โหมโรงจอมสุรางค์ | ระนาดเอก (+เปียโน) | ไทยเดิม by Fino the Ranad

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 11 ก.ย. 2024
  • ระนาดเอก-เปียโน ในบทเพลงไทยเดิม "โหมโรงจอมสุรางค์" บทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นโดย นายดาบเจริญ ขุนเจริญดนตรีการ (เจริญ โรหิตโยธิน) ซึ่งมีความไพเราะและคมคาย ประกอบไปด้วยกลเม็ดเด็ดพรายต่าง ๆ สมกับเป็นเพลง "โหมโรง" เนื่องจากเพลงนี้มีชื่อว่า "จอมสุรางค์" (สุระ = อมตะ และ อางค์ (องค์) = ร่างกาย) ซึ่งแปลว่าผู้มีร่างกายอันเป็นอมตะ นั่นก็คือ เทพเทวดา นั่นเอง โน่เลยตีความเพลงนี้ให้เป็นเหมือนการหยอกล้อของ เทวดานางฟ้าบนสวรรค์ ผ่านการใช้กลเม็ดของดนตรีไทยต่าง ๆ เช่น ลูกล้อ ลูกขัด และลูกเหลื่อม ขอให้เพลิดเพลินและมีความสุขไปด้วยกันกับการหยอกล้อของเหล่าเช้าฟ้า อย่าลืมคอมเมนต์ กดไลก์ แชร์ และกดติดตาม เป็นกำลังใจให้ Fino the Ranad ด้วยนะครับ
    ระนาดเอก และดนตรีไทย: Fino the Ranad
    เปียโน: ‪@tonxpiano‬
    "โน้ตเพลงนี้" อยู่ในกลุ่ม facebook คนระนาดเอก: / 647162609563724
    TIKTOK (@Finotheranad) / finotheranad
    FACEBOOK (Fino the Ranad): / finotheranad​​​​
    INSTAGRAM (Finomenonn): / finomenonn
    อุปกรณ์ถ่ายทำ // Gear I use:
    กล้องวิดีโอ: Blackmagic Design Pocket Cinema Camera 6K Pro
    bit.ly/3Gu1CM4
    จอมอนิเตอร์: Blackmagic Design Video Assist Monitor
    bit.ly/3mmFScJ
    #โหมโรงจอมสุรางค์ #ระนาดเอก #เปียโน #FinoTheRanad
    ___
    ประวัติเพลงโหมโรงจอมสุรางค์
    เพลงโหมโรงจอมสุรางค์เป็นเพลงโหมโรงที่เป็นผลงานของนายดาบขุนเจริญดนตรีการ (เจริญ โรหิตโยธิน) เป็นเพลงที่มีสำเนียงแสดงความหมายไปในทางร่าเริงสนุกสนานมีจังหวะที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนเป็นอย่างมากและอีกประการหนึ่ง คือ กลอนเพลงจะมีสำนวนคมคาย
    เพลงโหมโรงโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะต่อด้วยเพลงหนึ่งต่อท้าย สำหรับเพลงโหมโรงจอมสุรางค์ก็ได้ใช้เพลงสะบัดสะบิ้งสองชั้นเป็นเพลงต่อท้าย เพลงสะบัดสะบิ้งเป็นเพลงที่มีลีลาที่กระฉับกระเฉงแล้วก็ไพเราะน่าฟังอยู่ไม่ใช่น้อยและก็จะถูกนำไปใช้ในเพลงโหมโรงอยู่หลายๆเพลง เช่น โหมโรงนางกราย และโหมโรงแปดบท เป็นต้น
    (อ้างอิง TK Park Music Library)
    ___
    เพลงโหมโรงคืออะไร?
    โหมโรงเป็นชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นเพลงเริ่มต้นการบรรเลงหรือการแสดง โดยมุ่งหมายเพื่อบอกให้ทราบว่างานหรือพิธีนั้น ๆ ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพลงโหมโรงโดยมากจะใช้กลองทัดซึ่งมีเสียงดังได้ยินไปไกลตีประกอบ นอกจากนี้การบรรเลงเพลงโหมโรงยังเป็นการอัญเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาประชุมสโมสรในงาน เพื่อจะได้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าภาพและผู้มาร่วมงาน
    เพลงโหมโรงแบ่งได้ตามลักษณะของงานหรือมหรสพที่แสดงและลักษณะของการบรรเลง ดังนี้
    ๑. โหมโรงเย็นและโหมโรงเช้า โหมโรงเย็นใช้สำหรับงานที่มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นเพลงชุดจำนวน ๑๖ เพลง แต่ละเพลงจะมีความหมายต่างกันไป ส่วนโหมโรงเช้าใช้สำหรับงานที่มีการทำบุญเลี้ยงพระซึ่งโดยปรกติจะมีลักษณะเป็นการสวดมนต์เย็น-ฉันเช้า มีเพลงรวมอยู่ ๕ เพลง
    ๒. โหมโรงเทศน์ใช้บรรเลงเพื่อเป็นการประกาศให้ทราบว่าที่บ้านนี้หรือวัดนี้จะมีพระธรรมเทศนา
    ๓. โหมโรงการแสดงมหรสพและโหมโรงกลางวันใช้บรรเลงเป็นการประกาศให้ทราบว่าที่นี่จะมีการแสดงมหรสพ
    ๔. โหมโรงเสภาประกอบด้วยเพลงรัวประลองเสภาและเพลงโหมโรง เมื่อจะจบเพลงต้องลงท้ายแบบเพลงวาเท่านั้น
    ๕. โหมโรงมโหรี มโหรีเดิมเป็นของผู้หญิงเล่น ผู้ชายเพิ่งจะเล่นเมื่อไม่นานมานี้
    ๖. โหมโรงหุ่นกระบอกใช้ในการแสดงหุ่นกระบอก
    ๗. โหมโรงหนังใหญ่ใช้บรรเลงก่อนจะดำเนินเรื่องหนังใหญ่
    (อ้างอิง ราชบัณฑิตยสภา)

ความคิดเห็น • 125