ฟ้อนเต้ยหัวโนนตาล วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ก.ย. 2024
  • ฟ้อนเต้ยหัวโนนตาล เป็นการแสดงฟ้อนรำประกอบทำนองลำเต้ยหัวโนนตาล มีลักษณะเป็นการฟ้อนเกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างชายหญิงทางภาคอีสาน โดยได้แรงบันดาลใจจากวงหมอลำพื้นบ้านจาก อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งตัวหมอลำหนุ่มสาวหรือตัวพระเอก-นางเอก จะมีการการลำและฟ้อนเกี้ยวพาราสี มีการพูดผญา ลำภูไท หรือก็ร้องเพลงเป็นเต้ยเกี้ยวกัน เป็นต้น
    ดนตรีที่ใช้ในชุดการแสดง ฟ้อนเต้ยหัวโนนตาล จะใช้ทำนองเต้ยหัวโนนตาลดั้งเดิม ส่วนท่าฟ้อนและเนื้อร้อง อ.พรสวรรค์ พรดอนก่อ อาจารย์สอนนาฏศิลป์พื้นเมือง จากวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นใหม่ โดยอาศัยเค้าโครงการฟ้อนของหมอลำหมู่หรือหมอลำเรื่องต่อกลอน ส่วนเพลงเร็วท่อนสุดท้าย ได้นำเอาท่าฟ้อนของหมอลำเข้ามาผสมด้วย โดยได้ปรึกษา อ.ช่วง ดาเหลา และ อ.ทองเจริญ ดาเหลา หมอลำกลอนคู่

ความคิดเห็น • 3