สร้างบุญน้อย ดีกว่าไม่มีบุญ *ทรมานกิเลส* จิตภาวนา เสียงธรรม หลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ก.ย. 2024
  • กิเลส หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง จิตเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก กิเลสมี 3 ระดับ คือได้แก่
    อนุสัยกิเลส (Latent Defilements) กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
    ปริยุฏฐานกิเลส (Internally Active Defilements) กิเลสอย่างกลางคือกิเลสที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งทางความคิด ได้แก่ กิเลสประเภทนิวรณ์ 5
    วีติกกมกิเลส (Externally Active Defilements) กิเลสอย่างหยาบคือกิเลสที่ทะลักออกมาทำให้สัตว์สร้างกรรมขึ้นมาทางกายและวาจา
    กิเลสอย่างละเอียด สงบได้ด้วยปัญญา, กิเลสอย่างกลาง สงบได้ด้วยสมาธิ และ กิเลสอย่างหยาบ สงบได้ด้วยศีล
    กิเลสวัตถุ ในวิภังคปกรณ์ระบุว่า กิเลสวัตถุ 10 ได้แก่
    1.โลภะ ความอยากได้ในสิ่งของ เงินทอง ทรัพย์สิน ที่ดินหรือลาภอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของของตน
    2.โทสะ ความคิดประทุษร้าย ทำลาย
    3.โมหะ ความหลง มัวเมา
    4.มานะ ความถือตัว
    5.ทิฏฐิ ความเห็นผิด
    6.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    7.ถีนะ ความหดหู่
    8.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    9.อหิริกะ ความไม่ละอายบาป
    10.อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป
    นิวรณ์ 5
    ธรรมที่ขวางกันการเจริญจิตเจริญปัญญา, สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม
    1.กามฉันทะ (ความพอใจติดใคร่กาม / เปรียบเหมือนคนเป็นหนี้)
    2.พยาบาท (ความผูกใจโกรธ หงุดหงิด ขัดใจ / เปรียบเหมือนคนไข้หนัก)
    3.ถีนมิทธะ (ถีน : ความหดหู่ , มิทธะ : ความง่วงซึม / เปรียบเหมือนคนติดในเรือนจำ)
    4.อุทธัจจะกุกกุจจะ (อุธัจจะ : ความฟุ้งซ่าน, กุกกุจจะ : กระวนกระวายใจ / เปรียบเหมือนคนเป็นทาส)
    5.วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย คลางแคลงใจในกุศลธรรมทั้งหลาย / เปรียบเหมือนคนเดินทางกันดารมีภัยน่าหวาดเสียว)
    อนุสัย 7 กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน อนุสัย 7 นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7
    กามราคะ : ความกำหนัดในกาม
    ปฏิฆะ : ความขัดใจ หงุดหงิดขัดเคือง คือ โทสะ
    ทิฏฐิ : ความเห็นผิด
    วิจิกิจฉา : ความลังเล สงสัย
    มานะ : ความถือตัว
    ภวราคะ : ความกำหนัดในภพ ความอยากเป็น อยากยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน
    อวิชชา : ความไม่รู้จริง คือ โมหะ
    แหล่งที่มา อ้างอิง วิกีพีเดีย
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด
    แนบ มหานีรานนท์ "อภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค"
    บันทึกการศึกษาพุทธธรรม โดย buddhadhamma

ความคิดเห็น • 2