Space Debris ปัญหาขยะอวกาศ คุกขังมนุษย์โลก

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 ก.ค. 2024
  • สั่งซื้อ Omega-3 Norway Daily ได้ที่ klarity.asia/curiosity-13
    ติดตามเราที่ facebook : / curiositychannelth
    Blockdit : www.blockdit.com/curiositycha...
    Tiktok : / curiositychannelth
    instagram ชีวิตส่วนตัว : / ekarajpkk
    ติดต่องาน : curiositychannel.th@gmail.com
    -------------------------------------
    ทุกครั้งที่มนุษย์เดินทางออกนอกอวกาศ เราจะทิ้งขยะไว้เบื้องหลังเสมอ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนถังเชื้อเพลิงที่แยกตัวออกมา เศษน๊อต เศษโลหะ เศษชิ้นส่วนยานอวกาศต่างๆ ที่แตกกระจาย จากยานอวกาศ กากเชื้อเพลิง ของเสียต่างๆ หรือแม้แต่ซากดาวเทียมที่ปลดประจำการแล้ว เราก็ปล่อยให้มันล่องลอยอยู่อย่างนั้น เราเรียกวัตถุพวกนี้ว่า ขยะอวกาศ Space Junk หรือ Space debris
    ตั้งแต่ปี 1957 ที่เราส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นไปบนอวกาศ อวกาศรอบโลกของเราก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ขยะอวกาศเราเพิ่มขึ้นทุกวันๆ จนปัจจุบัน มันก็แทบจะล้อมรอบโลกเราไปหมดแล้ว แต่ของจริงมันไม่ได้ใหญ่แบบในรูปนะ ขยะอวกาศหลายชิ้นก็มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร
    ยิ่งเราส่งวัตถุออกนอกออกไปนอกอวกาศเท่าไหร่ เราก็ยิ่งสร้างขยะอวกาศมากขึ้นเท่านั้น จากกราฟ เราจะเห็นว่า เราส่งวัตถุออกไปนอกอวกาศเยอะแบบก้าวกระโดดเลน ในช่วงปี 2020 เป็นต้นมา โดยในปี 2023 เราปล่อยวัตถุออกนอกอวกาศมากถึง 2,664 ชิ้น เลยทีเดียว
    ศาสตราจารย์ มอริบา จาห์ วิศวกรการบินและอวกาศจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสและคณะ ได้จัดทำแผนที่ขยะอวกาศที่เรียกว่า AstriaGraph เพื่อเฝ้าติดตามวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดในอวกาศ เราพบว่า ขยะอวกาศที่ใหญ่กว่า 10 cm มีประมาณ 3 หมื่นชิ้น ขยะอวกาศที่มีขาด 1-10 cm ประมาณ 2 แสนชิ้น และขยะอวกาศที่มีขนาดเล็กกว่า 1 cm อีกมากกว่า 100 ล้านชิ้น
    ศาสตราจารย์ มอริบา ได้ติดตามพฤติกรรมของขยะอวกาศเหล่านี้ และพบว่า ขยะอวกาศมักจะโคจรมาชนกันเอง แล้วขยะอวกาศขนาดใหญ่ก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กๆ เพิ่มจำนวนขยะอวกาศขนาดเล็กมากขึ้นไปอีก
    แต่นี่ก็ไม่ใช่สาเหตุเดียว ที่ทำให้ขยะอวกาศเพิ่มขึ้นนะครับ และขยะอวกาศที่เพิ่มจำนวนอย่างหยุดไม่ได้นี้ ก็จะเป็นคุก คุมขังพวกเรา ให้ติดอยู่บนโลกตลอดกาล
    ในปี 1978 Donald J. Kessler นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่า ได้เสนอแนวคิดของปรากกฎการที่เรียกว่า Kessler Syndrome หรือบางที่ก็เรียกว่า Kessler Event
    แนวคิดของปรากกฎการณ์นี้ก็คือ ตอนแรก จำนวนขยะอวกาศอาจยังไม่เยอะมาก การชนกันจะเกิดขึ้นน้อย แต่เมื่อขยะอวกาศ 2 ชิ้นชนกัน มันจะแตกกระจายเป็นขยะอวกาศหลายชิ้น แล้วขยะอวกาศที่เพิ่มมา ก็จะมีโอกาสไปชนกับวัตถุอวกาสอื่นๆ เพิ่มอีก เพิ่มจำนวนขยะอวกาศขึ้นอีกเป็นทวีคูณ จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 กลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ เพิ่มจำนวนขยะอวกาศไปเรื่อยๆ เพิ่มโอกาสการชนกับวัตถุอื่นๆ มากขึ้น
    จนในที่สุด มันจะเป็น ปฏิกิริยาลูกโซ่ ที่หยุดไม่ได้ หรือก้าวผ่าน Point of no return ไม่ว่ามนุษย์จะพยามหยุดมันแค่ไหนก็ทำไม่ได้แล้ว แล้วปรากฏการณ์นี้ จะทำลายวัตถุทุกอย่างที่โคจรอยู่ใน Low Eart Orbit ในที่สุด

