เวลากลางคืนได้ยินเสียงอะไรอย่าทัก หรือขานรับ ของ จะเข้าตัว|โบราณอุบาย EP.1

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 เม.ย. 2024
  • การศึกษาโบราณอุบายจากคอลัมน์ภูมิปัญญาชาวบ้าน
    ตอน “เวลากลางคืนได้ยินเสียงอะไรอย่าทัก หรือขานรับ ของ จะเข้าตัว”
    คนในสมัยก่อนมีความเชื่อในเรื่องการศึกษาเล่าเรียนวิชา ไสยศาสตร์ คาถาอาคม โดยเมื่อถึงวัน
    สำคัญตามความเชื่อของผู้ที่เรียน ก็จะมีการปล่อย “ของ” ซึ่งในที่นี้หมายถึง คาถาอาคม ผี หรือเวทมนตร์ต่าง ๆ ออกไปเพื่อทดลองวิชา และเมื่อ ของ ผี หรือเวทมนตร์ดังกล่าวไปถูกหรือกระทบกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะเกิดเสียงดังเปรี้ยงปร้าง หากใครทัก ของนั้นจะเข้าตัวคนที่ร้องทัก ซึ่งอาจเป็นตะปู หรือ หนังควายเข้าท้อง
    ทำให้เจ็บป่วยหรือตายได้
    นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เล่ากันต่อมาว่า เวลาที่จะสร้างเมืองจะต้องมีเสาหลักเมืองอยู่สี่มุมเมือง ขุดหลุมขนาดคนลงไปได้ และมีไม้ซุงขนาดใหญ่ที่ใช้ทำเสาหลักเมืองวางอยู่ปากหลุม ทางราชการจะให้ทหารออกไปตามหมู่บ้านในคืนเดือนมืด แล้วตะโกนดังๆ เป็นระยะๆว่า
    อิน จัน มั่น คง
    ถ้าบังเอิญไปตรงกับชื่อใครและไม่ทันฟังให้ถนัดขานรับออกไป ทหารหลวงก็จะจับตัวผู้นั้นไป
    เมื่อครบทั้ง ๔ คนแล้วก็จะพาไปประจำหลุมทั้งสี่มุมเมืองและทำพิธีโดยปิดตาทั้งสองข้างบวงสรวงตามพิธีกรรม
    จากนั้นก็จะผลักคนโชคร้ายทั้ง ๔ ลงไปในหลุม ใช้ไม้ซุงกระแทกลงไปให้คนทั้ง ๔ คนนั้นตาย
    แล้วก็เอาดินกลบ
    จากนั้นทำพิธีบวงสรวงปลูกศาลคร่อมเสาหลักเมืองไว้ กลายเป็นผีเฝ้ามุมเมือง
    ฟังแล้วน่ากลัวมาก ดังนั้นในตอนกลางคืน หากมีใครมาเรียกหรือมีเสียงอะไรที่แปลกๆ คนสมัยก่อนจะเงียบไม่ขานรับ นอกจากจะแน่ใจว่าเป็นเสียงคนที่คุ้นเคยจึงจะขานรับ
    คนโบราณได้วางอุบายเล่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้ไว้ให้กลัวเกรงและเพื่อสั่งสอนหรือเตือนบุตรหลานของตนให้รู้จักระมัดระวังภัยอันตรายในยามค่ำคืน เพราะอาจมีคนมาลอบทำร้าย และขานเรียกเพื่อให้ถูกตัวนั่นเอง
    โดยในเรื่องเล่า อิน จัน มั่น คง นั้น ธงทอง จันทรางศุ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นเพียงความเชื่อของชาวบ้านที่ไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่นอน ตามตำราพระราชพิธีฝังหลุมพระนครก็ไม่มีตอนใดกล่าวถึงคนชื่อ อิน จัน มั่น คง อยู่ดี มีเพียง
    การปั้นดินแล้วสมมุติให้เป็นธาตุทั้ง ๔ ซึ่งมีคุณสมบัติต่าง ๆ แล้วโยนลงหลุมพร้อมเชิญแผ่นศิลายันต์ลงหลุม ขั้นตอนสุดท้ายคือการอัญเชิญเทวดาเข้าประจำหลักพระนคร
    งานวิจัยทุนอุดหนุนจากสวช. โดย : นางพรนิภา บัวพิมพ์
    เรียบเรียงโดย : เยาวนิศ เต็งไตรรัตน์
  • บันเทิง

ความคิดเห็น •