【Vlog】คุณคือใคร RSO ? จป.รังสี ?

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.ย. 2024
  • #รับชมคลิปโจทย์เทคนิครังสี และแนวข้อสอบ RSO
    ได้ที่นี่ : www.rsothailan...
    ----------------
    แนวทางการประเมินความสอดคล้องตามกฎหมาย (ก่อนปี 2559) เกี่ยวกับ #ระดับของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี #RSO ให้เหมาะสมกับกิจกรรม/การประกอบการ ภายในหน่วยงานของท่าน (คลิปนี้จัดทำขึ้นก่อน พรบ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559)
    ผลงานโดย: เทวัญ ชื่นทอง (แบงค์)
    - วท.บ. สาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    - มหาวิทยาลัย มหิดล u4408045, Koon52, Occ.36
    คำถาม/ข้อเสนอแนะ : taywanchuenthong@gmail.com
    เยี่ยมชม RSI Channel : / rsichannel

ความคิดเห็น • 25

  • @nopkhanom3107
    @nopkhanom3107 2 ปีที่แล้ว

    มีอัปเดทมั้ยครับ

  • @bookyoo9879
    @bookyoo9879 7 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ 😊

    • @RSOTH
      @RSOTH  7 ปีที่แล้ว +1

      ยินดีครับ^^

  • @surakhetnakamake8853
    @surakhetnakamake8853 7 ปีที่แล้ว

    เป็นประโยชน์มาก ขอบคุณครับ

    • @RSOTH
      @RSOTH  7 ปีที่แล้ว

      ยินดีครับ ^^

  • @JaoNaay_kalimba
    @JaoNaay_kalimba 4 ปีที่แล้ว +1

    ขออนุญาตสอบถามครับ ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพเเวดล้อมในการทำงานเกี่ยงกับรังสีไออ่อน พ.ศ.2547 กำหนดไว้ว่า
    ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้มีลูกจ้างซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 9 อย่างน้อยหนึ่งคน ฯ
    ข้อ 9 คุณสมบัติผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีอย่างใดอย่างหนึ่ง
    (2) ผู้ซึ่งผ่านการอบรมและผ่านการทดสอบหลักสูตรการป้องกันอันตรายทางรังสี จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    จึงอยากทราบว่า (2) ในที่นี้หมายถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีหรือไม่ครับ

    • @RSOTH
      @RSOTH  4 ปีที่แล้ว +1

      ข้อความในข้อ 9,(2) ของกฎกระทรวงฯ 47 ถ้าแปลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ต้องตอบว่า หมายถึง จป.รังสี หรือ RSO ถูกต้องครับ
      แต่ทั้งนี้ พ.ร.บ พลังงานนิวเคลียร์ปี 59 มีการกำหนดคุณสมบัติของจป.รังสี หรือ RSO ไว้ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว มีระดับที่สูงกว่า "ผู้รับผิดชอบด้านเทคนิคฯ" ในปี 47 ครับ
      ดังนั้น ผู้รับผิดชอบด้านเทคนิคฯ ในปี 47 จึงไม่เท่ากับ จป.รังสี หรือ RSO ในปี 59 ในแง่ของข้อกำหนด แต่ ในแง่ของเจตนารมณ์นั้น "หมายถึง"บุคลากรคนเดียวกัน ในช่วงเวลาที่ต่างกันครับ

    • @JaoNaay_kalimba
      @JaoNaay_kalimba 4 ปีที่แล้ว

      @@RSOTH ขอบคุณครับ

  • @SupotH
    @SupotH 6 ปีที่แล้ว

    รบกวนสอบถามด้วยครับ พอดีที่บริษัทมีการใช้เครื่อง x-ray สินค้าหลังจากการผลิตแล้ว ไม่ทราบว่าต้องมี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยรังสีขั้นไหนครับ

