YA-EP49 ถอดรหัสทำไมชาวสวนใช้ ไนโตรฟีโนเลต ออกซิน NAA แคลเซียมโบรอน สาหร่าย อะมิโน พ่นขึ้นลูก

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 ม.ค. 2022
  • สูตรขยายลูกที่ชาวสวนนิยมช่วงลูกทุเรียนเริ่มขยายผล
    ไนโตรฟีโนเลต 100 cc ออกซิน 40 cc แคลเซียม โบรอน สาหร่ายอย่างละ 200 cc ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นช่วยขึ้นลูก
    ____________________________________________________________________
    คำถาม : ขอสอบถามหน่อยค่ะออกซินคืออะไรคะ ใช้ยังไง ใช้ตอนไหนคะ
    คำตอบ : Auxin เป็นกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้มีการแบ่งเซลล์และยืดตัวของเซลล์
    Auxin เป็นฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนพืช เป็นสารทุติยภูมิที่ถูกพืชสังเคราะห์ขึ้น ในลำดับถัดมา หลังจาก สังเคราะห์แสงได้อาหารแล้ว
    ฮอร์โมนจะเป็นสารกลุ่มอินทรีย์ มีเพียงปริมาณน้อยมาก แต่ให้ผลมหาศาล
    Auxin เป็นฮอร์โมนพืชที่พบได้มากในเซลล์เกิดใหม่ ทั้งที่ดอก ยอดอ่อน มีทิศทางเคลื่อนที่จะปลายยอด ลงมาด้านล่าง ทำงานได้ดีตอนกลางคืน
    โปรดสังเกต ผลอย่างหนึ่งของ ฮอร์โมนพวกนี้ ในพวกแตงกวา ลูกแตงกวาจะโตได้ดีในตอนกลางคืน แต่กลางวันเราแทบไม่เห็นลูกมันขยับโตเลย ตอนเย็นๆ มองลูกเล็กๆ ข้ามคืนเช้ามา โตขึ้น
    ปกติพืชสามารถสร้างฮอร์โมน Auxin ได้เอง โดยเฉพาะพืชที่สมบูรณ์แล้ว เราไม่จำเป็นต้องพ่นฮอร์โมนสังเคราะห์ ที่เราเรียกว่า NAA
    แต่บางคนก็พ่น เช่น อย่างที่พี่ยามเขียนไว้ข้างบน ฮอร์โมน 20 cc ต่อน้ำ 200 ลิตร
    แต่คนที่ไม่รู้ ไม่เคยใช้ ลูกทุเรียนก็โตได้ดี คำแนะนำคือ ถ้าคิดว่า ลูกโตไม่ดี ให้ลองเปรียบเทียบ ต้นที่ฉีดกับไม่ฉีดก็ได้ครับ ลองเปรียบเทียบกัน ฮอร์โมนไม่แพง แต่ค่าแรงฉีดแพงครับ และการฉีดควรฉีดช่วงเย็น เพราะฮอร์โมนพวกนี้เป็นแวมไพร์ กลัวแสง
    กลไกการทำงานของฮอร์โมน Auxin อย่างหนึ่งก็คือ เป็น ปั้มโปรตอน หรือสูบโปรตอน พอสูบโปรตอนออก เซลล์จะยืดหยุ่น เหมาะแก่การเจริญเติบโต ขยายขนาด การที่เซลล์สูญเสีย H+ ไป เราก็ฉีด Ca ,B , Ca2+ จะเข้าเป็นแลกเปลี่ยนประจุทันที
    ผลลัพธ์ คือ เซลล์ขยายขนาด และได้ความแข็งแรงด้วยครับ
    เพราะในกลไกทางชีวะเคมี เราพบว่า Ca2+ มันดีกว่า H+ เพราะ Ca2+ ช่วยในการเคลื่อนย้ายสารอาหาร สร้างความแข็งแรงให้เซลล์
    หลักการวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่ชาวสวนควรทำ
    1.สังเกตุการณ์ (ว่าต้นทุเรียนของตัวเองสมบูรณ์ขนาดไหน สภาพอากาศเป็นอย่างไร ขณะที่ดอกบาน ติดลูก)
    2.ตั้งสมมติฐาน (อะไรจะเกิดขึ้น กับทุเรียนหางแย้ ของเรา จากผลของสภาพอากาศ)
    3.ทดลอง (ลองเปรียบเทียบ ต้นที่ใส่กับต้นที่ไปใส่)
    4.สรุปผล (เพื่อสร้างองค์ความรู้เฉพาะของสวนเรา)
    #หางแย้ร่วง
    #วิกฤติดอกบาน
    #ปัญหาช่วงดอกทุเรียนบาน

