Rise Up The People: "คนอยู่ได้ นกอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน"

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 ก.ย. 2024
  • Rise Up The People: "คนอยู่ได้ นกอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน"
    เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2566 ณ โรงเรียนบ้านราวปลา หมู่บ้านที่อยู่บนพื้นที่เขตป่าสงวน ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดพัทลุง ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปัจจุบันบ้านราวปลา เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองของตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
    เรื่อง ข้อเสนอแนวทางผลักดันการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ดินและธรรมชาติจังหวัดสตูลอย่างยั่งยืนในงาน “เวทีเสวนา คนอยู่ได้ นกอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน”
    เนื่องจากที่ผ่านมากระบวนการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาที่ดิน จังหวัดสตูล ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการร่วมกัน อันจะก่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)
    แต่ทั้งนี้พี่น้องประชาชนที่มีปัญหาข้อพิพาทกรณีที่ดินกับภาครัฐซึ่งแทบทุกครั้งจะไม่เคยมีข้อยุติของปัญหาอย่างมีความชอบธรรม ส่วนมากมักจะมีความเหลื่อมล้ำตั้งแต่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ์จนเสร็จสิ้นขั้นตอนอยู่เสมอ ในที่นี้ให้รวมถึงกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์มานิที่อาศัยอยู่ในที่ดินผืนป่าเขตแนวเทือกเขาบรรทัดและรอยต่อของอาณาเขตจังหวัดร่วมด้วย
    ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่สามารถแก้ไขปัญหาที่ดินให้เกิดความชอบธรรมบนหลักการความถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
    จึงเห็นว่าข้อเสนอผลักดันฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือในการร่วมกันดำเนินการตามเจตนารมณ์ด้วยการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ดินและธรรมชาติจังหวัดสตูลอย่างยั่งยืนในงาน “เวทีเสวนา คนอยู่ได้ นกอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน” ดังนี้
    ข้อ 1. ผลักดันให้มี “การจัดทำข้อมูลที่ดินกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง” เพราะที่ผ่านมาการนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงมักนำเสนออย่างไม่รอบด้าน ส่งผลถึงการพิจารณารายละเอียดขาดความครอบคลุมและยอมรับกันทุกฝ่าย ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
    ข้อ 2. ผลักดันให้มี “คณะทำงานและติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินระดับจังหวัด” เป็นการบูรณาการการทำงานในระดับปฏิบัติการในระดับจังหวัด เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาและทางออกอย่างมีส่วนร่วมกับทุกระดับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัด
    ข้อ 3. ผลักดันให้มี “กองทุนพัฒนาที่ดินเพื่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดิน จังหวัดสตูล” ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนร่วมกันจัดตั้ง เพื่อใช้สนับสนุนในกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินจังหวัดสตูลอย่างยั่งยืนกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
    ข้อ 4. ผลักดันให้มี “กลไกกลางการมีส่วนร่วม” ซึ่งให้มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นฐานในการขับเคลื่อนกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ในปัญหาที่ดิน
    ข้อ 5. ผลักดันให้มี “การรับรองและสร้างพื้นที่ปลอดภัยภาคเกษตรพืชผล” โดยให้มีสิทธิในที่ดินทำกินอย่างปกติจนกว่าจะดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินเสร็จสิ้น
    ข้อ 6. ผลักดันให้มี “การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นต่อการจัดสรรงบประมาณและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างจริงจัง” ไม่ลดทอนบทบาทเจตนารมณ์การอนุรักษ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระดับภูมิภาค
    ข้อ 7. ผลักดันให้มี “วาระประชาชนว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์ทั้งในและนอกเขตอนุรักษ์” ที่บริหารจัดการโดยประชาชนสู่กระบวนการทางอำนาจโดยชอบธรรม
    พบกับผู้ร่วมเสวนา
    1 นายนิยม ทองเหมือน ผู้จัดการโครงการสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
    2 นายนิธิป คงทอง ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค
    3 นายบุญ แซ่จุง ผู้ประสานงานงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด
    4 นายจรูญ ปราบปรี เครือข่ายสิทธิพลเมืองพัฒนาคุณภาพชีวิต
    5 นายแมว ศรีปะเหลียน ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์มานิ
    6 นายอำไพฤทธิ์ เทียนยี่ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า
    7 นางกันยา ปั้นกิตติ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเขาบรรทัด
    ดำเนินรายการโดย พิเชษฐ์ เบญจมาศ
    จัดโดย เครือข่ายสิทธิพลเมืองพัฒนาคุณภาพชีวิต และภาคีความร่วมมือ
    #คนอยู่ได้นกอยู่ได้ธรรมชาติยั่งยืน #RiseUpThePeople #ถนนส่วนบุคคล

ความคิดเห็น •