    • @RSOTH
      @RSOTH  6 ปีที่แล้ว

      ระดับของ จป.รังสี สอดคล้องตาม "ประเภทของเครื่องกำเนิดรังสี" ครับ ในเบื้องต้นต้องขอยืนยันชนิดของรังสีที่มีการใช้งานก่อนครับ ว่าเป็น X-Ray หรือ Gamma Ray (หลายๆท่านมักเข้าใจผิด เรียกการใช้งานรังสีรวมๆกันว่า X-Ray) ( รังสีเอกซ์ หรือ X-Ray ที่ใช้ในอุตสาหกรรม 99% เกิดจากพลังงานไฟฟ้า ไม่ได้เกิดจากการสลายตัวของวัสดุกัมมันตรังสี)
      **กรณี เป็นการใช้งาน เครื่องกำเนิดรังสี เอกซ์ จริง ตาม ร่างกฎกระทรวงที่กำลังจะบังคับใช้ จะต้องมี "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ระดับต้น ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี"
      **กรณี เป็นการใช้งาน เครื่องกำเนิดรังสี เอกซ์ จริง ตาม กฎกระทรวงฉบับเก่า ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ผมต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนของ ชื่อเครื่อง/mA,Kv/ลักษณะการทำงานของเครื่องในการใช้งานครับ และมีโอกาสสูงที่ จะต้องมี "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ระดับกลาง ประเภทเครื่องกำเนิดรังสี"

    • @SupotH
      @SupotH 6 ปีที่แล้ว

      RSI-ความปลอดภัยทางรังสีอุตสาหกรรม
      ISHIDA รุ่น IX-G-4075-M กำลัง/พลังงานสูงสุด 75kV 4mA

    • @SupotH
      @SupotH 6 ปีที่แล้ว

      รบกวนด้วยครับ

    • @RSOTH
      @RSOTH  6 ปีที่แล้ว

      อ้างอิง SHIDA รุ่น IX-G-4075-M (75kV 4mA) ให้พลังงานรังสีเอกซ์ ใช้งานเพื่อตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมในผลิตภัณฑ์
      กรณี 1 อ้างอิงตาม ร่างกฎหมายใหม่ ที่กำลังจะบังคับใช้ภายใน 2561
      1.1ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องกำเนิดรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม พ.ศ.xxxx
      : กำลังเครื่องมากกว่า 5kV ต้องมี RSO
      1.2 ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอรับใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาตและ การต่ออายุใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกาเนิดรังสี
      พ.ศ. xxxx
      : SHIDA รุ่น IX-G-4075-M (75kV 4mA) เป็น เครื่องกำเนิดรังสี ประเภทที่ 3 (เครื่องเอกซเรย์ทางอุตสาหกรรม)
      1.3 ร่างกฎกระทรวงกำหนดศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกาเนิดรังสี
      พ.ศ. xx
      : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับต้น อย่างน้อยหนึ่งคน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยทางรังสี ของหน่วยงาน
      ****กฎหมายที่ใช้อ้างอิงเป็นฉบับบร่างอาจมีการเปลี่ยนแปลง****
      แหล่งที่มา:www.oap.go.th/about-us/regulations/draft-regulations

    • @RSOTH
      @RSOTH  6 ปีที่แล้ว

      อ้างอิง SHIDA รุ่น IX-G-4075-M (75kV 4mA) ให้พลังงานรังสีเอกซ์ ใช้งานเพื่อตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมในผลิตภัณฑ์
      กรณี 2 อ้างอิงตาม กฎหมายเก่า ที่ยังมีผลบังคับใช้ จนกว่าร่างกฎหมายใหม่จะมีผลบังคับใช้ ตาม พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ.๒๕๕๙
      2.1 ประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เรื่องมารฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับรังสี พ.ศ.2549
      : SHIDA รุ่น IX-G-4075-M (75kV 4mA) เป็นเครื่องกำเนิดรังสีประเภท 2หรือ3
      2.2 ประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เรื่องมาตรฐานการรับรองเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2549
      : ต้องมี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับกลาง
      ***ดังนั้น เพื่อให้ครอบคลุมกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ผมแนะนำให้ สอบขอรับใบอนุญาต เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีระดับกลาง (เครื่องกำเนิดรังสี) ครับ***

