EP.26 ปลาเสือข้างลาย, ปลาเสือสุมาตรา และ ปลาโรซีบาร์บ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ส.ค. 2024
  • EP.26 ปลาเสือข้างลาย, ปลาเสือสุมาตรา และ ปลาโรซีบาร์บ
    ปลาเสือข้างลาย และ ปลาเสือสุมาตรา ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน ลักษณะคล้ายกับปลาตะเพียนขนาดเล็ก มีพื้นลำตัวสีเหลืองอมส้ม มีจุดเด่นคือ ปลาเสือข้างลายจะมีแถบสีดำพาดขวางลำตัวทั้งหมด 5 แถบ ส่วนปลาเสือสุมาตราจะมีแถบสีดำพาดขวางลำตัวทั้งหมด 4 แถบ มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างที่จำนวนแถบขวางข้างลำตัวนั่นเองปลาเสือข้างลายชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ส่วนปลาเสือสุมาตราไม่มีในแม่น้ำธรรมชาติของประเทศไทย มักอาศัยอยู่ในบริเวณกลางน้ำที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น ขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร กินอาหารได้แก่ พืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีริมฝีปากแดงเรื่อสดใสเห็นได้ชัดเจน โดยวางไข่ติดกับพืชไม้ชนิดต่าง ๆ ไข่ไว้เวลาฟักเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง
    ปลาโรซีบาร์บ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียใต้ มีลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีแดงอมส้ม แผ่นหลังสีเขียวมะกอก เกล็ดมีขนาดเล็กเป็นมันแวววาวระยิบระยับ ลำตัวบริเวณใกล้โคนหางมีจุดสีดำอยู่ข้างละ 1 จุด เพศผู้จะมีสีแดงเข้มและหางยื่นยาวกว่าเพศเมีย จัดเป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 14 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 เซนติเมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย บริเวณรัฐอัสสัมและรัฐเบงกอล นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาเสือข้างลาย และปลาเสือสุมาตรา เป็นต้น สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ มีพฤติกรรมผสมพันธุ์เป็นหมู่ ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง
    ท่านผู้ชมสามารถชมปลาเสือข้างลาย ปลาเสือสุมาตรา และปลาโรซีบาร์บได้ที่ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี นะครับ
    ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความคิดเห็น • 1

  • @sonthayanetsawang1983
    @sonthayanetsawang1983 3 ปีที่แล้ว

    ไม่เปิดอ็อกได้ไหมครับ