ความล้มเหลวเลื่อยชัก มากกว่าแค่คำว่าพัง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 ก.ย. 2022
  • บทวิเคราะห์ความล้มเหลวของเลื่อยชักตัวหนึ่ง
    เมื่อการออกแบบเน้นกำลังแรง แต่ข้ามเรื่องความทนทาน ทำให้อายุสินค้าสั้นลง
    เดือยขับแกนชักเป็นจุดที่รับแรงสูงที่สุดในเลื่อยชัก
    แต่ทำไม เลื่อยชักตัวนี้ ใช้ขนาดของเดือยเล็กกว่าที่ผู้ผลิตคนอื่นทำกัน?
    ทั้งๆ ที่มอเตอร์แรงกว่า และโฆษณาว่าใช้ทำงานหนักกว่าได้
    เดือยก็ยิ่งสมควรจะต้องยิ่งใหญ่ยิ่งแข็งแรงไม่ใช่หรือ?
    ลองไปดูเหตผล รายละเอียดที่ทำให้เกิดความล้มเหลวครั้งนี้
    รวมถึงวิธีการแก้ไข การป้องกันปัญหา
    ขยายความ
    ชื้นงานที่รับแรงแบบสุ่มเช่นเดือยขับแกนชัก (หมุนเปลี่ยนไปรอบ สุ่มทิศทาง สุ่มปริมาณแรง)
    จะเสี่ยงต่อความล้มเหลวต่อความล้า (fatigue failure)
    การล้มเหลวจากความล้านั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าคุณสมบัติสูงสุดของวัสดุมาก (คิดซะว่าวัสดุจะใช้ได้แค่ประมาณ 70%)
    เพราะงั้นในการออกแบบจึงต้องใช้ขนาดและคุณสมบัติวัสดุที่เหลือเผื่อเอาไว้ชดเชยกับสภาพมากๆ
    ต้องใช้วัสดุให้เกินงานปกติ 150+%
    แต่ถ้าหากว่าให้วัสดุมาไม่พองานล่ะ? จะเกิดอะไรขึ้น แล้วความเสียหายที่ตามมา
    เพิ่มเติม
    หากจะดัดแปลงเพิ่มขนาดเดือยขับแกนชัก จะมีปัญหาตามมา
    -ปลอกลูกกลิ้งจะบางลง หรือ ถ้ารักษาความหนาไว้ ก็จะเพิ่มขนาดของลูกกลิ้งมาก
    -ลูกกลิ้งกว้าง = หูแกนชักกว้าง = อ่อนแอกว่า และเสี่ยงเบียดเสื้อห้องเกียร์
    -แต่แค่ตอนนี้ก็ต้องตัดขอบหูหลบอยู่แล้ว = ไม่มีที่ให้ไปต่อแล้ว
    สรุปอีกทางคือ ก็อาจจะโดนบังคับตัวแปรการออกแบบมาจากขนาดรอบข้างด้วย ที่ทำให้แกนต้องเล็กแบบนี้
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น •