แม่พิมพ์ของชาติ : วงจันทร์ ไพโรจน์ (พ.ศ. 2493)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 เม.ย. 2020
  • ***********
    แม่พิมพ์ของชาติ (พ.ศ. 2493)
    คำร้อง/ทำนอง : สุเทพ โชคสกุล
    ขับร้อง : วงจันทร์ ไพโรจน์
    แสงเรืองๆ ที่ส่องประเทืองอยู่ทั่วเมืองไทย
    คือแม่พิมพ์อันน้อยใหญ่ โอ้ครูไทยในแดนแหลมทอง
    เหนื่อยยากอย่างไร ไม่เคยบ่นไปให้ใครเขามอง
    ครูนั้นยังลำพอง ในเกียรติของตนเสมอมา
    ที่ทำงานช่างสุดกันดารในป่าดงไพร
    ถึงจะไกลก็เหมือนใกล้ เร่งรุดไปให้ทันเวลา
    กลับบ้านไม่ทันบางวันต้องไปอาศัยหลวงตา
    ครอบครัวคอยท่า ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน
    ถึงโรงเรียนก็เจียนจะสายจวนได้เวลา
    เห็นศิษย์รออยู่พร้อมหน้า ต้องรีบมาทำการสอน
    ไม่มีเวลาที่จะได้มาหยุดพอพักผ่อน
    โรงเรียนในดงป่าดอน ให้โหยอ่อนสะท้อนอุรา
    ชื่อของครูฟังดูก็หรูชวนชื่นใจ งานที่ทำก็ยิ่งใหญ่
    สร้างชาติไทยให้วัฒนา
    ฐานะของครูใครๆ ก็รู้ว่าด้อยหนักหนา
    ยังสู้ทนอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มาเป็นหลายปี
    นี่แหละครูที่ให้ความรู้อยู่รอบเมืองไทย
    หวังสิ่งเดียวคือขอให้เด็กของไทยในผืนธานี
    ได้มีความรู้เพื่อช่วยเชิดชูไทยให้ผ่องศรี
    ครูก็ภูมิใจที่สมความเหนื่อยยากตรากตรำมา
    เดิมชื่อสงัด โชคสกุล เกิดเมื่อวันที่ ๗ มีนาคมพ.ศ.๒๕๗๐ ที่บ้านตั้งใหม่ ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี บิดามารดาชื่อ นายเวส นางเม้า โชคสกุล การศึกษาประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม
    ชอบการร้องเพลงและดนตรีมาแต่เล็ก ติดตามพี่ชายไปเป็นคนตีฉาบ ตีฉิ่ง ตีกลอง ได้ค่าแรงไม่ต้องขอที่บ้าน เริ่มหัดดนตรี เครื่องเป่า พี่ชายให้หัดแตรก่อน ได้เป่าแตรหน้าโรงหน้า ยุคหนังเงียบ ได้ดูหนังทุกเรื่อง ดูละครทุกเรื่อง จำเพลงละครมาร้องได้หมด เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง สมัครเป็นครูประชาบาล เพราะเป่าแตรได้เก่ง ได้รับคัดเลือกเป็นครู ขยันเล่าเรียนจนสอบวิชาครูได้ ประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม รับราชการเป็นหัวหน้าฝ่ายนิเทศการศึกษา สังกัด สปจ. สุพรรณบุรี
    เคยตั้งวงดนตรี และเคยทำแผ่นเสียงเอง เพลงที่สร้างชื่อเสียงเพลงแรก คือ เพลงชีวิตครูคำรณ สัมปุณณานนท์ ขับร้อง ได้รับความนิยมมาก บริษัทเห็นขายดี ขอให้แต่งเพลงเกี่ยวกับครุอีก จึงแต่งเพลงแม่พิมพ์ของชาติ ให้วงจันทร์ ไพโรจน์ ขับร้อง กลายเป็นเพลงอมตะมาจนปัจจุบัน มีเพลงดังๆ อีกเช่น มนต์การเมือง หวยใต้ดิน ฯลฯ
    เพลงประกอบการเรียน ส่งเสริมการเรียนการสอนก็แต่งไว้มากมาย นับเป็นคนแรกที่นำเพลงมาประกอบการเรียนการสอน เพลงประกอบกิจกรรมที่เป็นที่รู้จัก เช่น เพลงความเกรงใจ เพลงงานสิ่งใด เพลงตรงต่อเวลา ได้รับการยกย่องเป็น ราชาเพลงประกอบการเรียน
    ได้รับโล่เกียรติยศในงานกึ่งศตวรรษ ลูกทุ่ง จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. ๒๕๓๒
    เพลงแม่พิมพ์ของชาติ ครูสุเทพ โชคสกุล ไปพบวงจันทร์ ไพโรจน์
    เพื่อติดต่อให้ร้องเพลงนี้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
  • เพลง

