บวชภิกษุณี มีข้อควรรู้ประกอบไว้ @ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.ย. 2024
  • สาธุ อนุโมทนากับท่านผู้มีใจเป็นธรรมะ ขอเชิญท่านรับฟังธรรมะที่สนใจ / kancha085
    พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ • “ทำบุญอุทิศให้ผู้ตายจะ...
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี • กรรม @ หลวงปู่เทสก์ เท...
    หลวงปู่ชา สุภัทโท • {{" ฝึกดูจิต "}} #หลวง...
    ท่านพุทธทาสภิกขุ • {{ " สิ่งที่ดีที่สุดสำ...
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย • ลักษณะจิตที่เป็นสมาธิ ...
    หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ • Video
    พระอาจารย์มหาสม สิริปัญโญ • {{" ความเห็นผิดถูก "}...
    ท่าน ว.วชิรเมธี • ปาฏิหาริย์สมเด็จพระพุฒ...
    เกร็ดธรรมะ • [[" ''กรรมของคนเล่นชู้...
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) • มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริ...
    ประวัติ
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ที่ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    เริ่มการศึกษาเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (วัดยาง) จังหวัดสุพรรณบุรี
    พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๓ ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนเรียนดีของ กระทรวงศึกษาธิการ
    บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุย่าง ๑๓ ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น
    พ.ศ. ๒๔๙๕ ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป
    พ.ศ. ๒๔๙๖ ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ ๔ ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า 'ปยุตฺโต'แปลว่า 'ผู้เพียรประกอบแล้ว'
    พ.ศ. ๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสอบได้ วิชาชุดครู พ.ม. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖
    หลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นอาจารย์ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๗ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๙
    นอกจากสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปบรรยาย ณ University Museum แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ และที่ Swarthmore College สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้รับนิมนต์ให้เป็น visiting scholar และได้รับแต่งตั้งเป็น research fellow ณ Divinity Faculty แห่งมหาวิทยาลัย Harvard
    ท่านมีธรรมกถาที่เผยแพร่นับพันรายการ และมีผลงานหนังสือที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงหลายร้อยเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สถาบันการศึกษาชั้นสูงเกือบ ๒๐ แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งเชิดชูเกียรติต่างๆ มี ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์จาก นวนาลันทามหาวิหาร ประเทศอินเดีย และเมธาจารย์ (Most Eminent Scholar) จากมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นอาทิ
    สำนักของท่านในปัจจุบัน คือวัดญาณเวศกวัน ตั้งอยู่ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
    สมณศักดิ์
    พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่
    พระศรีวิสุทธิโมลี
    พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่
    พระราชวรมุนี
    พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่
    พระเทพเวที
    พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่
    พระธรรมปิฎก
    พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาศนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
    หากท่านมีความสนใจศึกษาเพิ่มเติม ** www.watnyanaves...
    ** ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขอโทษขออภัยแก่ผู้รับฟังด้วย และขอน้อมรับการปรับปรุงแก้ไขทุกประการ

ความคิดเห็น • 19

  • @Redmi-rh9tu
    @Redmi-rh9tu 2 ปีที่แล้ว +1

    ผู้ที่จะให้โอวาทภิกขุนีได้ภิกขุจะต้องรู้วินัยหรือรู้แจ้งในพระไตรปิฎกจึงจะให้โอวาทภิกขุนี้ได้

    • @namodharma
      @namodharma  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณที่ติดตามรับฟังมาตลอดครับ
      ขอให้ทุกท่านที่ได้รับฟังเกิดแสงสว่างทางปัญญา และนำพาให้ตนเองและครอบครัวมีแต่ความสุข
      ขอกราบอนุโมทนาบุญกับท่าน เลือกฟังที่สนใจ th-cam.com/users/kancha085123featuredsub_confirmation=1?sub_confirmation=1

  • @Redmi-rh9tu
    @Redmi-rh9tu 2 ปีที่แล้ว +2

    ภิกขุนีอยู่ในพระวินัยถึงเคารพในพระวินัยต่อวินัยนี้แหละที่คุ้มครองภิกขุนี

  • @สมชายชนะภัยพาล
    @สมชายชนะภัยพาล ปีที่แล้ว +1

    พระโมคคัลานะ ยังถูกคนต่างศาสนาทำร้ายถึงตาย...นี่แสดงว่า น่าจะมีพระท่านอื่นๆ น่าจะถูกโจรทำร้าย...และถูกสัตว์ป่าทำร้าย...เป็นต้น.

