การใช้งานตัวต้านทาน หน้าที่ และ ประโยชน์ของตัวต้านทาน การทำงานของตัวต้านทาน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.ย. 2024
  • ตัวต้านทาน (Resistor) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวต้านทานค่าคงที่หน้าที่ และ ตัวต้านทานปรับค่าได้หน้าที่ คือ จำกัดปริมาณกระแสไฟฟ้าและกำหนดระดับแรงดันไฟฟ้า ในคลิปอธิบายและยกตัวอย่างการต่อใช้งาน พร้อมอธิบายการทำงานของตัวต้านทานด้วย และ ตอบคำถามว่าตัวต้านทานเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่อะไร ตัวต้านทานปรับค่าได้ที่อธิบายในคลิปคือโพเทนชิโอมิเตอร์ และ รีโอสตัท
    #อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ #ตัวต้านทาน #อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน #อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น #เรียนอิเล็กทรอนิกส์

ความคิดเห็น • 9

  • @KomKom-yf5lb
    @KomKom-yf5lb 4 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีครับ ตัวต้านทานต่างชนิดใช้แทนกันได้มั้ยครับ

    • @electech_8889
      @electech_8889  4 หลายเดือนก่อน +1

      ตามหลักทั้งได้และไม่ได้ครับ โดยต้องแยกเป็นกรณี ให้สังเกตในบอร์ดของหนึงวงจรจะมี R หลายชนิดเลยอยู่ในนั้น เช่น จุดนี้เป็นสัญญาณความถี่ต้องใช้ R ชนิดเมตัลฟิล์ม จุดนี้ใกล้อุปกรณ์มีความร้อนต้องใช R ชนิดไวร์วาวด์ หรือ R ทนความร้อน R กระเบื้อง เป็นต้น ต้องพิจารณาคุณสมบัติทางไฟฟ้าประกอบ คือมันมีเหตุผลทางไฟฟ้าหลายประการเช่น การตอบสนองต่อความถี่ต่อสัญญาณดีไม่เท่ากัน ความสามารถในการระบายความร้อนของวัสดุแต่ละชนิดดีไม่เท่ากัน การทนทานต่อแรงดันต่อกระแสในระยะยาวที่มาอัดไม่เท่ากัน คือตอนวงจรทำงานมันมีแรงดันมีกระแสปริมาณต่ำสูง / สูงต่ำสลับสภาวะเรื่อยๆ มากระทำกับ R ตลอดเวลา วัสดุแต่ละชนิดให้ความทนตรงนี้ดีไม่เท่ากัน ปกติแล้วชนิดไวร์วาวด์ กับชนิดเมทอลออกไซต์ ทนใกล้เคียงกันจึงใช้แทนกันได้ และก็มีวงจรพื้นฐานที่ใช้แรงดันต่ำกระแสน้อย สามารถใช้ R แทนกันได้ระหว่างชนิดคาร์บอนฟิล์ม กับ ชนิดเมตัลฟิล์ม ตามหลักการประหยัดต้นทุนการผลิตเขาจะเลือกอุปกรณ์ที่ราคาถูกที่สุดสามารถใช้งานได้ดีระดับหนึ่งมาประกอบวงจร ถ้าเราเป็นช่างซ่อมเราสามารถเลือก R ชนิดที่มีคุณสมบัติดีว่ามาใส่แทนตัวเก่าได้

  • @suksarit
    @suksarit 5 วันที่ผ่านมา +1

    คำว่ากระแสไฟฟ้าหมายถึงอิเล็กตรอนใ่มั้ยครับ เท่ากับว่ากระแสไหลจากขั้วลบไปขั้วบวก แต่ที่เคยเห็นเคยเรียนมามาทำไมบอกว่ากระแสไฟฟ้าไหลจากขั้วบวกไปขั้วลบ

    • @electech_8889
      @electech_8889  5 วันที่ผ่านมา +1

      ใช่แล้วครับ จากความรู้ทางฟิสิกส์เรื่องอะตอมที่มากขึ้นในยุคหลัง พบว่า สิ่งที่เคลื่อนที่จริงๆคือ อิเล็กตรอน เป็นกระแสอิเล็กตรอน ส่วนในยุคแรก จะใช้แบบกระแสไหลจาก + ไป - เรียกว่า กระแสสมมติ ( มีทิศสวนทางกับกระแสอิเล็กตรอน ) พวกกฏต่างๆทางไฟฟ้าจะอิงกับกระแสสมมตินี้ ตามยุคแรก และมันใช้อธิบายการทำงานของวงจรได้โดยไม่มีปัญหา ปัจจุบันก็เรียนไล่วงจรโดยใช้กระแสสมมติกันอยู่ มันจะมีตำรายุคใหม่ของต่างประเทศที่ใช้ กระแสอิเล็กตรอนในการอธิบายทำงานเคยเห็นผ่านๆว่ามีเวอร์ชั้นนี้ด้วยครับ แต่งานของผมยังไม่มีจำเป็นต้องไปอ่านเวอร์ชั่นนี้ จึงไม่ได้เข้าไปดูรายละเอียดครับ

    • @suksarit
      @suksarit 5 วันที่ผ่านมา

      @@electech_8889 ถ้าอิงตามนี้ว่ากระแสคืออิเล็คตรอน การอธิบายการทำงานของสารกึ่งตัวนำหรือการเกิดไฟฟ้าจากการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านตัวนำคงจะเข้าใจได้ง่าย ทุกวันนี้ผมยังงงอยู่เลย แต่สัญลักษณ์อุปกรณ์อย่างไดโอดซึ่งเป็นสากลไปแล้วคงจะแก้ไขไม่ได้ ขอบคุณครับ

  • @pipatsahu9699
    @pipatsahu9699 ปีที่แล้ว

    ขอไฟฟ้าหน่อยมาจากใหน กระแสด้วยคับ

  • @Nadontokpla
    @Nadontokpla 11 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีครับถ้าเราจะซ่อมอีเล็คโทนิคส์ใช้ใหมครับ

    • @electech_8889
      @electech_8889  11 หลายเดือนก่อน

      ใช่ครับ ช่างใช้ซ่อมวงจร ดัดแปลงวงจรบางส่วน ถ้าเป็นวงจรหรืองานที่ซับซ้อนต้องเป็นระดับโรงงานเพราะต้องใช้เครื่องมือที่ช่างทั่วไปไม่มี วงจรที่ซับซ้อนโรงงานจะมีการทำงานเป็นทีมงาน

  • @ชานนนท์สอาดปรุ
    @ชานนนท์สอาดปรุ ปีที่แล้ว +1

    เยี่ยมไปเลยครับ ผมฟังไปทำงานไป ช่วยได้เยอะครับ เพลินดี เรื่องความรู้ผมคงต้องปฏิบัติดู ผิดถูกค่อยมาย้อนฟังใหม่ ติดตามครับ