กลุ่มที่ 7 เครื่องเขินแบบโบราณ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ก.ย. 2024
  • ปัญหา - อุปสรรคในการผลิต
    จากกระบวนการผลิตและรับฟังปัญหาร่วมกับ ครูดวงกมล ใจคำปัน นั้นพบว่ากระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม (ขั้นตอนการจักตอก) ที่ทำด้วยมือ ส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการผลิตชิ้นงานเป็นอย่างมาก โดยการจักตอกด้วยมือจะทำให้คุณภาพของวัตถุดิบ (เส้นตอกไม้ไผ่) ที่ออกมามีขนาดและสัดส่วนที่ไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งทำให้เกิดของเสียจากการผลิตเป็นครั้งคราว ประกอบกับกระบวนการผลิตเส้นตอกที่สามารถทำได้ทีละเส้นและปัญหาทางด้านสุขภาพ (อายุ) จึงส่งผลให้กลุ่มสมาชิกฯ ต้องใช้ระยะเวลาและแรงงานเป็นอย่างสูง ตลอดจนทำให้การผลิตชิ้นงานเกิดความล่าช้าและทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อย
    กระบวนการพัฒนาและเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้
    ทีมพัฒนาได้มีแนวคิดที่จะพัฒนา “เครื่องซอยตอก” ขึ้นมาทดแทนการทำงานแบบเก่า มีลักษณะการทำงานคล้ายเครื่องบด (ขับเคลื่อนด้วยแรงหมุนจากมือ) โดยตัวเครื่องจะแบ่งออกเป็น 2 หัวด้วยกัน คือ หัวจักตอก ที่ทำหน้าที่ตัดชิ้นส่วนไม้ไผ่ให้ออกมามีขนาดเท่ากัน และ หัวแบ่งตอก ที่ทำหน้าที่แบ่งเส้นตอกให้ออกเป็นเส้นเล็ก ๆ อีกชั้นหนึ่ง และจัดทำแผ่นเหล็ก (Bracket) ที่เจาะรูขนาด 1 mm. เพื่อให้เส้นตอกไม้ไผ่
    มีขนาดเล็กลงตามที่กลุ่มสมาชิกฯ ต้องการ พร้อมตัวยึดที่ติดกับฐานโครงเหล็ก เพื่อความมั่นคงต่อการใช้งาน ทั้งนี้เครื่องมือ/อุปกรณ์ดังกล่าว จะช่วยให้กลุ่มสมาชิกฯ สามารถผลิต “เส้นตอกไม้ไผ่” ได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยลดระยะเวลา ลดแรงงาน ลดของเสีย และเพิ่มปริมาณการผลิตได้มากขึ้นกว่าเดิม ตลอดจนช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ (อายุของผู้ปฏิบัติงาน) จากการตัด/แบ่งเส้นตอกไม้ไผ่ด้วยมืออย่างที่ผ่านมา

ความคิดเห็น •