  • @Redmi-rh9tu
    @Redmi-rh9tu 2 ปีที่แล้ว +1

    แต่เราก็ไม่พาดพิงหรือละเมิดสิทธิหรือไปเปรียบเทียบระหว่างภิกขุค่ะ

  • @loveis2495
    @loveis2495 9 หลายเดือนก่อน

    สำหรับเรามองว่าการบวชจุดประสงค์ไม่ได้อยู่ที่เพศ แต่เราดูที่การปฎิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นหลัก ไม่ควรตีความไปข้างเดียว ขนาดสมัยพระพุทธเจ้ายังมีโอกาสให้บวชเลยน่าเสียดายแทนประเทศไทยนะคะ🤔

  • @Redmi-rh9tu
    @Redmi-rh9tu 2 ปีที่แล้ว +1

    ทุกวันนี้ภิกขุนี้เกิดขึ้นมากมายยังไม่เคยมีปัญหาเกิดผู้หญิงก็สามารถจรรโรงพระพุทธศาสนาได้แล้วก็ไม่เกิดปัญหาให้ได้รับความเสื่อมเสียใดๆทางด้านสังคมปัจจุบันเพราะยังไม่มีข่าวเรื่องความเสียหายต่างๆ

    • @pikabas
      @pikabas 9 หลายเดือนก่อน +1

      จับประเด็นจากการที่หลวงพ่อ ป.อ.ปยุตโต ท่านแสดงมาให้ได้นะครับ สรุปท่านให้แยกเป็นสามประการ
      ๑.หลักการ คือ พุทธบัญญัติว่าด้วยขั้นตอนการบรรพา-อุปสมบทภิกษุณีต้องมีขั้นตอนและองค์ประกอบอะไร การบวชนั้นจึงชื่อว่า ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการนั้น
      ๒.ความเห็น/ความต้องการ ของบุคคล คือ เห็นว่าภิกษุณีเป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนา ถ้ามีแล้วจะช่วยให้ศาสนาเจริญขึ้น จึงควรมีภิกษุณี ฯลฯ ... อันนี้เป็นความเห็น/ความต้องการของแต่ละคนไป
      ๓.เอา "หลักการ(พุทธบัญญัติ)" มาวางเป็นหลักไว้ แล้วพิจารณาว่า "ความเห็น-ความต้องการ" เข้ากับหลักการ หรือหลักการนั้นอนุญาติไว้แค่ไหนอย่างไร.
      ถ้าสังคมเรายอมรับเอาหลักการ(พุทธบัญญัติ)เป็นหลักใหญ่ในการพิจารณาตัดสินปัญหา ก็จะไม่มาขัดแย้งโต้แย้งถกเถียงกันให้ยืดเยื้อเลย แต่ถ้าแต่ละคนเอา "ความเห็น-ความต้องการ" มาเป็นหลักใหญ่แล้ว จะไม่มีวันได้ข้อสรุป เพราะ แต่ละคนก็มี ความเห็น-ความต้องการ ที่แตกต่างหลากหลายกันไป

    • @sittaweeraveecharasrut3959
      @sittaweeraveecharasrut3959 7 หลายเดือนก่อน

      @@pikabas อนุญาต ไม่ใช่อนุญาติ

  • @คัดเค้าเมืองสาเกต

    ควรปฏิบัติตามพุทธพจน์

    • @namodharma
      @namodharma  3 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณที่ติดตามรับฟังมาตลอดครับ
      ขอให้ทุกท่านที่ได้รับฟังเกิดแสงสว่างทางปัญญา และนำพาให้ตนเองและครอบครัวมีแต่ความสุข
      ขอกราบอนุโมทนาบุญกับท่าน เลือกฟังที่สนใจ th-cam.com/users/kancha085123featuredsub_confirmation=1?sub_confirmation=1

  • @Pormodtanoy
    @Pormodtanoy 2 ปีที่แล้ว +1

    กราบสาธุครับ

    • @namodharma
      @namodharma  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณที่ติดตามรับฟังมาตลอดครับ
      ขอให้ทุกท่านที่ได้รับฟังเกิดแสงสว่างทางปัญญา และนำพาให้ตนเองและครอบครัวมีแต่ความสุข
      ขอกราบอนุโมทนาบุญกับท่าน เลือกฟังที่สนใจ th-cam.com/users/kancha085123featuredsub_confirmation=1?sub_confirmation=1

  • @sittaweeraveecharasrut3959
    @sittaweeraveecharasrut3959 7 หลายเดือนก่อน

    ฟังเหตุผลของสมเด็จฯท่าน ฟังแล้วจะวิจารณ์กันไปทำไม เพราะถูกต้องแล้ว