จังหวัดลำพูนโมเดลต้นเเบบ นำร่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ระบบดิจิทัล (Digital EMS 1669)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 มี.ค. 2021
  • ครั้งแรกของประเทศไทย จังหวัดลำพูนโมเดลต้นเเบบ นำร่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ระบบดิจิทัล (Digital EMS 1669) ก้าวสู่การแพทย์ไทยยุคใหม่สู่ท้องถิ่น รวดเร็วทันต่อเวลาสถานการณ์ และให้เกิดการช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เริ่มทดลองใช้ครั้งเเรก วันที่ 17 มีนาคม 2564 นี้
    อบจ.ลำพูน ร่วมกับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เปิดระบบศูนย์แจ้งเหตุและสั่งการ ระบบ Telemedicine ในรถปฎิบัติการฉุกเฉินระดับสูง
    ของโรงพยาบาลลำพูน และ โรงพยาบาลลี้ จำนวน 2 คัน และ ระบบ AVLS และในรถปฎิบัติการฉุกเฉินระดับพื้นฐานและระดับต้นให้กับ อปท.ในจังหวัดลำพูน จำนวน 31 คัน
    ทั้งนี้จังหวัดลำพูนถือเป็นโมเดลต้นแบบในความพร้อม โดยเปิดทดลองใช้ครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 17 มีนาคม 2564 นี้นำร่องเป็นต้นแบบโมเดลนำร่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์ ระบบดิจิทัล (Digital EMS 1669) โดยนำนวัตกรรมอุปกรณ์ และระบบบริการดิจิทัล ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถดำเนินการส่งภาพ และเสียงระบบเรียลไทม์ (Realtime) สามารถรู้พิกัดจุดเกิดเหตุ โดย GPS ที่ติดตั้งมาในรถ ได้อย่างแม่นยำ เพื่อส่งทีมกู้ชีพออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที พร้อมอุปกรณ์กล้องปฎิบัติการภายในรถแบบ 360 องศา โดยแพทย์จะรู้ถึงสัญญาณชีพหรือคลื่นหัวใจของผู้ป่วย แพทย์จะเห็นคนไข้ผ่านกล้อง สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยทราบอาการผู้ป่วยได้แบบทันที ในระหว่างเดินทางนำส่งโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต

ความคิดเห็น •