การแสดงละครเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยรบพลายชุมพล

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ก.ย. 2024
  • การแสดงละครเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยรบพลายชุมพล เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้างานวิจัย เรื่องรูปแบบการรบในละครเรื่องขุนช้างขุนแผน:พระไวยรบพลายชุมพล
    เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นนิทานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวิวัฒนาการมาเป็นการเล่าด้วยการขับเสภา เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดแห่งกลอนสุภาพ จากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่๖ เนื่องจากมีความงดงามด้านสำนวนโวหารทั้งยังมีรสของวรรณคดีครบทั้ง ๔ รส กล่าวคือ เสาวรจนีเป็นการชมความงาม นารีปราโมทย์เป็นรสที่แสดงถึงการเกี้ยวพาราสี สัลลาปังคพิสัยเป็นรสที่แสดงถึงความโศกเศร้า และพิโรทวาทังเป็นรสที่แสดงถึงความโกรธแค้น ความผิดหวัง นับได้ว่าเป็นรสสำคัญที่ส่งผลให้เกิดบทบาทการรบในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งมีมาตั้งแต่รุ่นที่ ๑ คือ รุ่นพ่อ (ขุนแผน ขุนช้าง และนางวันทอง) ต่อมาจนรุ่นลูก(พระไวย พลายชุมพล สร้อยฟ้า ศรีมาลา และสิ้นสุดเรื่องราวที่รุ่นหลาน(พลายเพชร พลายบัว และพลายยง)
    การแสดงละครเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยรบพลายชุมพล เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่อยู่ในตอนพระไวยแตกทัพกรมศิลปากรจัดแสดงครั้งแรกในปีพ.ศ. ๒๔๙๒ ณ โรงละครศิลปากร ผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำ คือ คุณครูลมุล ยมะคุปต์ โดยเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงการปะทะทัพระหว่างทัพของพระไวย และทัพของสมิงมัตรา หรือพลายชุมพล ทั้งคู่ได้ปะทะฝีมือกันเพียงไม่นาน ฝ่ายพลายชุมพลก็มิอาจจะสู้วิทยาอาคมการรบของ
    พระไวยได้จึงร้องเรียกให้พ่อมาช่วย เมื่อขุนแผนผู้เป็นต้นคิดอุบายแก้แค้นลูกชายคนโตที่เคยล่วงเกินตนออกมาจึงทำให้พระไวยเข้าใจว่าเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นเพียงอุบายในการคิดแก้แค้นเท่านั้น ครั้นขุนแผนใช้ดาบฟ้าฟื้นไล่ฟันพระไวยก็ทำให้เกิดความชุลมุนจนในที่สุดทัพของพระไวยก็แตกไม่เป็นขบวนหนีไปได้
    การแสดงชุดนี้มีกระบวนการรบที่มีความพิเศษ คือ มีการต่อสู้ด้วยการใช้ไสย-ศาสตร์ การรบในบทร้องด้วยอาวุธที่ต่างกัน (หอกกับดาบ) การรบด้วยอาวุธที่เหมือนกัน (ดาบกับดาบ) การไหว้ครูที่ใช้ท่ารำเดียวกัน ซึ่งไม่ปรากฏในการแสดงชุดอื่น และการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ซึ่งการแสดงในครั้งนี้ยึดกระบวนท่ารำตามรูปแบบของคุณครูลมุล ยมะคุปต์ โดยผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำในครั้งนี้ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำบทบาทพลายชุมพล อาจารย์ไพฑูรย์ เข้มแข็ง ผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำบทบาทพระไวย อาจารย์ประสาท ทองอร่าม ผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำบทบาททหาร และมี
    อาจารย์สัจจะ ภู่แพ่งสุทธิ์ เป็นผู้ช่วยฝึกซ้อมการแสดง

ความคิดเห็น • 15