ความคิดเห็น • 101

  • @user-wm2gj9lq3h
    @user-wm2gj9lq3h 14 วันที่ผ่านมา +41

    นานาชาติต้องหนุนไทย ให้ส่ง มนุษย์ลุงอวกาศกับซาเล้งไทเทเนี่ยมทนความร้อนทนแรงเสียดทานสูง ขึ้นไปเก็บลงมารีไซเคิล

  • @lordseyren5454
    @lordseyren5454 14 วันที่ผ่านมา +12

    ขยะอวกาศความเร็ว 10-20 กม./วินาที กระสุน 5.56x45 นาโต้ ~ 600 เมตร/วินาที (.338 ลาปัว กระสุนซุ่มยิงที่มีความเร็วสูงๆ ก็ยังแค่ 1000 เมตร/วินาที นิดๆ เองครับ) สเกลความเสียหายเลยเยอะมากๆเวลาชนกันแต่ละครั้ง

  • @user-hj7gh2ut4i
    @user-hj7gh2ut4i 14 วันที่ผ่านมา +7

    บางทีความรู้ก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป สมัยก่อนมนุษย์ไม่มีความรู้ไม่มีเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเลยคลองแสนแสบ ย้อนกลับไปเมื่อร้อยกว่าปีมันไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้นแม้แต่ท่อระบายน้ำ ทุกคนก็ใช้ชีวิตอยู่กับน้ำที่ใสสะอาด หลังจากการปฏิวัติ เทคโนโลยีด้านเครื่องยนต์ขึ้นมา มีการประปา หลังจากนั้นมันก็เน่าเสีย เพาะการระบายน้ำที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ และสิ่งปฏิกูลที่หลงเหลือจาก เครื่องยนต์ไม่ว่าจะเป็นเรือ หรือเครื่องจักรต่างๆ เช่นเดียวกับท้องทะเล ที่สมัยก่อนมีเรือเดินสมุทรลำใหญ่ๆ แต่ก็ใช้ลมจากธรรมชาติ ทะเลก็ไม่ได้สกปรกและน่ากลัวขนาดทุกวันนี้ แม้แต่ใต้ดิน ก็ถูกทำลาย ด้วยความฉลาด จากการขุดด้วยเครื่องยนต์โลหะหนักเพื่อเอาแร่ มาแปรรูปใช้ ขุดเพชรขุดทองเป็นเหมือง เช่นเดียวกับอวกาศ ก่อนหน้าที่มนุษย์จะปฏิวัติเรื่องอวกาศ ก่อนหน้าที่นามสกุลนี้จะขึ้นไปบนอวกาศ มันไม่น่าจะมีขยะอวกาศเลยแม้แต่สักชิ้นเดียว แต่หลังจากนั้น เมื่อมีการพัฒนาทางความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับอวกาศ มันก็เป็นอย่างที่คลิปนี้ได้อธิบาย สรุปแล้วความฉลาดมันไม่เกิดประโยชน์กับโลกเลยสักนิด หรือแม้ความฉลาดของอัลเบิร์ตไอน์สไตน์ที่สามารถสร้างนิวเคลียร์ พัฒนาจนมนุษย์ตายทีเดียวนับแสนคน นั่นก็คือความฉลาดเช่นกัน ทุกสิ่งทุกอย่างถ้าไม่สามารถควบคุมได้ด้วยจริยธรรมและความพอดี มันจะพังพินาศหมด ดีแล้วที่มนุษย์เตรียมหาดาวดวงต่อไปที่จะไปทำลายต่อ ขนาดจะไปดาวอังคารครั้งหนึ่งยังเคยมีนโยบายที่จะยิงนิวเคลียร์ไปใส่ ทั้งๆที่ยังไม่ได้ไปอยู่เลยจะทำลายแล้ว มนุษย์เกิดมาเพื่อทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มันดีอยู่แล้วหลังจากใช้งานจนคุ้มค่า

  • @ChopzEye
    @ChopzEye 14 วันที่ผ่านมา +8

    ลาก่อยรุ่นเหลน ต้นทุนกำจัดแพงมากต้องรอเทคโนโลยีอีกนาน

  • @dellavita3463
    @dellavita3463 14 วันที่ผ่านมา +3

    ถึงตอนที่ขยะเยอะมากๆ จนออกนอกโลกไม่ได้ ก็เอา lazer broom ยิงไม่ได้หรอครับ หรือว่ามันทำได้ ก็เลยอาจจะมีบางประเทศที่ไม่สนใจ เก็บขยะอวกาศ ค่อยยิงแวกทางเอาตอนจะปล่อย ทีหลังงี้ 😅

