ร่ายรำ​ EP.4 การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง (ภาคเหนือ)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ก.ย. 2024
  • ความหมายของนาฏศิลป์พื้นเมือง
    นาฏศิลป์พื้นเมือง หมายถึง ศิลปะการแสดงร่ายรำประกอบดนตรี ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อนต่าง ๆ ที่นิยมเล่นกัน หรือ แสดงกันในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะสภาพแวดล้อมแต่ละภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้
    ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
    พิธีกรรมและความเชื่อของคนไทยในท้องถิ่น ที่มักประกอบพิธีกรรม บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การละเล่นพื้นเมือง จึงเกิดการร่ายรำเพื่อให้งานหรือเทศกาล นั้นมีความสนุกสนาน การแสดงนาฏศิลป์มี จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิง และใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในท้องถิ่น
    ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ
    การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของหลายเชื้อชาติเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมของชาวเหนือ ส่งผลให้การแสดงส่วนใหญ่มีความอ่อนหวาน อ่อนช้อย ดนตรีที่ใช้วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกลองแอว วงสะล้อ ซอ ซึง วงกลองปู่เจ่
    การแสดงภาคเหนือ
    - ฟ้อนเล็บ
    เป็นการฟ้อนชนิดหนึ่งของชาวไทยในภาคเหนือ ผู้ฟ้อนจะสวมเล็บยาว ลีลาท่าฟ้อนที่อ่อนช้อย
    - การตีกลองสะบัดชัย
    การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองของชาวล้านนา มีลีลาท่าทางโลดโผน
    - ฟ้อนนกกิ่งกะหล่า
    ความเชื่อตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของชาวไทใหญ่ เป็นเสมือนตัวกินนรสัตว์ป่าหิมพานต์ตามความเชื่อของคนในอดีต ที่ออกมาฟ้อนร่ายรำต้อนรับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเทศกาลวันออกพรรษา
    - ระบำเก็บใบชา
    ลักษณะการแสดงสะท้อนให้เห็นถึงกรรมวิธีในการเก็บใบชาของชาวเขา
    - ฟ้อนดาบ
    เป็นการแสดงศิลปะอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ป้องกันตัว เป็นการแสดงชั้นเชิงของการ ต่อสู้รวมกับท่าฟ้อนที่สวยงาม

ความคิดเห็น •