วิธีการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังข้าว | สวก.

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 22 ธ.ค. 2020
  • การที่ฟางข้าวจะย่อยสลายได้ดีคือในสภาพที่มีอากาศระบายได้ดี ถ้าไม่ทำการย่อยฟางข้าวและตอซังมักก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเกิดการหมักหมมในนา จะทำให้ข้าวเกิดเป็นโรคเมาตอซัง ต้นข้าวไม่แข็งแรง แล้วก็จะเกิดเป็นโรคต่างๆได้
    สิ่งที่เกิดขึ้นประจำฤดูกาลเก็บเกี่ยวของชาวนาคือการเผาฟางข้าวและตอซัง เพื่อให้ง่ายในการเตรียมดินปลูกข้าวในรอบถัดไป ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นหมอกควันที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อน จะทำให้ดินเสื่อมสภาพ สูญเสียปุ๋ยในดิน แต่ปัจจุบันมีวิธีการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังหลังการเก็บเกี่ยว โดยที่ไม่สร้างมลพิษทางอากาศและใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายเพียง 7-15 วันเท่านั้น
    การย่อยสลายฟางข้าวและตอซัง สามารถทำได้ 2 วิธี เกษตรกรสามารถปรับใช้ได้ตามความสะดวก
    1. วิธีการแรกเป็นการเตรียมแปลงนาโดยปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติซึ่งมีวิธีการคือ หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว กระจายฟางให้ทั่วแปลงนาสูบน้ำเข้านาสูงประมาณ 1-3 เซนติเมตร ปล่อยแช่ไว้ 1 คืน จากนั้นใช้รถแทรกเตอร์จอบหมุนปั่นดินและปล่อยแปลงนาทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน ในสภาพดินมีความชื้น แต่ไม่ต้องให้น้ำท่วมขัง เพื่อให้ฟางย่อยสลายก็สามารถเตรียมดินตามขั้นตอนปกติได้ต่อไป
    2. วิธีการที่ 2 การย่อยสลายฟางข้าวด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 วิธีนี้จะมีจุลินทรีย์มาช่วยในการย่อยสลายได้เร็วขึ้น วิธีการคือหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว กระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลงนา จากนั้นใช้รถขลุบย่ำในแปลงนา เพื่อให้ตอซังข้าวล้มลงราบกับแปลงนา สูบน้ำเข้าแปลงนาพร้อมกับใส่น้ำหมักชีวภาพ พด.2 อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ ขังน้ำในนาข้าวในระดับที่ท่วมฟางข้าว 3-5 เซนติเมตร ประมาณ 7 -15 วัน ก็เตรียมดินได้ตามขั้นตอนปกติ
    การย่อยสลายฟางข้าวใช้เวลาไม่นาน ใช้เวลาประมาณ 7-15 วัน เป็นการลดการเผาฟาง ยังทำให้ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้กับนาข้าว
    #ตอซังข้าว #ฟางข้าว #ชาวนา #ข้าว #วิจัย #สวก.
    website 🌎 www.arda.or.th
    Facebook 🔵 / ardathai
    Line ✅line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
    ARDA 🅱 / kasetkaoklaiarda2017
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น • 20

