อะไรง่า ซีซันสอง - EP.32 Transphobia เป็นได้ไม่รู้ตัว

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 ม.ค. 2024
  • คนข้ามเพศมีอยู่จริง และหลายครั้งเราก็อาจอคติโดยไม่รู้ตัว
    อคติยังไง ไปฟังคำตอบในคลิปกันเลยฮะ
    .
    ถ้าฟังแล้วรู้สึกเอ๊ะ นี่เราเผลออคติหรอเนี่ย อย่าเพิ่งตกใจไปนะ
    เพราะโฮสต์ทั้งคู่ก็มีหลุดไปบ้างเหมือนกัน แค่อยากมาสะกิดให้เราเอ๊ะขึ้น
    .
    #อะไรง่า #unalogvideo #transphobia #transgender
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 4

  • @babyg.4207
    @babyg.4207 4 หลายเดือนก่อน

    ช่วงหลังๆคำว่า Transphobia เป็นคำที่เราเห็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆนะคะ แต่บางครั้งก็เหมือนว่าเป็นคำตีตราคนที่เห็นต่างขึ้นมาซะอย่างงั้น คือบางคนที่ต่อต้านด้วยความรุนแรง อันนี้เราก็ไม่เห็นด้วยนะคะ แต่ถ้าเป็นแค่คนที่เห็นต่างบางจุดแล้วโดนเหมาเราว่าเป็น Transphobia หมด อันนี้เราก็ไม่โอเค อย่างเช่นเรื่องการแข่งกีฬา เราเห็นว่าไม่ควรให้trans มาแข่งกับผู้หญิง คือถึงtransจะบอกว่าจิตใจเป็นผู้หญิงแต่ร่างกายมันไม่ได้เปลี่ยนตามไปทั้งหมดไง สิทธิของ trans ในการอยากแข่งกีฬา ก็ไม่ควรเบียดเบียนสิทธิของผู้หญิงด้วย ไม่อย่างนั้นเราก็คงไม่ต้องแยกกีฬาชายหญิง แข่งรวมกันไปหมดเลยถ้าเราไม่ได้เห็นว่าสภาพร่างกายมันมีผลกับการแข่งกีฬา อีกประเด็นที่เห็นเป็นปัญหาที่อเมริกาอยู่ก็คือ คำว่า trans เริ่มนับตอนไหน ตอนผ่าตัดแล้ว ตอนtakeฮอร์โมน หรือตอนที่ใจเริ่มอยากจะเป็นเพศนั้น เพราะมีประเด็นคนคนนึงบอกว่าตัวเองเป็นtrans แล้วอยากจะใช้ห้องน้ำfitness รวมกับผู้หญิง แล้วถ้าเกิดคนนั้นเป็นผู้ชายล่ะ จะเป็นอันตรายกับผู้หญิงไหม

    • @unalogco
      @unalogco  4 หลายเดือนก่อน +1

      สำหรับรายการอะไรง่า สนับสนุนให้ทั้งประเด็น trans ในการแข่งกีฬา และเส้นแบ่งว่าแค่ไหนถึงนับเป็น trans ถูกพูดถึงค่ะ
      อย่างประเด็นแข่งกีฬา จุดแย้งที่ห้าม trans แข่ง เป็นเรื่องของการที่ต่อให้ผ่าตัดแปลงเพศ เทคฮอร์โมนแล้ว และมีผลรับรองว่ากายภาพของ trans ไม่สามารถเทียบกับ cisgender ได้ เช่น transwoman ไม่ได้แข็งแรงเทียบเท่า cis-man ก็ยังมีบางส่วนออกมาแย้งในเรื่องความยาวกระดูก ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ทำให้เป็นจุดได้เปรียบกว่า cis-woman ในการแข่งขันอยู่ดี เลยเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมพอจุดต่างของนักกีฬาคือ cis vs. trans จึงสามารถหยิบมาเป็นกฎห้ามแข่งได้ ทั้งที่ปัจจัยทางสรีระที่ทำให้เกิดการเสียเปรียบ ได้เปรียบอย่างเชื้อชาติ (เอเชีย vs. ยุโรป) กลับถูกปล่อยผ่านค่ะ
      ไม่แปลกที่พอพูดประเด็นนี้เลยมีการมองว่า ผลดังกล่าว อาจมาจากเหตุคือ อคติแห่งเพศ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต้องถกเถียงกันต่อไปค่ะ
      ส่วนเรื่องเส้นแบ่ง เราคิดว่ามันยากมากที่จะสรุปว่าควรแบ่งจากตรงไหน เพราะขึ้นอยู่กับว่า เราสมาทานแนวคิดไหนในการแบ่งด้วย และส่วนตัวก็คิดว่าการแบ่งจากความคิดว่าเป็นเพศอะไร โดยไม่มีสิ่งอื่นตามมา เช่น การเทคฮอร์โมน หรือการแปลงเพศ แม้จะแค่บางส่วน สุ่มเสี่ยงต่อการแอบอ้าง และนำไปสู่อาชญากรรมได้ค่ะ
      ยังไงก็ตาม ดีใจมากๆ เลยค่ะ ที่คุณ babyg4207 มาคอมเมนต์ เพราะอย่างน้อยเราก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันค่ะ :-)

