ระวังทุเรียนเป็นโรครากเน่าโคนเน่า และโรคกิ่งแห้ง ที่มากับฟ้าฝนหลงฤดู

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ก.ย. 2024
  • ด้วยสภาพอากาศปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงมาก....โดยปกติในช่วงนี้นะครับจะเป็นช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง...แต่กลับมีฝนหรือมีพายุตั้งแต่ต้นปี และก็ยังตกมาเรื่อยๆจนถึงช่วงปลายๆเดือนกุมภาพันธ์...สำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียนก็คงหวั่นๆก็ไม่น้อย..เพราะว่าในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงมีฝนหลงฤดูมาตั้งแต่ต้นปีอย่างนี้ จะมีผลต่อชาวสวนทุเรียนโดยตรง ทั้งทุเรียนปลูกใหม่แล้วก็ทุเรียนที่กำลังจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต...สิ่งที่ได้มาจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มีฝนตกหรือความชื้น...นั่นก็คือโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า ถ้าเป็นสวนทุเรียนที่เริ่มติดดอกติดผลอ่อน ก็จะทำให้ทุเรียนมีการแตกยอดอ่อน...สิ่งสำคัญของการแตกยอดอ่อนนั่นก็คือ...ทุเรียนจะสลัดดอกและสลัดผลทิ้งนั่นเอง...และนอกจากนั้นความชื้นยังส่งผลให้เกิดโรคกิ่งแห้งอีกด้วย
    ปัญหาแรกที่เกิดจากความชื้นนั่นก็คือโรครากเน่าโคนเน่า...ซึ่งอาการของโรครากเน่าโคนเน่าก็จะมีแผลฉ่ำน้ำ มีสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มบริเวณโคนต้น...ใส่สวนของรากก็จะเป็นสีน้ำตาล..รากมีการเน่า เปลื่อยยุ่ย
    และอีกอย่างโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่านอกจากจะพบในบริเวณโคนต้นและรากแล้วก็ยังสามารถเจอในใบของทุเรียนได้ ซึ่งลักษณะอาการก็จะมีลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลหรือว่าสีน้ำตาลม่วงมีลักษณะอาการฉ่ำน้ำเช่นกัน...ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่...สาเหตุของโรคก็คือเชื้อราทอปธอร่า
    ในอาการของโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราทอปธอร่า เมื่อเราถากเปลือกหรือขุดรากขึ้นมา เราสังเกตุได้ว่าจะมีกลิ่นเหม็น..อันนี้ก็คือตัวบ่งบอกว่าสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อราที่อยู่ในกลุ่มของไฟทอปธอร่า ซึ่งเราจะใช้คำว่ากลุ่มของเชื้อราไฟทอปธอร่าเพราะว่ามันมีวงศาคณาญาติพี่เยอะมากนะครับในกลุ่มของเชื้อราไฟทอปธอร่า
    ซึ่งในกลุ่มเชื้อราที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่านอกจากเชื้อราไฟทอปธอร่าแล้วก็ยังมี เชื้อราพิเทียม และไฟโตพิเทียม ซึ่งลักษณะอาการถ้าเราสังเกตจากทางกายภาพก็อาจจะไม่แตกต่าง และไม่สามารถที่จะแยกแยะด้วยลักษณะทางกายภาพได้...ซึ่งต้องมีการตรวจและก็สืบหาสาเหตุของโรคจากห้องแลป
    และโรคที่สำคัญที่มากับสภาพอากาศแปรปรวน มีฝนตกในช่วงต้นปีแบบนี้ก็คือโรคกิ่งแห้งที่เกิดจากเชื้อฟิวซาเรียม...มีอาการ กิ่งแห้ง บริเวณกิ่งมีเชื้อราสีขาวเจริญเป็นหย่อมๆ ใบที่ติดปลายกิ่งมีสีเหลืองและร่วงไป
    ทีนี้มาดูปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้กันบ้าง...ซึ่งปัจจัยแรก ก็คือ ทุเรียนมีความอ่อนแอ ซึ่งอาจเกิดจากการขาดธาตุอาหาร ขาดน้ำ สภาพน้ำขัง สภาพความเป็นกรดด่างของดิน
    ปัจจัยที่ 2 ก็คือสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทั้งฝน ทั้งพายุ การรดน้ำที่มากจนเกินไปทำให้เกิดกาท่วมขังของน้ำ ซึ่งเมื่อมีน้ำขังก็จะแนแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อราไฟท็อปเธอร่า
    และปัจจัยที่ 3 ก็คือเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคมีความรุนแรงขึ้น
    เมื่อ 3 ปัจจัยมารวมกัน การเกิดโรคไม่ว่าจะเป็นรากเน่าโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราราทอปธอร่า หรือโรคกิ่งแห้งที่เกิดจาก เชื้อราฟิวซาเรียมได้นั่นเอง...
    ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคทั้งสามปัจจัยไม่ว่าจะเป็น....การให้อาหารกับพืช ทั้งธาตุรองธาตุเสริม ปุ๋ยทางดินปุ๋ยทางใบและก็พวกอินทรีย์วัตถุ จะช่วยให้ผู้เรียนมีความแข็งแรงก็เหมือนกับคนถ้าได้อาหารที่ครบ 5 หมู่ร่างกายแข็งแรงสามารถต้านทานโรคได้
    มีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินเพื่อเพิ่มช่องว่างในดิน..เพิ่มปริมาณออกซิเจนในดินให้รากสามารถมีช่องว่างดูดธาตุอาหารได้ดี
    เรื่องต่อมาก็สำคัญก็คือการระบายน้ำ เนื่องจากว่าเชื้อราต่างๆที่เป็นบ่อเกิดของโรคในทุเรียน ก็เกิดจากความชื้นการ มีน้ำท่วมขัง มีการระบายน้ำไม่ดี และด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมีฝนหลงฤดูแบบนี้ น้ำจึงเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนย้ายเซลส์สปอร์ของเชื้อราต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรคในทุเรียนและนำดังเป็นปัจจัยในการเพิ่มการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี.....ดังนั้นควรมีการจัดการระบายน้ำให้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง ไม่เกิดความชื้นแฉะ...และควรหลีกเลี่ยงการกระทําที่อาจทําให้รากหรือลําต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทําลายพืชได้ง่ายขึ้น
    ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกไปซะ...หรือถ้าต้นไหนมีการระบาดหนักจนถึงขั้นยืนต้นตายก็ควรตัดรากถอนโคนทิ้งทั้งต้นไม่ควรทิ้งไว้ยังไงมันก็ไม่ฟื้น....ในเรื่องของการตัดแต่งกิ่งในส่วนที่เป็นโรค...ควรก็นำกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทิ้งนอกแปลง เพราะการจัดการในส่วนหรือในแปลงจะทำให้ดินบริเวณนั้นเป็นแหล่งสะสมของสาเหตุโรค และสามารถกลับมาทำลายทุกเดือนเราได้อีก
    ใช้พวกสารชีวภัณฑ์ที่เป็นปรปักษ์ต่อเชื้อราร้ายไม่ว่าจะเป็นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
    สารเคมีการกำจัดเชื้อราที่เป็นบ่อเกิดของโรคของทุเรียน
    *สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ กลุ่ม inorganic (อินออร์แกนิค)
    *ไดฟีโนโคนาโซล กลุ่ม Triazole (ไตรอะโซล)
    *อีทริไดอะโซล กลุ่ม Aromatic hydrocarbon (อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน)
    *เฮกซาโคนาโซล กลุ่ม Triazole (ไตรอะโซล)
    *ฟอสโฟนิคแอซิด กลุ่ม Phosphonate (ฟอสโฟเนต)
    *ไพราโคลสโตรบิน กลุ่ม Methoxycarbamate (เม็ทท็อกซี่คาร์บอเนต)
    *ไตรโฟรีน กลุ่ม Piperazine (ไพเพอร์ราซีน)
    *อะซอกซีสโตรบินผสมไดฟีโนโคนาโซล กลุ่ม Strobilurin analogue (สโตรบิลูริน) ผสม Triazole (ไตรอะโซล)
    *คลอโรทาโลนิลผสมอะซอกซีสโตรบิน กลุ่ม chloronitrile + Strobilurin Type : Methoxycrylate (คลอโรไนทิล ผสม สโตรบิลูริน : เมทท็อกซี่อะคลีเลท)
    *แมนโคเซบผสมวาลิฟีนาเลท กลุ่ม Alkylenebis + Valinamide carbamate (อัลไคเลนาเบท ผสม วาลินาไมล์คาร์บาเมท)
    ในการใช้สารเคมีใน 10 ชนิดที่กล่าวมาครับ ให้เลือกใช้ 2-3 ชนิด และควรให้อยู่คนละกลุ่มยากัน อย่างเช่น สารกลุ่มที่ 1 ควรใช้ประมาณ 2-3 ครั้งแล้วจึงเปลี่ยนกลุ่มสาร...หมุนเวียนหรือสลับไปเรื่อยๆวนไปอย่างนี้...เพื่อไม่ให้มีการดื้อยา
    +++++++++++++++++++++
    ติดต่อฅนเกษตร : / konkaset89
    ติดต่อทีมงาน Production : / korkai.studio9

