วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 5 ส.ค. 2021

ความคิดเห็น • 5

  • @user-iw8sj7pz3e
    @user-iw8sj7pz3e 15 วันที่ผ่านมา

    😊😊😊😊สวยงาม

  • @chantipwongut9610
    @chantipwongut9610 2 ปีที่แล้ว

    ชอบมากค่ะ

  • @chefhnoi4463
    @chefhnoi4463 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้เพิ่มขึ้น แต่รูปประกอบเกี่ยวกับพระพุทธรูปในระเบียงคต เป็นของวัดโพธิ์นะคะ ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปปางต่างๆล้วนเป็นสีดำทั้งหมดค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

  • @user-en2lg5ny9r
    @user-en2lg5ny9r 2 ปีที่แล้ว

    💚

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 ปีที่แล้ว

    การหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) เมืองพิษณุโลก
    -------------------------------------
    พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่มีการจำลองมากที่สุด ดังที่เห็นกันทั่วไปว่าพระประธานในโบสถ์หรือวิหารทั่วเมืองไทย ตลอดจนวัดไทยในต่างประเทศส่วนมากจะนิยมเป็นพระพุทธชินราช พระพุทธชินราชองค์แรกที่เป็นต้นแบบของพระพุทธชินราชจำลองซึ่งแพร่หลายอยู่ทั่วไปนั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
    พระพุทธชินราช (จำลอง) เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว (2.875 เมตร) สูง 7 ศอก (3.5 เมตร)
    ประวัติการหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง)
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามเมื่อพุทธศักราช 2442 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบพระอุโบสถและตกแต่งไว้ด้วยหินอ่อน มีความงดงามวิจิตร จำเป็นต้องแสวงหาพระประธานที่มีความงดงามทัดเทียมกัน และทรงระลึกได้ว่า เมื่อพุทธศักราช 2409 ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบรมชนกนาถ ไปนมัสการพระพุทธชินราช ณ เมืองพิษณุโลก ทรงแลเห็นพระพุทธลักษณะแห่งองค์พระพุทธชินราชว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามหาพระพุทธรูปองค์ใดเปรียบมิได้ แต่การจะอัญเชิญลงมาประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ย่อมไม่สมควร ด้วยเป็นสิริของชาวเมืองพิษณุโลก จึงมีพระราชดำริให้หล่อพระพุทธชินราชขึ้นใหม่
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระประสิทธิ์ปฏิมา (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร) จางวางช่างหล่อขวา ซึ่งเป็นช่างหล่อฝีมือดีที่สุด ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิม ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก มอบกรมหลวงดำรงราชานุภาพเป็นผู้ประสานงานจัดการงานทั้งปวงอยู่ที่กรุงเทพฯ มอบให้พระยาสุรสีห์วิศิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก เป็นผู้ดูแลจัดการทั่วไปที่เมืองพิษณุโลก จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อเป็นส่วน ๆ ในวันที่ 20 ตุลาคม พุทธศักราช 2444 โดยมีน้ำหนักทองที่ใช้หล่อ 3,940 ชั่ง เมื่อหล่อเสร็จแล้วได้อัญเชิญล่องเรือมาคุมองค์พระและตกแต่งที่กรมทหารเรือ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระยาชลยุทธ์โยธินทร์ (Andre du Plessis de Richelieu) ผู้บัญชาการกรมทหารเรือชาวเดนมาร์ก เป็นผู้ควบคุมแต่งองค์พระ เมื่อแต่งองค์พระเสร็จแล้ว เชิญลงเรือมณฑปแห่ไปตามลำน้ำเพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2444