TSAM · The Dance of Gods

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ม.ค. 2025
  • THE KHUREE TSAM
    ท่ามกลางอากาศเย็นสบายของฤดูร้อนในมองโกเลีย ผมนั่งรถแวนคันเก่าลัดเลาะผ่านทุ่งหญ้าและหุบเขาสีเขียวขจี มุ่งหน้าสู่วัดพุทธวัชยานโบราณอายุกว่า 300 ปี ที่ซึ่งมีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ซ่อนตัวอยู่จากโลกภายนอกที่เรียกว่า ระบำวัชระ หรือ ระบำหน้ากาก (Tsam Mask Dance)
    ในมองโกเลียเรียกพิธีกรรมระบำหน้ากากนี้ว่า “Tsam” (จาม) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 8 เป็นพิธีกรรมโบราณอย่างหนึ่งของศาสนาพุทธที่ได้รับสืบทอดมาจากจีนทิเบต การระบำหน้ากากนับเป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งประกอบไปด้วยการเต้นรำ ดนตรี และเครื่องแต่งกายอันประณีต อีกทั้งยังแฝงไปด้วยพุทธปรัชญา
    หลังจากการบุกของลัทธิคอมมิวนิสต์โซเวียต พุทธศาสนาในมองโกเลียถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม หลายวัดในมองโกเลียถูกเผาทำลายลง พระสงฆ์จำนวนมากถูกสังหาร พุทธศิลป์จำนวนมากถูกทำลาย รวมถึงพิธีกรรมระบำหน้ากากด้วย ปัจจุบันจึงเหลือวัดเพียงไม่กี่แห่งที่ยังสามารถรักษาประเพณีนี้ไว้ได้อยู่
    ผมได้เดินทางมาถ่ายภาพระบำหน้ากากในอารามแห่งนี้ โดยได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากปกติทางวัดไม่อนุญาตให้มีการถ่ายภาพหรือถ่ายทำสารคดีมาก่อน เพราะหน้ากากแต่ละหัวและชุดที่ใส่ล้วนเป็นของโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีรูประบำหน้ากากของที่นี่ออกมาสู่โลกภายนอกน้อยมาก ปัจจุบันเครื่องแต่งกายและหน้ากากที่ใช้สำหรับการระบำหน้ากากจึงนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ได้รับการเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งรอบโลก
    หน้ากากทุกหัวถือเป็นภาชนะของเทพอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อไม่ได้มีการใช้งานจะถูกเก็บรักษาในห้องพิธีและทำพิธีสวดมนตร์บูชาทุกวัน โดยแต่ละหัวจะเป็นตัวแทนของเทพเจ้า ปีศาจ สัตว์มายาในพุทธศาสนา ทุกหัวจะไม่มีการเจาะรูที่ตา เนื่องจากเชื่อว่าเป็นที่สถิตของเทพ ทำให้ผู้สวมต้องมองจากทางช่องปาก ร่ายรำไปพร้อมกับจังหวะจากเครื่องดนตรีและบทสวด ชุดและหน้ากากที่ใช้ในพิธีจะถูกสวมใส่โดยพระลามะหนุ่มเท่านั้น เพื่อให้สามารถเต้นรำไปพร้อมกับการแบกรับน้ำหนักของเครื่องเงินและทองเหลืองที่ประดับบนชุด ซึ่งมีน้ำหนักมากและใช้เวลาในการร่ายรำที่ยาวนาน
    พระสูตรและพระตันตระมากมาย ได้กล่าวถึงอานิสงส์ของการประกอบพิธีเอาไว้อย่างชัดเจน เพียงมีโอกาสร่วมชมพิธี ก็มีอานิสงค์มากมายประมาณไม่ได้ จะเห็นได้ว่าระบำหน้ากากนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่มหรสพ หากแต่คือ "พิธีกรรม" อันศักดิ์สิทธิ์
    .
    During the cool summer air in Mongolia, I traveled in an old Russian van through green fields and valleys. Head to the 300-year-old Buddhist Vajrayana temple where sacred rituals are hidden from the outside world called the “vajra” or “mask dance”.
    Speaking of the mask dance, in Mongolia, this ritual is known as "Tsam" and dates back to the 8th century. It holds great significance in Tibetan Buddhism and is considered one of the most important rituals. The Tsam dance is an art form that combines dance, music, and elaborate costumes, while also being deeply rooted in Buddhist philosophy.
    Following the invasion of Soviet communism, Buddhism in Mongolia was perceived as a threat, leading to the destruction of many temples, including those that hosted the Tsam ritual. Today, only a few temples remain where this tradition is still upheld.
    I had the opportunity to visit the temple. I was fortunate enough to be granted special permission to take photographs within the temple premises, as photography and documentary filming are typically not allowed. This is due to the precious and sacred nature of each mask and garment worn during the dance. As a result, very few photographs of the mask dance from this temple have made their way to the outside world. The costumes and masks used in the Tsam dance are now preserved in various museums, with the Choijin Lama Museum in Ulaanbaatar being the most famous. The ceremonial clothes and masks are exclusively worn by young lamas. The weight of the silver and brass ornaments on their attire is considerable, and it takes a long time to dress in them.
    Each mask is considered a vessel for a divine deity. When not in use, they are kept in the ceremonial room and receive daily prayers. Each mask represents a deity, demon, or mythological animal in Buddhism. They do not have eye holes, as it is believed that they serve as the dwelling place of the gods. This requires the wearer to look out from the mouth and dance to the rhythms of the musical instruments and chants, embodying the role of gods and demons while reenacting a battle between the two factions.
    Numerous sutras and tantras extol the virtues of attending this ceremony, considering it an invaluable merit. It is evident that the mask dance is not merely a theatrical performance but a sacred "ritual".
    When the temple holds ceremonies on special occasions, visitors need to approach it not merely for entertainment, but with faith, devotion, and a pure mindset. The dancer represents a deity who appears before us, and if we view it with this mindset, it is believed to ward off diseases, negative influences, and obstacles.
    Amarbayasgalant Monastery, Mongolia
    JKBoy Jatenipat Ketpradit
    #jkboy #jkboyphoto #jkboyjatenipat #peopleandtheirworld #tsam #mongolia #KureeTsam #KureeTsamMongoliaMask #culturalheritage #welcometomongolia #nikon #nikoncreators #NikonThailand #nikonasia #photography #photographyexhibition #MaskMuseumofMongolia #TsamMaskDance #TsamFestivalMongolia

ความคิดเห็น •