กรรมดี กรรมชั่ว ฝั่งอยู่ในจิต เสียงธรรม โดยหลวงตามหาบัว

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 พ.ค. 2024
  • เสียงธรรม โดยหลวงตามหาบัว เรื่อง กรรมที่ฝั่งในจิต กรรม หมายถึง การกระทำ คำนี้ สามารถกล่าวถึง หลักการทางจิตวิญญาณของเหตุภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า กฎแห่งกรรม เมื่อเจตนาและการกระทำของบุคคลหนึ่ง (เหตุ) ส่งผลต่ออนาคตของบุคคลนั้น (ผล) #ฝึกสติ #กรรม
    เจตนาและการกระทำที่ดีจะเป็นกรรมดีและไปเกิดใหม่, บังเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีกว่าหมายรวมถึงสวรรค์และอาณาจักรแห่งความบริบูรณ์ในคริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลาม ในขณะที่เจตนาและการกระทำที่ไม่ดีก่อให้เกิดกรรมชั่วและไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่เลวร้ายและทุกข์ทรมานสาหัสยิ่งกว่า
    กรรม คือเจตนา บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
    เหตุเกิดแห่งกรรม คือ ผัสสะ
    ความต่างแห่งกรรม คือ
    กรรมที่ให้วิบากในนรก
    ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
    ที่ให้วิบากในเปรตวิสัย
    ที่ให้วิบากในมนุษยโลก
    ที่ให้วิบากในเทวโลก
    บัณฑิตทั้งหลายมีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมเห็นกรรมนั้นแจ้งชัดตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม
    หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม
    สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม
    เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น
    วิบากแห่งกรรม มี ๓ ประการ คือ
    กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
    กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑
    กรรมที่ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป ๑
    ความดับแห่งกรรม ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
    วิบากแห่งกรรมเป็นอจินไตย อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน
    ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม
    ก็กรรมเก่าเป็นไฉน
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า
    ก็กรรมใหม่เป็นไฉน
    กรรมที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่
    ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
    นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม
    ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
    อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม
    เพราะกรรมให้ผล ภพจึงมี
    ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุไม่มีแล้ว กามภพไม่พึงปรากฏ
    การชำระกรรม ๓
    1.พิจารณาก่อนทำ
    2.พิจารณาขณะทำ
    3.พิจารณาหลังทำ
    ผู้ปิดทางอบาย
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์ทั้ง ๓ เป็นโสดาบัน มีอันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลนั้นจะแล่นไปท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ไม่เกิน ๗ ชาติ แล้วทำที่สุดทุกข์ได้
    ที่มาข้อความและคำแปล วิกิพีเดีย /มูลนิธิอุทยานธรรม

ความคิดเห็น •