ความคิดเห็น • 11

  • @DaCha-g4y
    @DaCha-g4y 5 หลายเดือนก่อน

    กิ่งแห้งใช่ยาตัวใหนคับมือใหม่

  • @ธวัชชัยจันทร์ทัพ
    @ธวัชชัยจันทร์ทัพ 2 ปีที่แล้ว +4

    ปีนี้ทางชุมพรเจอฟิวซาเรียมเยอะมาก

  • @jokeju9267
    @jokeju9267 2 ปีที่แล้ว +3

    เป็นข้อมูลที่ดีเยี่ยมครับ

  • @boonyritglompan5452
    @boonyritglompan5452 ปีที่แล้ว +1

    🙏🙏🙏👍

  • @Oatwasabi-
    @Oatwasabi- ปีที่แล้ว

    สอบถามนะครับ ขอวิธีแก้ให้ผมหน่อยนะครับ
    ถ้าเราสามารถแยกออกว่าเกิดจากเชื้อราตัวไหน มีโอกาสใช้ยาหายได้ไหมครับ และวิธีส่งห้องแล็ป พอจะแนะนำวิธีให้ได้ไหมครับ ตอนนี้ รากเน่าโคนเน่าหนักและเมื่อฝนมา จะไหลตามไปตืดต้นอื่นๆด้วยครับ 🙏🙏🙏

  • @fjdtycjdgff7145
    @fjdtycjdgff7145 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ

  • @ItelP17-i7m
    @ItelP17-i7m 10 หลายเดือนก่อน

    อีทรีไดอะโซล ฉีดดินแก้โรคคอดินได้ไม่ค่ะ

  • @daniyakitchen
    @daniyakitchen ปีที่แล้ว

    ผมมี 2 ต้น ทีกิ่งล่างแห้ง

  • @นวพรคําวิจารณ์
    @นวพรคําวิจารณ์ 2 ปีที่แล้ว

    ดูตอนนี้ก็ไม่ทันแล้วฝนชุกมีทุกโรค

  • @เกษตรมือใหม่-ฏ4ผ
    @เกษตรมือใหม่-ฏ4ผ 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้มากอยากปลูกค่ะ