ความคิดเห็น • 8

  • @richart2514
    @richart2514 5 หลายเดือนก่อน

    MV คิดถึงตอนเด็กเลย แบบนี้เปะๆ...

  • @donaldtruck5615
    @donaldtruck5615 2 ปีที่แล้ว

    😭

  • @user-zk6hz9sb6z
    @user-zk6hz9sb6z 4 หลายเดือนก่อน

    ที่จริงทุกคนก็มีครูกันทั้งนั้นน่าจะให้เป็นวันหยุดราชการเพื่อเชิดชูบูชาครูแล้วรัฐจัดกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของครูและประเทศชาติเพื่อคุณค่าความเป็นครูไทยตลอดไป

  • @pod1265
    @pod1265 หลายเดือนก่อน

    ที่ถูกน่าจะเป็นปี๒๕๐๑

  • @DrMod-wq3xl
    @DrMod-wq3xl ปีที่แล้ว

    เพลงสมัยก่อนความหมายดีมากๆค่ะ

  • @user-mp8cs5ki5z
    @user-mp8cs5ki5z ปีที่แล้ว

    ฟังประวัติผู้แต่งเพลงนี้คือคุณสุเทพ โชคสกุล บอกไว้ว่า เพลงแม่พิมพ์ของชาติ แต่งและโด่งดังในปี
    2501 แต่ในคลิปนี้บอกว่า
    พ.ศ.2493 อย่างไหนถูกแน่ครับ
    ถ้าดูตามประวัติคนแต่งเกิด พ.ศ.2470 ถ้าเพลงดัง 2493 ก็แสดงว่าคนแต่งอายุแค่23ปี น่าจะยังน้อยไป ถ้าดังปี พ.ศ.2501 คนแต่งอายุ31ปี
    น่าจะสมเหตุผลมากกว่า

    • @Sanitchannels
      @Sanitchannels  ปีที่แล้ว

      เพลง “แม่พิมพ์ของชาติ” เป็นเพลงไทยสากล (อมตะ) ที่สร้างชื่อเสียงให้กับวงจันทร์ ไพโรจน์ มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อเสียงในวงการศึกษาไทยและสถาบันครูทั่วประเทศ
      เพลง “แม่พิมพ์ของชาติ” เป็นผลงานการประพันธ์เนื้อร้องและทานองโดย ครูสุเทพ โชคสกุล ในปี พ.ศ. 2494 เป็นเพลงที่สร้างแรงบันดาลใจ เป็นกาลงัใจ และเป็นเพลงที่ยกย่องเชิดชูเกียรติครูทุกท่าน นับเป็นเพลงที่มีอิทธิพลและมีผลในเชิงจิตวิทยา ทาให้ผู้คนในยุคนั้นอยากจะเป็นครูหรือแม่พิมพ์ของชาติกันมากขึ้น เป็นเพลงที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับครูทุกท่านทั่วประเทศ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับวงการครูและทาให้อาชีพครูในสมัยนั้นได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติมากมาย เป็นเพลงประจาของวงการวิชาชีพครู กระทรวงศึกษาธิการมหาวิทยาลัยราชภัฏ และโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ

    • @Sanitchannels
      @Sanitchannels  ปีที่แล้ว

      skruart.skru.ac.th/2017/files/docs/45.pdf