ความคิดเห็น • 96

  • @phonetab8294
    @phonetab8294 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณจ้าความรุ้มาก.กว่า.ที่เคยดุทุกคลิปเลยจ้า

  • @boonchunuha21
    @boonchunuha21 2 ปีที่แล้ว +2

    เข้าใจครับ ขอบคุณสำหรับคลิปดีๆ

  • @songwitbooncharoen9491
    @songwitbooncharoen9491 2 ปีที่แล้ว +1

    จริงทุกคำที่พี่ยามพูดคับ

  • @n.Boonluecha
    @n.Boonluecha 2 ปีที่แล้ว +2

    พึ่งฟังคลิปแรกกดติดตามเลย ได้ความรู้เยอะเลย

  • @Huahinfarm
    @Huahinfarm 2 ปีที่แล้ว

    ไม่ใช่เข้าใจทฤษฎีอย่างเดียว แต่ปฎิบัติได้อย่างลึกซึ้ง เคมีตรงกัน ท่านอาจารย์วันข้างหน้าจะขอเชิญมานอนสวนทุเรียนหัวหินครับ

  • @user-nu7un3qh7c
    @user-nu7un3qh7c 2 ปีที่แล้ว +3

    อธิบายเร็ว รวบรัดเข้าใจง่ายมากๆค่ะ กดติดตามแล้ววว 😍

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ

  • @KasetSolution
    @KasetSolution ปีที่แล้ว

    ขอบคุณข้อมูลดีๆ ข้อมูลชัดเจนมากครับ ขออนุญาตแชร์นะครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ ยินดีครับ

  • @adogbarksplane8653
    @adogbarksplane8653 2 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุนครับพี่ยาม
    ได้ความรู้แบบกะจ่างแจ้ง
    ไม่มีอุบอิบครุมเครือ
    อธิบายเข้าใจง่ายมากฮะ
    🙏🙏

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +3

      ขอบคุณมากครับที่ให้กำลังใจ เดี่ยวจะลองเล่าเรื่องอื่นๆเกี่ยวกับการจัดการธาตุอาหารด้วยครับ

  • @toonbantep
    @toonbantep 2 ปีที่แล้ว +4

    คลิปนี้ได้ประโยชน์เต็มไปเข้าใจง่ายครับ ชาวสวนเราชอบตามเพื่อนข้างๆ เขาฉีดอะไรก็ฉีดตาม ขาดความเข้าใจ ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง ขอบคุณมากครับ
    ิที่ให้ความรู้

  • @user-gr3dj7sr6e
    @user-gr3dj7sr6e 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากๆครับที่ให้ความรูครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว

      ยินดีครับ

  • @user-ke9wp8uf3k
    @user-ke9wp8uf3k 2 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณครับอาจารย์

  • @mh2mh698
    @mh2mh698 2 ปีที่แล้ว +1

    ได้ประโยชน์มากครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว

      ยินดีครับผม

  • @ss2541733
    @ss2541733 2 ปีที่แล้ว +8

    น้องยามอธิบายฟังเข้าใจง่าย จะบอกว่ากว่านักวิชาการบางคน เยี่ยมครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +3

      ขอบคุณมากครับ อยากให้ทุกท่านนึกภาพออก และเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในการทำสวนได้ครับ ต้องหาเหตุผลอธิบายประกอบครับ
      จะพยายามปรับปรุงเทคนิคการเล่าครับ

