ประวัติ พระสมเด็จ กรุวัดกลางคลองข่อย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 ก.ค. 2022
  • พระสมเด็จ วัดกลางคลองข่อย จังหวัดราชบุรี มีประวัติการสร้างชัดเจน ( )เป็นพระสมเด็จที่พุทธะจารย์โต พรหมรังสี ได้สร้างขึ้นในราวปี 2400 ( )
    ซึ่งในอดีต ราวปีพ.ศ.2370 ต้นรัชกาลที่3 นั้น ( )
    สมเด็จพุทธาจารย์โตได้เดินธุดงค์ มาปักกรดอยู่ใต้ต้นโพธิ์ของวัดกลาง ต.คลองข่อยแห่งนี้ ตามบันทึกประวัติของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ และได้เกิดนิมิตเห็นสิ่งเป็นอัศจรรย์ในวัดกลางนี้ สมเด็จพุทธาจารย์โต จึงได้กลับมาทำการสร้างพระพุทธรูป ปางยืนอุ้มบาตร มีความสูง 6 วา2 ศอกขึ้น ภายในทำด้วยเสาไม้ตะเคียน 5 ต้น ( )
    ตามที่มีการบันทึกเล่าว่า สมเด็จพุทธาจารย์โต ได้เอาเงินโปรยลงไปในป่า แล้วบอกให้ชาวบ้านมาถางป่าเพื่อเอาเงินเหล่านั้น จึงทำให้เกิดเป็นพื้นที่โล่ง สามารถสร้าง พระพุทธรูป ปางยืนอุ้มบาตรขนาดใหญ่นี้ได้ และยังมีบันทึกเรื่องราวต่อไปอีกว่า สมเด็จพุทธาจารย์โตต้องการไม้ไผ่เพื่อนำมาทำโครงสร้างพระประธาน ก็ได้มีพ่อค้าล่องไม้ผ่านมาหน้าวัดพอดี สมเด็จพุทธาจารย์โตท่านไม่มีเงิน ท่านก็ได้ไปที่ต้นโพธิ์ต้นนั้นแล้วก็ได้เงินมาซื้อไม้ไผ่ ซื้อไม้ตามประสงค์ ( )
    ปัจจุบันต้นโพธิ์ต้นนี้ก็ยังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอยู่คู่กับวัดกลางคลองข่อย หลังจากที่สมเด็จพุทธาจารย์โต ได้สร้างพระประทานปางยืนอุ้มบาตร ขนาดสูง6วา2ศอกนี้ แล้วเสร็จท่านจึงได้ทำการส่งพระภิกษุ จากวัดมหาธาตุพระนคร (กรุงเทพฯ) นามว่าพระอาจารย์นวม มาเป็นเจ้าอาวาส ดูแลวัดกลางแห่งนี้ ซึ่งจะถือว่าวัดกลางคลองข่อย เป็นวัดในอุปถัมภ์ของสมเด็จพุทธาจารย์โตก็ว่าได้ แม้หลังจากพระอาจารย์นวม มรณภาพลง พระภิกษุที่มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อ คือพระอาจารย์นวม ก็ยังคงเป็นพระภิกษุ จากวัดมหาธาตุกรุงเทพอีกเช่นกัน ซึ่งหากท่านใดอยากทราบประวัติการสร้าง พระพุทธะรูปของสมเด็จพุทธาจารย์โตพรหมรังสี สามารถเข้าไปดูได้ ในภาพวาดฝาผนังของอุโบสถวัดอินทะระวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    ( )
    วัดกลางคลองข่อยมีการแตกกรุด้วยกัน 3ครั้ง
    ( )
    ครั้งแรก ปี2490 ( ) เกิดจากการชำรุด ที่โพรงด้านหลังพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ที่สมเด็จพุฒาจารย์โตท่านได้สร้างไว้ จึงได้พบเจอพระสมเด็จชุดนี้ มีด้วยกัน2พิมพ์ คือพิมพ์ชาวบ้าน และพิมพ์ช่างหลวง( )พระสมเด็จพิมพ์ชาวบ้านนั้นด้านหลังจะเป็นรอยปาด เกือบทุกองค์ ()ส่วนพระเด็จพิมพ์ช่างหลวงนั้น ด้านหลังปรากฏรอยปริแยก ขอบข้างไม่เรียบเสมอกัน ( )
    ครั้งที่สอง ปี2500 ได้เกิดน้ำท่วมที่วัดทำให้ดินใต้โพธิ์ทรุดตัวลงมา เพราะช่วงนั้น ยังไม่มีการทำปูนกั้นล้อมบริเวณต้นโพธิ์ ทำให้พระที่ฝังอยู่ปรากฎออกมา ส่วนใหญ่จะมีคราบดินใต้ต้นโพธิ์ปกคลุมมากบ้างน้อยมาก ถือเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่ง ( )
    ครั้งที่สาม ปี2516 () ที่วัดได้รับผลกระทบ ของลมพายุ และฝนอย่างหนัก ทำให้พระอุโบสถหลังเก่าที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดการทรุดตัว บริเวณที่ตั้งฐานพระประธาน ทางวัดได้ซ่อมแซมจึงได้เจอพระสมเด็จชุดนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระที่มีการลงรักดำประปราย ไม่ทั่วทั้งองค์ บางองค์สีดำ บางองค์สีแดง พระที่พบเจอ เป็นพระพิมพ์สมเด็จหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์พระประธาน พิมพ์เจดีย์ พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์หกชั้น พิมพ์เจ็ดชั้น พิมพ์พระยืนปางอุ้มบาตร และพิมพ์อื่นๆ
  • ภาพยนตร์และแอนิเมชัน

ความคิดเห็น • 1

  • @user-rb9hc2ty1x
    @user-rb9hc2ty1x ปีที่แล้ว

    อย่างงี้..อย่าเอามาลบลู่..ชักจูงชวนเชื้อ..ขาดๆเกินๆ..นี้มัน2020แลทว