ญี่ปุ่นฉะอ้อน เถา - เสริมมิตรบรรเลง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ธ.ค. 2019
  • เพลงญี่ปุ่นฉะอ้อน เถา
    คณะเสริมมิตรบรรเลง
    ประวัติและที่มาทำนอง
    เพลงญี่ปุ่นฉะอ้อน อัตรา ๒ ชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มีท่อนเดียว เป็นเพลงที่ใช้ร้องในการเเสดงละครร้อง หม่อมต่วนศรี วรวรรณ เป็นผู้แต่งขึ้นทั้งทางร้องและทางดนตรีเพื่อให้ละครร้องคณะปรีดาลัยในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ใช้ร้องในการเเสดงมาตั้งแตาสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทำนองเพลงมีความไพเราะจึงมีผู้นิยมนำมาร้องกันสืบต่อมา
    หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงนี้มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔
    ต่อมาคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ได้แต่งทางร้อง ใช้บทร้องจากละครเรื่องพระลอนรลักษณ์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
    บทร้อง
    ๓ ชั้น
    โอ้เจ้าเสาวภาคย์ของพี่เอ๋ย ไฉนเลยจะได้ชมสมสอง
    แต่พลบค่ำคร่ำครวญถึงนวลน้อง จนย่ำยามสองฆ้องประโคม
    แต่ข่าวคำร่ำลือแล้วมิหนำ นี่มาซ้ำฟังซอยอรูปโฉม
    เหมือนพระเมรุเอนทับทรวงโทรม แสนโทมนัสนึกไม่นิทรา
    ให้เคลิ้มคลุ้มกลุ้มจิตผิดสังเกตุ ภูวเรศรัญจวนหวนหา
    อาลัยในสองวนิดา สุดแสนเสน่หาอาวรณ์
    ๒ ชั้น
    เผยพระแกลแลดูแสงเดือน ดังพักตร์เพื่อนเเพงทองสองสมร
    เคลิ้มเห็นเป็นสองบังอร มาแนบนอนบนที่แท่นสุวรรณ
    นักสนมก้มกราบอยู่งานถวาย พระแย้มยิ้มพริ้มพรายเข้ารับขวัญ
    ครั้นรู้ว่าสาวสุรางค์นางกำนัล ทรงธรรม์ขวยเขินสะเทิ้นใจ
    ชั้นเดียว
    ด้วยแรงฤทธิ์วิทยาอาคม ในอารมณ์ร้อนรนหม่นไหม้
    เหมือนบ้าหลังคลั้งคลุ้มกลุ้มใจ คว้าไขว่กอดเขนยเชยชม
    ที่มา : สารานุกรมศัพย์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงเถา ราชบัณฑิตยสถาน

ความคิดเห็น •