พญาโศกสามชั้น : หลวงไพเราะเสียงซอ เดี่ยวซออู้

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 16 ก.ย. 2024
  • พญาโศกสามชั้น : หลวงไพเราะเสียงซอ เดี่ยวซออู้
    ซออู้ : หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)
    โทน-รำมะนา : ครูศักดา คำศิริ
    ฉิ่ง : ครูพริ้ง กาญจนะผลิน
    บันทึกเสียงเมื่อปี ๒๕๑๘ ที่ห้องอัดเสียง "นวลน้อย" ของ พลตำรวจตรีวิลาส หงสเวส ซอยนวลน้อย เอกมัย กรุงเทพมหานคร.
    - ประวัติเพลง พญาโศก -
    เพลงพญาโศกนั้น พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ได้นำเพลงพญาโศก สองชั้น (ของเดิม)​ มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตราสามชั้นเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ สำหรับใช้เป็นเพลงบรรเลงและขับร้องในวงมโหรีและวงปี่พาทย์
    นอกจากนี้ พระประดิษฐ์ไพเราะยังได้นำมาประดิษฐ์เป็นเพลงทางเดี่ยว ในทำนองมีการเปลี่ยนระดับเสียงเป็นตอนๆ ซึ่งมีนักดนตรีสมัยต่อมายึดเป็นแบบฉบับในการเดี่ยวด้วยเครื่องมือต่างๆ ทุกชนิด เช่น พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) แต่งสำหรับเดี่ยวซอสามสาย จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอก นายสอน วงฆ้อง แต่งสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ นายสมาน ทองสุขโชติ แต่งสำหรับเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ จ่าเอกกมล (เจียน) มาลัยมาลย์ ได้แต่งทำนองสำหรับเดี่ยวระนาดเอกโดยขยายจาก สามชั้นเป็นสี่ชั้น เป็นต้น.
    - ประวัติ ครูหลวงไพเราะเสียงซอ -
    หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)​ เกิดเมื่อ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๕ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา บิดาชื่อ พยอม มารดาชื่อเทียม ท่านเริ่มศึกษาวิชาดนตรี โดยเรียนสีซอด้วงจากบิดา
    ต่อมาท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ รับราชการในกองดนตรีเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ครั้นสมเด็จพระบรมฯ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) มหาดเล็กทั้งปวงซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม ก็ปรับตำแหน่งหน้าที่ราชการเข้าเป็นทำเนียบมหาดเล็กประจำ ท่านจึงได้รับยศเป็นมหาดเล็กวิเศษ
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แปรพระราชฐาน จะต้องมีวงดนตรีตามเสด็จ ท่านก็ตามเสด็จด้วยทุกครั้ง จนได้รับพระราชทานยศเป็น รองหุ้มแพร มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนดนตรีบรรเลง และในวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ท่านก็ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงไพเราะเสียงซอ
    ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น หลวงไพเราะเสียงซอได้สอนวงดนตรีเครื่องสายของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชเทวี วงพระสุจริตสุดา และวงพระยาอนิสุทธาทวา
    เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ท่านได้ถวายการสอน เจ้านายในวงเครื่องสาย ซึ่งประกอบด้วย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ มจ.ถาวรมงคล และ มจ.แววจักร จักรพันธ์ นอกจากนั้นยังได้ถวายการสอนให้กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตมงคล และข้าหลวงในวังอีกด้วย
    ต่อมากรมศิลปากรได้เชิญท่านให้สอนประจำที่วิทยาลัยนาฎศิลป์และสุดท้ายท่านยังได้สอนและปรับปรุงวงดนตรีไทยของสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง จนทำให้วงดนตรีไทยของธรรมศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเวลาต่อมา
    หลวงไพเราะเสียงซอ ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมสิริอายุได้ ๘๔ ปี
    (ที่มาประวัติหลวงไพเราะเสียงซอ : เวปไซด์​ staffzone.amnuaysilpa,
    ที่มาประวัติเพลง : ชยานนท์ ศรีอนันต์)
    ที่มาภาพถ่าย : คุณกฤษ วิเศษสุวรรณภูมิ
    อนุเคราะห์​เทป​คาสเซ็ท​ : ผศ.อู่ทอง​ ประศาสน์​วินิจฉัย​
    สำเนาเสียงจากเทปคาส​เซ็ท​ : ฉ​ั​ต​รกร​ เกตุ​มี
    เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์​เพลงไทย​ใน​การศึกษา​ มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และแสวงหารายได้
    ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ : / @deklenkhimchannel7019

ความคิดเห็น • 1

  • @Iwasbornin_
    @Iwasbornin_ 2 ปีที่แล้ว

    แอดช่วยหาเทปที่เป็นแอ่วเคล้าซอ กับ หุ่นกระบอก ที่คุณทวดอุ่นท่านสีให้หน่อยนะครับ ขอบคุณครับ🙏🏻