  • @tobpycat
    @tobpycat 7 ปีที่แล้ว

    สวัสดีครับพี่
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆ เลยครับผม ดีใจที่ได้เจอพี่คณะ ผม Occ 43 Koon 59
    พอดีผมเคยไปอ่านข้อมูลใน เเฟนเพจ เเต่เหมือนตอนนี้จะถูกปิดไปเเล้ว ไม่ทราบว่าพี่พอมีช่องทางการติดต่ออื่นๆ หรือเปล่าครับ
    พอดี มีข้อมูลที่ผมอยากเรียนปรึกษาครับผม
    ขอบคุณมากครับ

    • @RSOTH
      @RSOTH  7 ปีที่แล้ว

      สวัสดีครับ ^^ พี่ Occ 36 รายงานตัว (แก่จุง) ยินดีให้คำปรึกษาครับผม Taywanchuenthong@gmail.com, Line ID : BY-Pharmacy

    • @วิชชุกรคณฑา
      @วิชชุกรคณฑา 2 ปีที่แล้ว

      @@RSOTH ตอนนี้ผมยังสามารถปรึกษาไลน์พี่ได้อยู่ไหมครับ พอดีมีเรื่องอยากปรึกษา

  • @fratlivethaident3555
    @fratlivethaident3555 5 ปีที่แล้ว

    อื่อหึ

  • @sarojrodparn5419
    @sarojrodparn5419 4 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณช่องนี้ครับที่ทำให้ผมสอบติด

  • @Natthakit31
    @Natthakit31 5 ปีที่แล้ว +1

    การสอบRSO ต้องสอบผ่าน
    ระดับ1 มาก่อนใช่ไหมคับ

    • @RSOTH
      @RSOTH  5 ปีที่แล้ว

      ถ้าหมายถึง การผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร "การป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับที่ 1"
      - สำหรับผู้สอบ RSO ระดับต้น ที่ไม่ได้มีวุฒิ ปวส. หรือ
      - สำหรับผู้สอบ RSO ระดับกลาง ที่ไม่ได้จบ วท.บ./วิศวกร ต้องอบรมหลักสูตรดังกล่าวครับ (และต้องทำงานในตำแหน่ง ผู้รับผิดชอบดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับรังสีหรือเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยทางรังสีระดับต้นต่อเนื่องอย่างน้อย 3ปี)
      แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการปูพื้นฐานวิชาเทคนิครังสี (ฟิสิกส์รังสี) ผมแนะนำให้อบรมครับเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนสอบ และสามารถใช้เป็นคุณวุฒิ/คุณสมบัติ ฝึกอบรม ระดับที่ 2 ต่อเนื่องได้อีกด้วย^^
      อ้างอิงตาม ตามประกาศคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เรื่องมาตรฐานการรับรองเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. ๒๕๔๙ รายละเอียดเพิ่มเติม www.oap.go.th/images/documents/services/rso/DocumentApplication/ประกาศสำนกงาน/คณสมบตของผมสทธสมครสอบเพอขอการรบรองเปนเจาหนาทความปลอดภยทางรงส.pdf

  • @donpofc3893
    @donpofc3893 7 ปีที่แล้ว +1

    ดีครับ ขอบคุณมาก ได้ความรู้ดีครับ

    • @RSOTH
      @RSOTH  7 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณสำหรับกำลังใจ และการติดตามครับ ^^

  • @aurinwongpichit1019
    @aurinwongpichit1019 6 ปีที่แล้ว

    สอนดี แบบเล่าเรื่อง... อยากได้ ppt ที่ใช้สอน..มองไม่ค่อยเห็น...