กระโดกบก กระโดนโคก ขายเมล็ดพันธุ์/ต้นกล้า/ผล/ดอก/ใบ/จัดหาตามสั่ง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 ก.ย. 2024
  • #กระโดนโคก ขายเมล็ด​กระโดนบก​ กระโกระโดน ใบสดใบตากแห้งเปลือกต้นผลรับจัดหาทุกส่วนตามสั่ง สนใจ​โทร​0876069955​ไอดี​ไลน์​aungsara09​จัดส่ง​ทั่วประเทศ​เก็บ​เงิน​ปลายทาง​ #สรรพคุณของกระโดน
    ดอกมีรสสุขุม ช่วยบำรุงร่างกาย (ดอก)
    ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี (ดอก)
    ผลมีรสจืดเย็น ช่วยบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี ส่วนดอกและน้ำจากเปลือกสด หากนำมาผสมกับน้ำผึ้งก็เป็นยาบำรุงหลังคลอดได้เช่นกัน (ผล, ดอก, น้ำจากเปลือกสด)
    ดอกช่วยแก้อาการหวัด หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้หวัดก็ได้ (ดอก)
    ดอกช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้ไอก็ได้ (ดอก)
    ผลมีรสจืดเย็น ช่วยในการย่อยอาหาร (ผล)
    เปลือกต้นนำมาแช่กับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย (เปลือกต้น)
    ช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร (เปลือกต้น)
    เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผลภายใน (เปลือกต้น)
    กระโดนจัดอยู่ในตำรับยาแก้โรคริดสีดวงทวาร ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วยกระโดนโคก 1 ส่วน, ต้นกล้วยน้อย 1 ส่วน, ขันทองพยาบาท (ดูกใส) 1 ส่วน, ต้นซองแมว 1 ส่วน, ต้นค้อแลน 1 ส่วน, เงี่ยงดุกน้อย 1 ส่วน, กำแพงเจ็ดชั้น 1 ส่วน, ต้นมอนแก้ว 1 ส่วน, มอยแม่หม้าย 1 ส่วน, เล็บแมวแดง 1 ส่วน, ตากวาง 1 ส่วน โดยนำทั้งหมดมาต้มเป็นยากิน (ตำหรับยานี้พบในบ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม)
    แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสำหรับสตรีที่อยู่ไฟ (แก่น)
    ต้นใช้ผสมกับเถายาน่องและดินประสิว นำมาเคี่ยวให้งวดและตากให้แห้ง ใช้สำหรับปิดแผลมีพิษและปิดหัวฝี (ต้น)
    ใบใช้รักษาแผลสด ด้วยการนำมานึ่งให้สุกแล้วใช้ปิดแผล (ใบ)
    ใบมีรสฝาด ใช้ใส่แผล หรือจะใช้ปรุงกับน้ำมันเป็นยาสมานแผล ส่วนเปลือกต้นก็ใช้เป็นสมานแผลได้เช่นกัน (ใบ, เปลือกต้น)
    เปลือกต้นช่วยแก้อาการอักเสบจากการถูกงูไม่มีพิษกัด แต่ในกรณีที่เป็นงูมีพิษกัดยังไม่ควรนำมาใช้ และบ้างก็ว่าใช้แก้พิษงูได้ (เปลือกต้น)
    เมล็ดมีรสฝาดเมาและมีความเป็นพิษ] และมีข้อมูลระบุว่าใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ ได้ด้วย (เมล็ด)
    เปลือกต้นช่วยแก้น้ำกัดเท้า (เปลือกต้น)
    ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย เคล็ดเมื่อย เคล็ดขัดยอก (เปลือกต้น)
    ประโยชน์ของกระโดน
    ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อนมีรสฝาดอมมัน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก แจ่ว ลาบ ก้อย ส้มตำ ตำมะม่วง ผักประกอบเมี่ยงมดแดง (ชาวอีสานนิยมใช้กระโดนน้ำมากกว่ากระโดนบก เนื่องจากมีรสฝาดน้อยกว่าและมีรสชาติที่อร่อยกว่า) แต่ใบและยอดอ่อนจะมีกรดออกซาลิก (Oxalic acid) ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง การรับประทานมาก ๆ อาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ (ใบกระโดนสด 100 กรัม จะมีปริมาณของออกซาเลต 59 มิลลิกรัม ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าผักชะพลู 12 เท่า และน้อยกว่าผักโขม 16 เท่า)
    ใบอ่อนเมื่อนำไปต้มแล้วนำไปใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยงได้ (ขมุ)
    เปลือกต้นใช้ต้มทำสีย้อมผ้า โดยจะให้สีน้ำตาลแดง[3] หรือจะต้มรวมกับฝ้ายใช้ย้อมผ้า จะให้สีเหลืองอ่อน
    เส้นใยที่ได้จากเปลือกต้นสามารถนำมาใช้ทำเชือก ทำกระดาษสีน้ำตาล เนื่องจากเปลือกลอกได้ง่าย
    เปลือกต้นนำมาทุบใช้ทำเป็นเบาะปูรองนั่งหลังช้าง หรือใช้รองของไว้บนหลังช้าง ส่วนคนอีสานนิยมลอกออกมาทุบให้นิ่มใช้ทำเป็นที่นอน และยังสามารถนำมาใช้ทำคบไฟ หรือนำมาจุดไฟใช้ควันไล่แมลง ไร ริ้น หรือยุงก็ได้
    เนื้อไม้กระโดนใช้สำหรับงานก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี เพราะมอดไม่กิน เนื่องจากเนื้อไม้มีรสฝาด และยังใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ทำครกสาก ทำเรือและพาย เกวียนและเพลา หรือใช้ทำเป็นหมอนรองรางรถไฟ ฯลฯ
    เมล็ด ราก และใบมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อปลา
    ต้นกระโดนสามารถนำมาใช้ปลูกตามสวนสาธารณะ​รณะได้ โดยลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมทึบ มีใบใหญ่ มองเห็นทรงพุ่มได้เด่นชัด แต่ไม่ควรนำมาปลูกใกล้ลานจอดรถ เนื่องจากต้นกระโดนเป็นไม้ผลัดใบและมีผลขนาดใหญ่[4]
    คุณค่าทางโภชนาการของดอกอ่อนและยอดอ่อนกระโดน ต่อ 100 กรัม
    พลังงาน 83 กิโลแคลอรี
    เส้นใยอาหาร 1.9 กรัม
    วิตามินเอ 3,958 หน่วยสากล
    วิตามินบี 1 0.10 มิลลิกรัม
    วิตามินบี 2 0.88 มิลลิกรัม
    วิตามินบี 3 1.8 มิลลิกรัม
    วิตามินซี 126 มิลลิกรัม
    ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม
    ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม
    ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม
    แหล่งที่มา : ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม. (กองโภชนาการ กรมอนามัย)[6],[8]

ความคิดเห็น •