  • @sffrgg4222
    @sffrgg4222 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้นี้ค่ะ ติดตามแล้วนะคะ

  • @phonsukanyaphon3426
    @phonsukanyaphon3426 2 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณมากๆค้ะ

  • @alongkonchannel4844
    @alongkonchannel4844 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณ​ครับ​

  • @user-xo4ds5gq6s
    @user-xo4ds5gq6s 2 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณคะ

  • @rapatpornkomart3398
    @rapatpornkomart3398 ปีที่แล้ว +1

    พี่ยามเป็นกูรูทุเรียนที่เก่งมาก ชอบดูคลิปที่กับ ผศ.รำแพน ไปสวนเจ้จุ๋ม สวนลุงนิรันดร์ สวยลุงอุ้ยและอีกหลายๆสวนได้ทั้งความรู้หลักในการปฏิบัติเกี่ยวกับทุเรียนค่ะ FC สวนทุเรียนขอนแก่นค่ะ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  ปีที่แล้ว +3

      มิกล้ารับครับ พี่ยามเป็นเพียงคนที่เรียบเรียง ร้อยเรียงเรื่องราว ในแบบที่ สมมุติว่า เราเป็นคนทำสวน เราอยากรู้เรื่องอะไร
      ขอบคุณแทนวิทยากร ทุกท่าน ที่มาถ่ายทอดความรู้ให้พี่ยามครับ

  • @karprophoto1042
    @karprophoto1042 ปีที่แล้ว +2

    รบกวนสอบถามพี่ยามค่ะ 4ตัวนี้ ควรฉีดช่วงไหนคะ ที่ให้ได้ผลดีที่สุดค่ะ

  • @user-ys5cw3zk8t
    @user-ys5cw3zk8t 2 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณครับ

  • @chanwiswinthasiri2890
    @chanwiswinthasiri2890 2 ปีที่แล้ว +1

    เยี่ยม....

  • @channel8439
    @channel8439 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ ขอบคุณพี่ยามนะคะชอบฟังค่ะมีส่วนเยอะ

  • @user-qs7vb7pt4k
    @user-qs7vb7pt4k 2 ปีที่แล้ว +1

    ความรู้มากคับ

  • @user-cn5vk8pg3n
    @user-cn5vk8pg3n ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณข้อมูลดีๆคะ

  • @user-sn9pw8zf5y
    @user-sn9pw8zf5y 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอแนวทางการใส่ปุ๋ยตั้งแต่ไข่ไก่ค่ะ ที่ทำให้หนามเล็กค่ะ

  • @user-zf6fl5sh1h
    @user-zf6fl5sh1h ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคับ

  • @konthai333
    @konthai333 2 ปีที่แล้ว +2

    ช่วยทำคลิปเกียวกับโรคและแมลงทุเรียนแแบบละเอียด.ชวนสวนมือใหม่จะความรู้เพิ่ม

  • @Huahinfarm
    @Huahinfarm ปีที่แล้ว +1

    อาจารย์ยาม มีความเป็นอาจารย์สูง

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

  • @TheMamchan
    @TheMamchan 2 ปีที่แล้ว +3

    อธิบายดีสุดเข้าใจง่ายสุดเท่าที่เคยฟังทุกๆๆๆๆๆๆคลิปของกูรูทั้งหลายค่ะ... ขอบคุณ​มากๆๆๆๆๆค่ะ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +2