  • @user-bh5lc3ev9j
    @user-bh5lc3ev9j ปีที่แล้ว +1

    เยี่ยมจริงๆ
    รู้หมดเลย

  • @sungkapong125
    @sungkapong125 2 ปีที่แล้ว

    น้ำหมัก พงด2 ใส่อะไรบ้างครับ

  • @toon5835
    @toon5835 4 หลายเดือนก่อน

    พด.2 น้ำ กากน้ำตาล แค่นี้ใช่ไหมครับ

  • @tuma2947
    @tuma2947 ปีที่แล้ว

    ราคาเท่าไหร่ครับ

  • @user-it3yi7qj7t
    @user-it3yi7qj7t ปีที่แล้ว +1

    ปัญหาคือน้ำไม่มีย่อย สลายตอซัง

  • @chanpen855
    @chanpen855 2 ปีที่แล้ว

    ถ้าฉีดพ่นได้ไหมคะ ใช้ปริมาณเท่าไหร่ ขอบคุณค่ะ

  • @user-xs9fn7zb7w
    @user-xs9fn7zb7w ปีที่แล้ว +1

    พด2สู้จุรินทรีจาวปลวกไม่ได้ครับมีทำขายกันใช้แล้วครับ

  • @wuttichaiwuttichai1620
    @wuttichaiwuttichai1620 2 ปีที่แล้ว +1

    สารเร่ง ถุงละกี่บาท และ น้ำหนัก

    • @kamolchaichamroen8358
      @kamolchaichamroen8358 2 ปีที่แล้ว

      พด ฟรี ที่กรมพัฒนาที่ดินครับ มีทุกจังหวัด

    • @user-ip3qw7xl8r
      @user-ip3qw7xl8r 2 ปีที่แล้ว +1

      ไปขอที่เกษตรอำเภอของเราก็ได้ครับวันนี้ผมก็ไปขอมาแล้ว10ซองฟรีครับ

  • @user-ok1jm4qh5n
    @user-ok1jm4qh5n 6 หลายเดือนก่อน

    ใช้กับนาปีใด้ใหมค่ะไม่มีน้ำ

    • @ardathailand
      @ardathailand  6 หลายเดือนก่อน

      ใช้กับนาปีใด้ค่ะ แต่ต้องมีน้ำในการทำด้วย

  • @user-uf8dq5iv7b
    @user-uf8dq5iv7b ปีที่แล้ว

    พ.ด2หาชื้อได้ที่ไหนค่ะ

    • @AliverT1
      @AliverT1 10 หลายเดือนก่อน

      เขาเเจกฟรีครับ ที่เกษตรจังหวัด

  • @sompechbootkosa755
    @sompechbootkosa755 2 ปีที่แล้ว

    ถ้านามีหญ้านําไม่มีย่อยได้มั๊ยครับ

  • @user-rd6me4vc4b
    @user-rd6me4vc4b 9 หลายเดือนก่อน +1

    ใช้ได้กับเฉพาะบางแปลงเพราะบางที่ไม่มีน้ำ

    • @ardathailand
      @ardathailand  7 หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ

  • @DrSak-ns5ob
    @DrSak-ns5ob 5 หลายเดือนก่อน +1

    ใบผลาญเจอ ฟางข้าว มันไม่สามารถพลิกดินได้ง่ายอย่างในคลิป ยิ่งจอบหมุนตีดิน ยิ่งทำงานไม่ได้เลยครับ ผู้ลงคลิปหน่วยงานวิจัยของรัฐ ขอให้ซื่อสัตย์กับวิชาชีพด้วยครับ

    • @Diin1232
      @Diin1232 หลายเดือนก่อน

      ถ้าฟางกับตอซังหนามาอาจจะลำบากหน่อย แต่ทำไมถึงจะไถไม่ได้ ผมก็มีรถไถ ก็ไถได้ ไถรอบเดียวไม่ได้ก็ไถ 2 รอบครับ ต้นทุนไถอาจจะเพิ่มขึ้น แค่คุณภาพดินก็จะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับครับ สู้ๆ

  • @ardathailand
    @ardathailand  3 ปีที่แล้ว +2

    วิธีการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังข้าว | สวก.
    website 🌎 www.arda.or.th
    Facebook 🔵facebook.com/ardathai
    Line ✅line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
    ARDA 🅱 facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
    การที่ฟางข้าวจะย่อยสลายได้ดีคือในสภาพที่มีอากาศระบายได้ดี ถ้าไม่ทำการย่อยฟางข้าวและตอซังมักก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเกิดการหมักหมมในนา จะทำให้ข้าวเกิดเป็นโรคเมาตอซัง ต้นข้าวไม่แข็งแรง แล้วก็จะเกิดเป็นโรคต่างๆได้
    สิ่งที่เกิดขึ้นประจำฤดูกาลเก็บเกี่ยวของชาวนาคือการเผาฟางข้าวและตอซัง เพื่อให้ง่ายในการเตรียมดินปลูกข้าวในรอบถัดไป ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นหมอกควันที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อน จะทำให้ดินเสื่อมสภาพ สูญเสียปุ๋ยในดิน แต่ปัจจุบันมีวิธีการย่อยสลายฟางข้าวและตอซังหลังการเก็บเกี่ยว โดยที่ไม่สร้างมลพิษทางอากาศและใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายเพียง 7-15 วันเท่านั้น
    การย่อยสลายฟางข้าวและตอซัง สามารถทำได้ 2 วิธี เกษตรกรสามารถปรับใช้ได้ตามความสะดวก
    วิธีการแรกเป็นการเตรียมแปลงนาโดยปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติซึ่งมีวิธีการคือ หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว กระจายฟางให้ทั่วแปลงนาสูบน้ำเข้านาสูงประมาณ 1-3 เซนติเมตร ปล่อยแช่ไว้ 1 คืน จากนั้นใช้รถแทรกเตอร์จอบหมุนปั่นดินและปล่อยแปลงนาทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน ในสภาพดินมีความชื้น แต่ไม่ต้องให้น้ำท่วมขัง เพื่อให้ฟางย่อยสลายก็สามารถเตรียมดินตามขั้นตอนปกติได้ต่อไป
    วิธีการที่ 2 การย่อยสลายฟางข้าวด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 วิธีนี้จะมีจุลินทรีย์มาช่วยในการย่อยสลายได้เร็วขึ้น วิธีการคือหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว กระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลงนา จากนั้นใช้รถขลุบย่ำในแปลงนา เพื่อให้ตอซังข้าวล้มลงราบกับแปลงนา สูบน้ำเข้าแปลงนาพร้อมกับใส่น้ำหมักชีวภาพ พด.2 อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ ขังน้ำในนาข้าวในระดับที่ท่วมฟางข้าว 3-5 เซนติเมตร ประมาณ 7 -15 วัน ก็เตรียมดินได้ตามขั้นตอนปกติ
    การย่อยสลายฟางข้าวใช้เวลาไม่นาน ใช้เวลาประมาณ 7-15 วัน เป็นการลดการเผาฟาง ยังทำให้ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้กับนาข้าว
    #ตอซังข้าว
    #ฟางข้าว
    #ชาวนา
    #ข้าว
    #วิจัย
    #สวก.