาตุและปลูกพระศรีมหาโพธิ์ไว้ที่เมืองนี้ พร้อมทั้งยังได้บำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับการพระศาสนาไว้ที่นี่อีกเป็นอันมาก แต่ระหว่างสมัยอยุธยา นั้นกำแพงเพชรต้องเป็นเมืองหน้าด่านรับสึกกับพม่าอยู่ตลอดมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรี(ตั้งแต่พ.ศ. 1926 ถึง2317) ศาสนารุ่งโรจน์ขึ้นที่ใดศิลปก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั่นเมื่อ พ.ศ. 1900 พระมหาธรรมราชาลิไทยให้ความรุ่งโรจน์แก่เมืองกำแพงเพชรจนเป็น"นครธรรม"แห่งศิลปในระยะนั้นจึงตามออกมาอย่างตื่นตาทั้งพระพุทธรูปและพระเครื่องปฎิบัติการสร้างประฏิมากรรมของขลังโดยช่างเมืองกำแพงเพชร
    พระกำแพง"ซุ้มกอ"นับว่าเป็นเพชรน้ำเอกของทุ่งเศรษฐีเป็นยอดพระเครื่องให้โชคให้ลาภและเป็นยอดพระมหานิยมอันดับหนึ่งอยู่ในวงการพระปัจจุบันนี้ปฏิมากรรมของขลังของเมืองกำแพงเพชรที่มีชื่อยังมีอีกมาก เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงฝักดาบหน้าเงินและหน้าทอง พระกำแพงขาว พระกำแพงเปิดโลก พระกำแพงกลีบจำปา พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด พระกำแพงพูลจีบพระกำแพงเม็ดมะลื่อ พระกำแพงท่ามะปรางพระกำแพงกลีบบัว ฯลฯ และพิมพ์อื่นอีกกว่าร้อยพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์จะปรากฏทั้งชนิดเนื้อดินผสมผงเกสร เนื้อชิน เนื้อตะกั่ว เนื้อว่าน และแม้แต่ทั้งเนื้อชินเขียวก็มีสร้าง ส่วนศิลปของพระเครื่องนั้นที่ปรากฏมากที่สุดจากพระเครื่องเมืองนี้ก็คือแบบ"สุโขทัย"และ"อู่ทอง"ซึ่งได้ให้ความอลังการโดยสกุลช่าง กำแพงเพชร เป็นส่วนมากครับ"ทุ่งเศรษฐี"นามนี้ใครๆก็รู้จักเพราะเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาณาจักรพระเครื่องทั้งหมด เมื่อครั้งสมัยสุโขทัย"ทุ่งเศรษฐี"ตั้งอยู่ใจกลางเมืองนครชุม และเข้าใจว่าเป็นศูนย์กลางแหล่งชุมชนพระบวรพุทธศาสนาของเมืองนั้น แต่"ทุ่งเศรษฐี"ปัจจุบันนี้คงเหลือแต่ซากโบราณสถานเป็นบางแห่งและทองทุ่งอันเวิ้งว้าง ซึ่งตั้งอยู่ที่"ตำบล นครชุม "เท่านั้น ด้านพุทธคุณในใบลานเงินได้จารึกไว้ว่าหากใครมีกูแล้วไม่จน
    สุดท้ายนี้ ผมขอให้ทุกท่านจงมีแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรืองนะครับ

ความคิดเห็น •