ปุริสคติ๗

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 11 พ.ย. 2024
  • ปุริสคติ๗
    บุคคลผู้ได้สดับธรรมก่อนทำกาละมีโอกาสปรินิพพานใน ๗ แบบเพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำ๕ ย่อมเป็นอนาคามี
    คติที่ไปคือ ปุริสคติ๗
    ๖ คติแรกคือปรินิพพาน
    คติที่ ๗ คืออุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
    ผู้ได้ภพใหม่ไปเกิดในชั้นสุทธาวาสเพื่อรอปรินิพพาน
    ในคติที่ไปทั้ง ๗นั้น แบ่งการปรินิพพานตามอินทรีย์ที่แก่กล้าแตกต่างกัน
    พระพุทธเจ้าทรงอุปมาการปรินิพพานกับสะเก็ดไฟที่ยังไม่กระทบพื้นเป็นการปรินิพพานในระหว่างกายแตกทำลายแต่ยังไม่ได้ภพใหม่คือ
    ๑-๒-๓ อันตราปรินิพพายี
    เป็นผู้ปรินิพพานในระหว่างกายแตกทำลายแต่ยังไม่ได้ภพ สะเก็ดไฟยังไม่ตกถึงพื้นก็ปรินิพพาน
    ๔. พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เมื่อสะเก็ดไฟตกถึงพื้นแล้วจึงปรินิพพาน
    เป็นการปรินิพพานหลังจากกายแตกทำลายแล้วได้ภพใหม่แล้วดับภพ จึงปรินิพพาน
    ๕. พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
    (ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนักเป็นผู้ได้ฌาน๑-๔ แล้วดับภพ จึงปรินิพพาน )
    ๖. พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
    (ผู้ปรินิพพานหลังกายแตกทำลาย โดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงมาก )
    ๗. พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
    (หลังกายแตกทำลาย เป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพเพื่อรอปรินิพพาน)
    ส่วนอนุปาทาปรินิพพาน.คืออริยบุคคลผู้ละสังโยชน์ทั้ง๑๐
    ย่อมพิจารณาเห็นบท อันสงบระงับ อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
    (บทอันสงบระงับ คือ นิพพาน)
    เชิญรับฟัง 2 คลิปจาก พอจ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
    fb.watch/hF3V-...
    นาทีที่ 41.11 ปุริสคติ7 ผังอนาคามี
    • ธรรม พุทธวจน คำสอนจาก ...
    ฟังคลิปจากพอจ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
    การปรินิพพาน ๗ แบบ(ของอริยบุคคลผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ )
    อุปปมาช่างตีเหล็ก
    -บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๑/๕๒.
    ๒. ปุริสคติสูตร
    ว่าด้วยคติของบุรุษ( คติ=ญาณคติ)
    ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปุริสคติ ๗ ประการ และ อนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลาย จงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
    ภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการ เป็นอย่างไร คือ
    (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม ในอดีต ไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน ไม่มีไซร้ อัตภาพใน อนาคต ก็จักไม่มีแก่เรา
    เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
    เธอย่อมไม่กำหนัด ในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์ อันเป็นอนาคต
    ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง ซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญา อันชอบ
    ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้ โดยอาการ ทั้งปวง
    อนุสัยคือ มานะ อนุสัยคือ ภวราคะ อนุสัยคือ อวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
    เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ภิกษุนั้นย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี
    เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
    ที่ถูกเผา อยู่ตลอดวัน
    สะเก็ดร่อนออก แล้วดับไป
    (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา นิพฺพาเยยฺย) ฉะนั้น.1
    (1. อุปมานี้ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงไม่ได้ใส่ไว้ แต่มีมาโดยภาษาบาลี จึงได้เทียบเคียงสำนวนแปลมาจากพระไตรปิฎกฉบับอื่น. -ผู้รวบรวม)
    (๒) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง ซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือ มานะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่น เหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปแล้วก็ดับ
    (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา นิพฺพาเยยฺย) ฉะนั้น.
    (๓) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปตกยังไม่ถึง พื้นก็ดับ (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา อนุปหจฺจตลํนิพฺพาเยยฺย) ฉะนั้น.
    (๔) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปตกถึงพื้นแล้วก็ดับ (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา อุปหจฺจตลํนิพฺพาเยยฺย) ฉะนั้น.
    (๕) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผา อยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้น ย่อมให้ไฟ และควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันเผา กองหญ้า หรือกองไม้เล็กๆ นั้นให้หมดไปจนไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.
    (๖) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เขื่องๆ สะเก็ดนั้นย่อมให้เกิดไฟ และควันที่กองหญ้า หรือกองไม้เขื่องๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟ และควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกองไม้เขื่องๆ นั้นให้หมดไป จนไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.
    (๗)ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ)
    • ธรรม พุทธวจน คำสอนจาก ...
    ฟังคลิปจากพอจ. คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

ความคิดเห็น •