ละครเพลงสร้างสรรค์ชุด "นนทก" จากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 มิ.ย. 2024
  • "นนทก" คือตัวละครตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งที่ปรากฎในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นฉบับที่เรียกได้ว่ามีความครบจบสมบูรณ์ที่สุดในด้านเนื้อเรื่องมากที่สุดกว่าฉบับใดๆ อธิบายให้ลึกอีกก็คือ รามเกียรติ์นั้นมีผู้แต่งหลายคน แต่ละคนแต่งไว้ไม่เท่ากัน และมีลีลาการแต่งที่งดงามต่างกันไป
    .
    จากคำนำ ในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เล่มที่ ๑ ซึ่งเขียนไว้โดยกรมศิลปากร เมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ กล่าวว่า
    .
    รามเกียรติ์ฉบับภาษาไทยนั้น มีอยู่หลายสำนวนด้วยกันตามที่ นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้รวบรวมไว้ใน "เล่าเรื่องหนังสือรามเกียรติ์" คือ
    .
    ๑. รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า
    ๒. รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า
    ๓. รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี
    ๔. รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑
    ๕. รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒
    ๖. รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ (ตอนพระรามเดินดง)
    ๗. รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖
    .
    นี่แสดงให้เห็นว่ารามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่ปรากฎอยู่ในสังคมมาตั้งแต่ครั้ง "กรุงเก่า" ซึ่งหมายถึง "กรุงศรีอยุธยา" และมีการพัฒนารูปแบบเป็นบทละครเรื่อยมาจนตกทอดมาสู่ปัจจุบัน
    .
    ถึงแม้ "นนทก" จะเป็นตัวละครตัวเล็กๆ ที่ปรากฎตัวในช่วงเริ่มแรกของเล่ม หารู้ไม่ นี่คือตัวละครที่ทำให้เกิดเป็นศึกรามเกียรติ์เลยทีเดียว เพราะนี่คือ "ทศกัณฐ์" ในชาติก่อนที่จะมาเกิดเป็นเจ้ากรุงลงกาและมาสู้รบกับพระรามเพื่อแย่งชิงนางสีดาตามที่ทราบกันดี
    .
    ละครเพลงนี้สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
    .
    หากมีโอกาสได้อ่านฉบับจริง บทละครในตอน "นนทก" นี้เดิมเป็นร้อยกรอง เพียง ๘ หน้า ซึ่งจะขอตัดบทร้อยกรองเอาฉพาะที่ครอบคลุมในวีดีโอนี้มาให้อ่านกัน เพื่อเปรียบเทียบว่าเมื่อบทละครดั้งเดิมถูกนำมาสร้างสรรค์เป็นละครเวทีนั้นจะเกิดเป็นภาพอย่างไร
    .
    มาจะกล่าวบทไป ถึงนนทกน้ำใจกล้าหาญ
    ตั้งแต่พระสยมภูวญาณ ประทานให้ล้างเท้าเทวา
    อยู่บันไดไกรกาสเป็นนิจ สุราฤทธิ์ตบหัวแล้วลูบหน้า
    บ้างให้ตักน้ำล้างบาทา บ้างถอนเส้นเกศาวุ่นไป
    จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู ดูเงาในน้ำแล้วร้องไห้
    ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
    เป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย มิตายก็จะได้เห็นหน้า
    คิดแล้วก็รีบเดินมา เฝ้าพระอิศราธิบดีฯ
    .
    ครั้นถึงจึงประณตบทบงสุ์ ทูลองค์พระอิศวรเรื่องศรี
    ว่าพระองค์เป็นหลักธาตรี ย่อมเมตตาปรานีทั่วพักตร์
    ผู้ใดทำชอบต่อเบื้องบาท ก็ประสาททั้งพรแลยศศักดิ์
    ตัวข้านี้ก็มีชอบนัก ล้างเท้าสุรารักษ์ถึงโกฏิปี
    พระองค์ผู้ทรงศักดาเดช ไม่โปรดเกศแก่ข้าบทศรี
    กรรมเวรสิ่งใดดั่งนี้ ทูลพลางโศกีรำพันฯ
    .
    เมื่อนั้น พระอิศวรบรมรังสรรค์
    เห็นนนทกโศกาจาบัลย์ พระทรงธรรม์ให้คิดเมตตา
    จึ่งมีเทวราชบรรหาร เอ็งต้องการสิ่งไรจงเร่งว่า
    ตัวกูจะให้ดั่งจินดา อย่าแสนโศกาอาลัยฯ
    .
    บัดนั้น นนทกผู้มีอัชฌาสัย
    น้อมเศียรบังคมแล้วทูลไป จะขอพรเจ้าไตรโลกา
    ให้นิ้วข้าเป็นเพชรฤทธี จะชี้ใครจงม้วยสังขาร์
    จะได้รองเบื้องบาทา ไปกว่าจะสิ้นชีวา
    .
    เมื่อนั้น พระสยมภูวญาณเรืองศรี
    ได้ฟังนนทกพาที ภูมีนิ่งนึกตรึกไป
    อ้ายนี่มีชอบมาช้านาน จำเป็นจำจะประทานให้
    คิดแล้วก็ประสิทธิ์พรชัย จงได้สำเร็จมโนรถฯ
    .
    แน่นอนว่าสิ่งที่เปลี่ยนไปคือ วิธีการเล่าเรื่อง การตีความหมายใหม่ การให้รายละเอียดกับภูมิหลังตัวละคร เพิ่มความต้องการของตัวละคร ความขัดแย้งของตัวละคร คำพูดและการแสดงอารมณ์ผ่านการกระทำของตัวละคร รวมถึงการใส่จินตนการต่างๆ ในงานออกแบบฉาก เสื้อผ้า แสง ให้เรื่องราวดูแฟนตาซีมีความร่วมสมัย
    เพลงคือส่วนสำคัญมากๆ ที่ทำให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถถ่ายทอดอารมณ์ตัวละครออกมาได้อย่างชัดเจน ทำให้ตัวละครที่ปรากฎในจินตนาการจากตัวหนังสือกลายเป็นภาพมีชีวิตเห็นอารมณ์ที่ชัดเจนในฐานนะที่เป็นมนุษย์ได้อย่างเข้าใจ ทำนองเพลงและการเรียบเรียงดนตรีต้องยกให้พี่จอนห์นี่ สุดยอดนักดนตรีที่ผมทำงานด้วยมาทุกเรื่อง
    .
    ถ้าอยากทราบตอนจบของเรื่องเป็นอย่างไร ตามไปดูเรื่องเต็มได้ที่นี่
    • รามเกียรติ์ เดอะ มิวสิ...
    ฝากช่วยกดติดตามช่องให้ด้วยนะครับ

ความคิดเห็น •