3 ข้อเทคนิค สรุปวิธีฝึกสติ ฐาน *ผู้รู้* ผู้เริ่มต้นพื้นฐาน ฝึกอานาปานสติ ต้องรู้จักที่ตั้งของฐาน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 23 เม.ย. 2024
  • คลิปนี้ เป็นการแชร์ประสบการณ์ การฝึกสติ สมาธิ ต้องเรื่องจาก 3 ข้อ
    1.กำหนดสติ ระลึกรู้
    2.ฐานที่ตั้งให้กับจิต คือ กาย
    3.ตาในหรือใจ ตัวสังเกต (สังเกต ดูไปที่กาย,จิตใจ) ดูไปที่สภาว 3 อย่าง คือ ฐานกาย กรรมฐาน , รูป ,จิตใจ
    ครั้งต่อไปจะจัดทำคลิปวีดีสอนเรื่องการฝึกอานาปานสติ 16 จากครูบาอาจารย์และประสบการณ์ในการฝึก 6 เดือนมาแบ่งปัน
    อานาปานสติ 16 ขั้น
    แบ่งปันเสียงธรรม หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ เทศสอนหลักการปฏิบัติ จริญอานาปานสติ 16 ขั้นตอน วีดีนี้ ขั้นตอนที่ 1-3 มีวีดีทั้งหมด 18 คลิป ฝึกตั้งแต่เริ่มต้น อนิสงส์ชาตินี้
    สรุป 16 ฐาน หรือ 16 หลัก หรือ 16 หัวข้อ ท่านจัดเป็น 4 จตุกกะ คือ เป็นหมวดสี่ 4 หมวด ดังนี้
    1. กายานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งกายานุปัสสนา)
    2. เวทนานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งเวทนานุปัสสนา)
    3. จิตตานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งจิตตานุปัสสนา)
    4. ธัมมานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งธัมมานุปัสสนา)
    เป็นการระบุชัดว่า ส่วนไหนเป็นสติปัฏฐานข้อใด
    อานาปานสติ 16 ขั้น ของท่านพุทธทาส
    หมวดที่ 1 ขั้นที่ 1-4 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    1.วิ่งตาม : ตามดูลมหายใจที่จุดเริ่มต้น คือ ปลายจมูกด้านใน และที่สุดของลม คือ ที่สะดือ
    2. เฝ้าดู : ลมหายใจเริ่มละเอียด เราเป็นเพียงผู้เฝ้าดูลมหายใจเข้าออกจากจุดเริ่มต้นจนถึงปลายไม่ต้องบังคับใดๆ
    3.สร้างอุคคหนิมิต : เป็นดวงสีขาว แดง เขียว ดวงแก้ว ขึ้นมาตามถนัด ที่ตรงเฝ้าดูแล้วเพ่งจนติดตา แน่นิ่งอยู่ที่จุดเดียวที่เฝ้าดูลมหายใจ
    4.ทำปฏิภาคนิมิต : บังคับให้นิมิตเปลี่ยนแปลงได้ เป็นสีขาว สีเขียว สีแดง ให้ลอยไปไหนก็ได้ ให้เล็ก ให้ใหญ่ได้ ทำจนเป็น วสี
    5.กำหนดองค์ฌาน ประกอบด้วย
    วิตก : กำหนดอารมณ์
    วิจารณ์ : รู้สึกอารมณ์
    ปิติ : พอใจ ปราโมทย์ที่บังคับ (ลม) ได้
    สุข : เป็นสุข เพราะบังคับ (ลม) ได้ก็เพราะมีปิติ
    เอกัคตา : รวมยอดอยู่ที่นั่น ไม่ฟุ้งซ่านไปไหน แต่รวมยอดเป็นศูนย์เดียวอยู่ที่นั่น (จุดเฝ้าดูลม)
    จบ ขั้นที่ 1-4....
    หมวด 1 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    การกำหนดรู้ในอานาปานสติ ตั้งแต่ข้อ 1-4 เป็นการกำหนดรู้ภายในกาย จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    1.หายใจออก-เข้ายาวรู้
    2.หายใจออก-เข้าสั้นรู้
    3.หายใจออก-เข้า กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง
    4.หายใจออก-เข้า เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป)
    เมื่อเจริญอานาปานสติ จนสัมปชัญญะทั้งสี่บริบูรณ์ก็จะเกิดสติสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อศีลวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกันก็จะเกิดธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อจิตตวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะวิริยะพละสมดุลกับสมาธิพละก็จะเกิดวิริยะสัมโพชฌงค์ขึ้น...
    อานาปานสติ 16 ฐาน (สติกำหนดลมหายใจ, การเจริญอานาปานสติ คือใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก แบบที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานไปด้วยครบทั้ง 4
    จตุกกะที่ 1 : กายานุปัสสนา
    1.เมื่อหายใจเข้ายาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    หรือเมื่อหายใจออกยาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    2.เมื่อหายใจเข้าสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    หรือเมื่อหายใจออกสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    3.เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจออก
    4.เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจออก
    จตุกกะที่ 2 : เวทนานุปัสสนา
    5.เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจออก
    6.เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจออก
    7.เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจออก
    8.เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจออก
    จตุกกะที่ 3 : จิตตานุปัสสนา
    9.เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจออก
    10. เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
    11. เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก
    12.เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจออก
    จตุกกะที่ 4 : ธัมมานุปัสสนา
    13.เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก
    14.เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก
    15.เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจออก
    16. เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจเข้า
    เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจออก
    คำว่า หายใจเข้า และหายใจออก นั้นพึงทราบว่า เป็นคำที่มีการแปลต่างกัน คือ อรรถกถาแห่งพระวินัยแปล อสฺสาส ว่า “หายใจออก” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” ส่วนอรรถกถาแห่งพระสูตรแปลกลับตรงข้าม คือแปล อสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจออก” ในที่นี้ถือตามคำแปลของอรรถกถาแห่งพระสูตร ผู้ศึกษาทราบอย่างนี้แล้ว จะใช้แบบใดก็ได้ พึงเลือกตามปรารถนา
    ที่มาคำแปลข้อความ เว็ปไซตื 84000 พระธรรมขันธ์

ความคิดเห็น • 4

  • @leksamkhoklek9299
    @leksamkhoklek9299 หลายเดือนก่อน +1

    สาธุ สาธุ สาธุในธรรมครับ 🙏🌹🙏🌹🙏🌹

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ

  • @pimsorntuamsri9691
    @pimsorntuamsri9691 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณๆๆค่ะ❤❤❤❤❤❤

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดคะ