ไม่สามารถเล่นวิดีโอนี้
ขออภัยในความไม่สะดวก

พระอาทิตย์ชิงดวง : ครูประเวช กุ​มุท​ ขับร้อง ปี่พาทย์ไม้แข็งกรมศิลปากร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 18 ส.ค. 2024
  • พระอาทิตย์ชิงดวง : ครูประเวช กุ​มุท​ ขับร้อง
    ปี่พาทย์ไม้แข็งกรมศิลปากร
    ขับร้อง : ครูประเวช กุ​มุท
    ปี่ใน : ครูเทียบ คง​ลา​ยทอง
    ระนาดเอก : ครูเผือด นักระนาด
    ฆ้องวงใหญ่ : ครูสอน วง​ฆ้อง
    เครื่องหนัง : ครูมิ ทรัพย์เย็น
    นักดนตรี​ท่าน​อื่น​ๆ​ : ยัง​ไม่ทราบ​ข้อมูล​แน่ชัด
    - พระอาทิตย์​ชิงดวง​ -
    เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้น พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้แต่งขึ้นสำหรับใช้เป็นเพลงลาให้กับวงปี่พาทย์ของสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นที่โปรดปรานมาก สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงให้ชื่อเพลงว่า “พระอาทิตย์ชิงดวง” ตามสร้อยราชทินนามและตราสุริยมณฑล ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่ง เพลงนี้มีความหมายใช้เชิงฝากรัก ฝากอาลัยลา.
    - ประวัติครูประเวช กุ​มุท​ -​
    ครูประเวช กุมุท เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ที่ตำบลคานหาม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อนายวง มารดาชื่อนางชุ่ม กุมุท อาชีพทำนา อาชีพรองคือ เล่นดนตรีไทย และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน บิดากับญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านรวมวงกันเล่นดนตรีไทย ตั้งแต่จำความได้ก็ได้ยินและได้เห็นเพลงไทยและวงเครื่องสายกันแล้ว ครูประเวช กุมุท มีนิสัยรักดนตรีมาตั้งแต่อายุยังน้อย
    เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ บิดาก็เริ่มหัดให้ตีขิม ตีกลองแขก และหัดขับร้องเพลง เมื่อมีโอกาสก็จะติดตามบิดาไปตามงานดนตรีต่างๆ อยู่ตลอดมา ทำหน้าที่ตีฉิ่งบ้าง ตีกลองบ้าง บิดาได้สอนให้ครูประเวช ขับร้องเพลง ๒ ชั้นง่ายๆ เพลงแรกที่ขับร้องได้ คือเพลงเชื้อ ๒ ชั้น นอกจากนี้ยังมีเพลงจระเข้หางยาว เพลงเขมรพระปทุม เพลงจีนขิมเล็ก นับได้ว่าครูดนตรีคนแรกของท่านก็คือบิดาของท่านเอง
    ด้านการศึกษา ครูประเวช กุมุท เริ่มการศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดคานหาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เรียนได้ระยะหนึ่ง บิดาได้พาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนดำเนินศึกษา ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร จนจบชั้นมัธยม ๑ จึงย้ายไปศึกษาต่อจนจบชั้นสูงสุดที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร) จากนั้น ครูประเวชก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมธรรมศาสตร์และการเมืองรุ่นที่ ๔ พ.ศ.๒๔๘๔ และจบการศึกษาในปี พ.ศ.๒๔๗๖ พอดีท่านถูกเกณฑ์ทหาร และประกอบกับมารดาเสียชีวิต ครูประเวชจึงต้องกลับบ้านที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ได้เรียนต่อในระดับปริญญา การศึกษาและความสามารถในด้านวิชาดนตรี ครูประเวช กุมุท ได้ชื่อว่าเป็นคนเรียนดนตรีได้ว่องไว มีความจำและฝีมือดีมาก มาตั้งแต่ยังเรียนชั้นประถมศึกษา มีความสามารถในการขับร้องทั้งเพลงไทยและเพลงพื้นบ้าน โดยช่วยงานดนตรีอาชีพในครอบครัวมาตลอด เมื่อเข้ามาเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากรแล้ว ความสามารถก็เด่นชัดเกินเพื่อนฝูงในรุ่นราวคราวเดียวกัน
    ครูประเวช เริ่มเรียนเครื่องสาย เรียนหน้าทับกลอง จังหวะต่างๆ เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี สามารถสีซอด้วงซออู้ และตีขิมได้ไพเราะ ความจำเป็นเลิศ เมื่อเข้ามาเรียนที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์ กรมศิลปากร อายุได้ ๑๔ ปีก็ได้รับการขัดเกลาให้ดียิ่งขึ้น โดยมีครูมี พูลเจริญ และครูโสภณ ซื่อต่อชาติ เป็นผู้สอน
    ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ก็ได้เรียนชั้นสูงขึ้นอีกกับครูปลั่ง วนเขจร ซึ่งเป็นครูเครื่องสายมือเอกของกรมมหรสพ มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เรียนจะเข้กับครูละเมียด จิตตเสวี (นางสนิท บรรเลงการ) จะเข้มือเอกของกรมศิลปากร ที่นับขึ้นไปหาครูได้สูงสำหรับนักดนตรีไทยรุ่นหนุ่มระยะนั้นก็คือ ได้เรียนซอสามสายกับครูอนันต์ ดูรยะชีวิน บุตรชายมือเอกของท่านครูหลวงไพเราะเสียงซอ จนเมื่ออายุได้ ๑๙ ปี ท่านครูหลวงไพเราะเสียงซอจึงได้ยอมสอนให้ตัวต่อตัว จนได้เพลงเดี่ยวนานาชนิด ครูประเวชมิได้หยุดเพียงเท่านั้น แต่ท่านยังได้เรียนปี่พาทย์จนสามารถบรรเลงได้รอบวง จนแม้แต่เครื่องเป่าก็ปฏิบัติได้ นอกจากนั้น ครูประเวชยังมีกระแสเสียงที่ไพเราะ เป็นนักร้อง ขับเสภา อ่านทำนองเสนาะได้ยอดเยี่ยม โดยเป็นศิษย์ครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ และครูแช่มช้อย ดุริยพันธุ์ ซึ่งทั้ง ๒ ท่านเป็นศิษย์ของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) และเป็นนักร้องต้นแบบคนสำคัญของกรมศิลปากรทั้ง ๒ ท่าน
    ครั้นเมื่อครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ครูประเวชก็เข้าแทนที่เป็นนักร้องของกรมศิลปากรได้ทันที จนสมัยเมื่อนายธนิต อยู่โพธิ์ เป็นอธิบดีกรมศิลปากร ครูประเวชได้ทำหน้าที่เป็นนักร้อง ร้องเพลงอัดแผ่นเสียงให้แก่กรมศิลปากรมากมายหลายเพลง เป็นแผ่นเสียงอมตะมาจนทุกวันนี้ ครูประเวชเป็นผู้รู้วรรณคดีอย่างเจนจบ นอกจากจะร้องเพลงได้ดีทุกรูปแบบแล้ว ยังสามารถแต่งบทละครได้งดงาม ถูกต้องตามหลังวิชานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์อีกด้วย และนอกจากการขับร้องและบรรเลงแล้ว ท่านยังสามารถปรับวงดนตรีได้ยอดเยี่ยมอีกด้วย
    ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ ครูประเวช กุมุท เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)
    ครูประเวชได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อเวลา ๐๖.๓๐ น. ของวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๒ สิริอายุรวม ๗๖ ปี.
    (ที่มาประวัติ ครูประเวช กุ​มุท​ : อาจารย์อานันท์​ นาค​คง,
    ที่มาประวัติเพลง พระอาทิตย์ชิงดวง : เวปไซด์​ Sil-pa mag)​
    ที่มาภาพถ่าย : คุณกนกพันธุ์​ กุมุท
    อนุเคราะห์​เทป​คาสเซ็ท​ : ผศ.อู่ทอง​ ประศาสน์​วินิจฉัย​
    สำเนาเสียงจากเทปคาส​เซ็ท​ : ฉ​ั​ต​รกร​ เกตุ​มี
    เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์​เพลงไทย​ใน​การศึกษา​ มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และแสวงหารายได้
    ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ : / @deklenkhimchannel7019

ความคิดเห็น • 2

  • @somchithamathappa9906
    @somchithamathappa9906 หลายเดือนก่อน

    ผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบเสียงครูประเวช

  • @arm8059
    @arm8059 3 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณครับที่เผยแพร่งานของครูประเวช