  • @bnwifi
    @bnwifi 14 วันที่ผ่านมา +1

    ลองติดต่อไปที่สุรินทร์ ขนาดตะปูยังเสกเข้าไปในท้องคนอื่นได้ เสกโลหะลงมาที่โลกก็น่าจะทำได้สบาย

  • @twok4855
    @twok4855 14 วันที่ผ่านมา +5

    เดี๋ยวมนุษย์ก็หาวิธีจัดการได้เองครับ

  • @user-qd8iy8yo4l
    @user-qd8iy8yo4l 14 วันที่ผ่านมา +3

    มนุษย์ทั้งนั้นที่ทำ สุดท้ายเป็นภัยตัวเอง

  • @aahome100
    @aahome100 14 วันที่ผ่านมา

    สร้างบุ้งกี๋ใหญ่ที่ช่วงเหมือนด้ามให้เป็นท่อเบี่ยงทิศทางออกนอกวงโคจรโลกเพื่อดักทางผ่านของขยะอวกาศ ใช้แรงความเร็วของมันเพื่อเบี่ยงออกผ่านท่อไป อาจทำให้มันมีเครื่องขับเคลื่อนด้วยระบบ Ai ด้วย ทำหลายๆเครื่อง คิดว่าขยะจะลดลงอย่างเร็ว ผมให้นิยามว่า "แม่บ้านอวกาศ"

  • @ncembiy
    @ncembiy 14 วันที่ผ่านมา

    ดาวตกที่เห็นๆกันนี่อาจไม่ใช่ เศษอุกกาบาตก็ได้ อาจเป็นพวกขยะอวกาศนี่แหละที่หล่นกลับลงมา

  • @noppadolkandid3158
    @noppadolkandid3158 14 วันที่ผ่านมา +8

    ลูกหลานรุ่นต่อไปอยู่ย๊ากกกมากกก.ไหนจะโลกร้อนอีก😂.สติปัญญามวลมนุษย์จะคิดแก้ไขอย่างไรต่อ..😅

  • @TanExH
    @TanExH 14 วันที่ผ่านมา +2

    มีสิ่งที่ผมสงสัยเรื่องความเร็วและเวลา ผมอยากรู้ว่า ถ้ามีคนสร้างยานอวกาศที่มีความเร็วเหนือแสง แต่เป็นระบบบังคับเหมือนโดรน โดยมีมนุษย์บังคับและมองกล้องอยู่ที่โลก โดยให้ยานขับไปไกลที่สุดแล้วขับกลับมา ผมอยากรู้ว่าถ้ายานลำนั้นถึงโลกแล้วเราจะสามารถมองเห็นยานนั้นลำเป็นๆหรือไม่ หรือเราจะเห็นยานลำนั้นได้ในอนาคต หรือว่าเราจะเห็นอนาคตในกล้องของยานลำนั้น หรือเราจะเห็นยานทันทีที่มาถึงโลก หรือว่าเราจะเห็นยานลำนั้นตั้งแต่อดีต

  • @a8151732a
    @a8151732a 14 วันที่ผ่านมา +5

    ฟังเรื่องขยะอวกาศแล้ว นึกถึงมังงะการตูนญี่ปุ่นเรื่อง "Planetes จินตนาการเหนือโลก"

  • @MrNeoNos
    @MrNeoNos 14 วันที่ผ่านมา

    Thanks!

  • @MonkeyDDragon-e1m
    @MonkeyDDragon-e1m 14 วันที่ผ่านมา +2

    รบกวนสอบถามครับ พอดีผมอยากทราบว่า...ยานอวกาศที่ออกไปสำรวจนอกโลกที่ต้องเดินทางไกลๆ ยานแบบนั้นเขาเดินทางเป็นแนวตรงตลอดไหมครับ แล้วถ้าตรงอย่างเดียว ทำไมถึงไม่ชนดาว หรือ อุกกาบาตเลยครับ

  • @user-qi3ve8dj1c
    @user-qi3ve8dj1c 14 วันที่ผ่านมา

    รอดูทุกวัน

  • @aolodphumrob1342
    @aolodphumrob1342 14 วันที่ผ่านมา +1

    อยากได้vdoรังสีคอสมิคครับ ไปหาอ่านในggเเล้วงงมากเลยมันต่างกับคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้ายังไง

  • @yajuedch
    @yajuedch 14 วันที่ผ่านมา +1

    12:21

  • @PeerapatChuejeen
    @PeerapatChuejeen 14 วันที่ผ่านมา

    เราสามารถใช้ก้อนเจลขนาดใหญ่ หรือตาข่ายดักจับขยะอวกาศขนาดเล็กได้หรือไม่ ?

  • @Iutt-yf9jl
    @Iutt-yf9jl 14 วันที่ผ่านมา +1

    😅มีบริษัทในประเทศญี่ปุ่นเพิ่งจะเปิดบริษัทกำจัดขยะอวกาศใช้ยานอวกาศบินเก็บรอบโลก😅😅😅