      ขอบคุณมากครับ จริงๆ แล้ว ผมอธิบายรวบรัดไปนิดครับ ที่บอกว่า สูบโปรตอน เอา H+ ออก แล้ว Ca2+ ไปแทนที่
      จริงๆต้องบอกว่า ผลกระทบที่มีต่อสูบโปรตอน ส่งผลให้การสูบ H+ ออกจากผนังเซลล์จำนวนมาก ทำให้ผนังเซลล์หยุ่นตัว ซึ่งมีประโยชน์มากในการช่วยให้เซลล์ให้ขยายขนาดได้ดี
      แต่การเคลื่อนย้ายออกซิน (Auxin Transport) โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เคลื่อนย้ายผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ต้องใช้เอนไซม์ที่เกาะที่เยื่อหุ้มเซลล์ โดยมี แคลเซียม เป็นองค์ประกอบช่วยให้ออกซิน เคลื่อนที่ผ่านเข้าออกเซลล์ได้
      นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไม เราต้อง ฉีด ออกซิน พร้อมกับ แคลเซียม โบรอน
      แคลเซียมช่วยให้ ออกซินทำงาน เคลื่อนย้ายผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ แต่ออกซินก็ทำหน้าที่ช่วยเคลื่อนย้ายธาตุแคลเซียมที่สะสมไว้ในเนื้อเยื่อ ไปยังเนื้อเยื่อส่วนที่กำลังเจริญเติบโตมาก
      ส่วนโบรอน นั้น ถูกค้นพบว่า มีเยอะที่เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย และมีต่อการผสมเกสร และการวิจัยพบว่ามักจะขาด นักวิชาการก็เลยแนะนำให้ ชาวสวนฉีดโบรอนตั้งแต่ระยะดอกทีเดียว
      บทบาทของโบรอน คือ แบ่งเซลล์ และทำให้เซลล์ยืดตัว ทำให้พืชเกิดการสังเคราะห์โปรตีนและน้ำตาลไรโบสตามปกติ มีผลต่อการเจริญเติบโต และการผสมเกสร
      ท้ังนี้ทั้งนั้น ต้องบอกว่า ความเข้มข้นของโบรอนที่พืชต้องการนั้น น้อยมากๆ ดังนั้น สวนที่ต้นสมบูรณ์ หรือเคยใส่ปุ๋ยธาตุรวมมาแล้ว ก็ไม่ต้องฉีดเพิ่มก็ได้เช่นกันครับ

  • @ove6187
    @ove6187 ปีที่แล้ว

    พี่ครับออกซินใช้ขีดดอกมะม่วงขีดตอนไหนถึงจะติดลูกครับตอนฉีดใส่ยาเชื้อราไปด้วยไหมครับหรือว่าฉีดออกซินอย่างเดียว

  • @user-om7pl4rc5e
    @user-om7pl4rc5e 2 ปีที่แล้ว +1

    ใช้ได้ตั้งแต่หางแย้ยันลูกกระป๋องนมมั้ยครับ

  • @pondkaset
    @pondkaset ปีที่แล้ว

    ผมซื้ออ๊อกซินมา หลายคนพูดจนผมไม่กล้าใช้เลยครับ บางคนบอกว่าฉีดแล้วหางแย้ไหม้เร็ว ใช้แล้วเจออากาศร้อนอันตราย ขอแนวทางการฉีดพ่นหน่อยครับ ถ้าจะฉีดตอนเช้า ต้องเช็คอากาศยังไง อากาศแบบไหนที่ไม่ควรฉีดพ่น

  • @chirapornj1888
    @chirapornj1888 2 ปีที่แล้ว +1

    นู๋.ก้อคิดคล้ายๆกัน..แต่เห็นเค้าทำกันก้อเลยทำบ้าง ลูกน้องก้อชอบให้ซื้อยากับอาหารเสริม.กลัวไม่งาม..

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +1

      ครับ พิจารณาตามความเหมาะสมครับ เช่น พวก แคลเซียม โบรอน แทบจะเป็นมาตรฐานของการฉีดพ่น ช่วงดอก ผล แล้วครับ

  • @raipadayphulanka
    @raipadayphulanka 2 ปีที่แล้ว +2

    ตอนนี้ที่สวนหางแย้ขาว หางแย้ไหม้ครับ ฝนตกทุกวันครับพี่ ออกซิน อะโทนิค แถวบ้านก็ไม่มี ไม่รู้จะร่วงหมดมั้ย ลุ้นๆครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +3