    • @babyg.4207
      @babyg.4207 4 หลายเดือนก่อน

      @@unalogco ดีใจที่ได้พูดคุยกันเช่นกันค่ะ
      เรื่องการแข่งกีฬา ถ้ามองตรงๆว่า งั้นแยกไปแข่งเฉพาะของtransไหม เพราะวิธีนี้ก็อาจจะถือว่าลักษณะร่างกายมีความใกล้เคียงกัน น่าจะไม่เป็นการเสียปเรียบได้เปรียบกัน แต่ก็อาจจะถูกมองว่าเป็นการกีดกัน หรือถึงขั้นเหยียดเพศ ซึ่งก็จะเป็นประเด็นsensitiveอีก ส่วนเรื่องเชื้อชาติ ประเด็นนี้ก็น่าสนใจค่ะ แต่ก็แต่ละประเทศและแต่ละทวีปก็มีการแข่งแยกกันของตัวเองอยู่แล้ว และเราคิดว่าเป็นความต้องการของนักกีฬาที่จะมาแข่งรวมกันทุกประเทศ ก็เลยอาจจะไม่ได้ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็น แต่กลับมาที่เรื่องเพศ เราคิดว่านักกีฬาผู้หญิงอาจจะไม่ได้มีความต้องการที่จะแข่งรวมกับtransค่ะ แต่ไม่ใช่เพราะเหยียดหรือphobiaนะ แต่เพราะความแต่งต่างด้านร่างกาย ที่มันค่อนข้างชัดเจน หรืออาจจะต้องทำแบบสอบถามเพื่อดูว่านักกีฬาคิดกันยังไงค่ะ เพราะเราก็เหมือนเป็นคนนอกที่ไปคิดแทนเค้าเนอะ ว่าเค้าน่าจะโอเคหรือไม่โอเค😅
      เรื่องเส้นแบ่งยากจริงๆค่ะ แล้วยิ่งยากขึ้นเมื่อคนที่ไม่ใช่ trans อยากจะพูดเรื่องนี้ เช่น อย่างกรณีตัวอย่างที่ยกไป ว่ามีคนอยากใช้ห้องน้ำหญิง แต่ภายนอกเค้าอาจจะดูเป็นผู้ชายสมมตินะคะ แล้วเจ้าหน้าที่ของสถานที่นั้นๆจะมีวิธีการไหนในการยืนยันสถานะ เพื่อปกป้องความปลอดภัยของผู้หญิงและไม่เป็นการทำให้transรู้สึกว่าโดนเหยียดเพศ หรือเจ้าหน้าที่เป็น transphobiaล่ะสิ
      นี่ล่ะค่ะ ส่วนตัวเราเลยคิดว่า คำว่า transphobia บางครั้งก็อาจจะถูกนำมาใช้ แค่เพราะบางคนอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับบางอย่างที่transต้องการค่ะ

    • @unalogco
      @unalogco  4 หลายเดือนก่อน

      คิดเหมือนกันค่ะ ว่าอาจจะต้องตั้งกฎจากคนที่ได้รับผลกระทบก่อน เช่นเซอร์เวย์แบบไม่เปิดเผยรายชื่อจากนักกีฬา cisgender ว่าคิดยังไงกับการแข่งร่วมกับtrans ที่สำคัญจุดยากน่าจะเป็นการออกแบบแบบสอบถามนี่แหละค่ะ และทางออกอาจทำได้ดีที่สุดคือแยกลีคระหว่าง cis กับ trans ที่ก็อาจทำให้รู้สึกแปลกแยกได้ แต่ก็อาจจะดีกว่าการที่ trans ไม่ได้สามารถเป็นนักกีฬาอาชีพได้ เพราะปัจจัยเดียวคือเป็น trans
      สุดท้ายเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจริงๆ ค่ะ อาจจะต้องเน้นเป็นตัวเองสังเกตตัวเองว่าเผลอแสดงออกอะไรที่มันเข้าข่าย transphobia มั้ย และเน้นกระจายความรู้ มากกว่าชี้บอกว่าใครเป็นทรานส์โฟบฯ ค่ะ เพื่อป้องกันกรณีแปะป้าย
      ยกเว้นกรณีที่เป็นคนดังมากๆ อันนี้เราเห็นด้วยนะคะ ที่จะพูดเตือนอย่างตรงไปตรงมา เพราะมันไม่ใช่คนทั่วไปคิด แต่มันส่งอิทธิพลถึงคนอื่นด้วยค่ะ