ขนาดวิดีโอ: 1280 X 720853 X 480640 X 360
แสดงแผงควบคุมโปรแกรมเล่น
เล่นอัตโนมัติ
เล่นใหม่
long live Siamese wild tiger corps!
จาก "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" ในรัชกาลที่ ๒ สู่ "เพลงสรรเสริญเสือป่า" ในรัชกาลที่ ๖พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ และพระราชอัจฉริยภาพในศิลปกรรมหลายสาขา อาทิ ดนตรี นาฏศิลป์ วรรณกรรม และประติมากรรม ด้วยเหตุนี้ ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ" เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นยอดศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระโลหิตแห่งความเป็นศิลปิน ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระบรมปัยกาธิราช ทั้งในด้านการดนตรี นาฏศิลป์ และวรรณกรรม จนทรงได้รับถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ ด้วยพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" .นอกจากนี้ ยังทรงนำ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาใช้เป็นเพลงสำหรับกองเสือป่า โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำทำนองเพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งมีที่มาจากพระสุบินนิมิตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ และบันทึกโน้ตเพลงแบบสากล ในชื่อ "เพลงสรรเสริญเสือป่า".เพลงนี้ใช้บรรเลงครั้งแรกในการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และพระราชทานธงไชยเฉลิมพลกองเสือป่ามณฑลนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๔ จากนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้บรรเลงเป็นเพลงเคารพมหาศารทูลธวัชประจำคณะเสือป่า และศารทูลธวัชประจำกรมเสือป่า ตลอดจนบรรเลงในเวลาเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลเสือป่าและลูกเสือ ซึ่งในเวลาต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงพระนิพนธ์คำร้องถวาย ทำให้เพลงสรรเสริญเสือป่ามีทั้งทำนอง และคำร้อง ครบถ้วนสมบูรณ์.เพลงสรรเสริญเสือป่าได้ใช้บรรเลงในงานสำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับกองเสือป่าเรื่อยมา จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในพุทธศักราช ๒๔๖๘ กิจการเสือป่าก็ได้ยุติลง ทำให้เว้นว่างการเพลงสรรเสริญเสือป่าในพิธีการต่างๆ ไป.หลังจากเวลาผ่านไปเกือบสามทศวรรษ เพลงสรรเสริญเสือป่าได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง เริ่มจากวชิราวุธวิทยาลัย ได้นำเพลงสรรเสริญเสือป่ามาใช้บรรเลงในเวลาปิดพระวิสูตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐานภายในหอสวดหรือหอประชุมโรงเรียน จากนั้น มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้นำเพลงสรรเสริญเสือป่า มาเป็นธรรมเนียมในการบรรเลงก่อนเริ่มแสดงละครจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ หรือก่อนเริ่มกิจกรรมสำคัญต่างๆ ณ โรงละครศรีอยุธยา ภายในหอวชิราวุธานุสรณ์ .ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เพลงสรรเสริญเสือป่า บรรเลงประกอบริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๐ และการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๒ ทำให้เพลงสรรเสริญเสือป่า ได้กลับมาเป็นที่รู้จักของสาธารณชนอีกครั้งหนึ่ง
long live Siamese wild tiger corps!
จาก "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" ในรัชกาลที่ ๒
สู่ "เพลงสรรเสริญเสือป่า" ในรัชกาลที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ และพระราชอัจฉริยภาพในศิลปกรรมหลายสาขา อาทิ ดนตรี นาฏศิลป์ วรรณกรรม และประติมากรรม ด้วยเหตุนี้ ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ" เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นยอดศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระโลหิตแห่งความเป็นศิลปิน ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระบรมปัยกาธิราช ทั้งในด้านการดนตรี นาฏศิลป์ และวรรณกรรม จนทรงได้รับถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ ด้วยพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"
.
นอกจากนี้ ยังทรงนำ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาใช้เป็นเพลงสำหรับกองเสือป่า โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำทำนองเพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งมีที่มาจากพระสุบินนิมิตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ และบันทึกโน้ตเพลงแบบสากล ในชื่อ "เพลงสรรเสริญเสือป่า"
.
เพลงนี้ใช้บรรเลงครั้งแรกในการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และพระราชทานธงไชยเฉลิมพลกองเสือป่ามณฑลนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๔ จากนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้บรรเลงเป็นเพลงเคารพมหาศารทูลธวัชประจำคณะเสือป่า และศารทูลธวัชประจำกรมเสือป่า ตลอดจนบรรเลงในเวลาเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลเสือป่าและลูกเสือ ซึ่งในเวลาต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงพระนิพนธ์คำร้องถวาย ทำให้เพลงสรรเสริญเสือป่ามีทั้งทำนอง และคำร้อง ครบถ้วนสมบูรณ์
.
เพลงสรรเสริญเสือป่าได้ใช้บรรเลงในงานสำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับกองเสือป่าเรื่อยมา จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในพุทธศักราช ๒๔๖๘ กิจการเสือป่าก็ได้ยุติลง ทำให้เว้นว่างการเพลงสรรเสริญเสือป่าในพิธีการต่างๆ ไป
.
หลังจากเวลาผ่านไปเกือบสามทศวรรษ เพลงสรรเสริญเสือป่าได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง เริ่มจากวชิราวุธวิทยาลัย ได้นำเพลงสรรเสริญเสือป่ามาใช้บรรเลงในเวลาปิดพระวิสูตร พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐานภายในหอสวดหรือหอประชุมโรงเรียน จากนั้น มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้นำเพลงสรรเสริญเสือป่า มาเป็นธรรมเนียมในการบรรเลงก่อนเริ่มแสดงละครจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ หรือก่อนเริ่มกิจกรรมสำคัญต่างๆ ณ โรงละครศรีอยุธยา ภายในหอวชิราวุธานุสรณ์
.
ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เพลงสรรเสริญเสือป่า บรรเลงประกอบริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๐ และการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๒ ทำให้เพลงสรรเสริญเสือป่า ได้กลับมาเป็นที่รู้จักของสาธารณชนอีกครั้งหนึ่ง