      จริงๆ สารที่กล่าวมา ไม่สามารถสู้กับธรรมชาติได้มากนัก เพราะคนที่ฉีดอัด ก็ยังร่วงเหมือนเดิมครับ ทุเรียนแพ้ฝนครับ

    • @raipadayphulanka
      @raipadayphulanka 2 ปีที่แล้ว +1

      @@Yamkaset ครับพี่ วันนี้ก็ตกครับ มาชัยภูมิแวะมาเที่ยวนะครับ คึดฮอด

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +1

      ปีนี้ ขนาดในถิ่นทุเรียนเอง เราก็ยังทำสวนยากเลยครับ เกษตรกรรุ่นเก่าๆยังบ่น

  • @britc.7521
    @britc.7521 2 ปีที่แล้ว +3

    สาหร่ายพ่นแล้วช่วยการแตกใบอ่อนหรือเปล่าคะ ชอบใส่สาหร่ายผงทุกครั้งที่พ่นปุ๋ยพ่นยา รู้สึกทุเรียนแตกใบอ่อนแดงทั้งสวนเลยค่ะ ดอกก็กำลังบาน

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +4

      สาหร่ายทะเล สกัด จะได้ ฮอร์โมนไซโตไอนินและน้ำตาลโพลีแซคคาไรด์ มีผลต่อการแตกใบอ่อนครับ เพราะหน้าที่ฮอร์โมนคือ แบ่งเซลล์ ขยายขนาดเซลล์ กระตุ้นการแตกใบ แตกตา ควรใช้ในระยะวิกฤติ ใบถูกทำลาย ใบไม่สมบูรณ์
      มีบางคนเอามาเป็นสูตรเปิดตาดอก ดึงให้ขั้วยาวเช่นกัน
      ปกติ ในต้นทุเรียนโทรม และเป็นระยะให้ลูก แนะนำ 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

    • @britc.7521
      @britc.7521 2 ปีที่แล้ว

      @@Yamkaset ขอบคุณมากค่ะ ติดตามตลอดนะคะ รอคลิปลุงนิรันดร์อีกค่ะ อยากให้ทำคลิปชมสวนลุงค่ะ

  • @nachatch812
    @nachatch812 2 ปีที่แล้ว +1

    รบกวนขอทราบ อัตราการใช้ ต่อน้ำ200ลิตรครับ
    ขอบคุณครับ

    • @user-tp8ug9gb5p
      @user-tp8ug9gb5p ปีที่แล้ว +1

      ตอบแทน555 เข้าดูรายละเอียดข้างล่างคลิปพอคร่าวๆได้นะครับ

  • @user-ei8gr6ep4i
    @user-ei8gr6ep4i 2 ปีที่แล้ว +1

    Fcคับอยากถามว่าออกซิน พ่นพร้อมกับ ไนไตรฟีโนเรตได้ไหมคับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +2

      ปกติ ชาวสวนพ่นพร้อมกันอยู่แล้วครับ และในทางเคมี ก็ถือว่า พ่นได้เลยครับผม

    • @user-ei8gr6ep4i
      @user-ei8gr6ep4i 2 ปีที่แล้ว

      🤟🙏🤟🙏

  • @user-iz6tu7tb6x
    @user-iz6tu7tb6x 2 ปีที่แล้ว +1

    อ็อกซินทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติมโตของพืช

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว

      ครับ ใช่ครับ

  • @biggh11m3
    @biggh11m3 ปีที่แล้ว

    ขอถามแอดหน่อยคับ.ออกซินที่รุ้ๆมันยุ่ที่ยอดทำให้ยอดเดิน.แล้วเวลาเราเอามาฉีดตอนลูกกำลังติด(ผสมดอก)หรือตอนลูกเท่าใข่ไก่.ลูกจะไม่หลุดหรือคับ.ผมปลุกแตงโม.การเอาลูกเดียวต่อต้นมันเปนเรื่องปกติ.แต่ผมต้องการต้นหนึ่ง2-4ลูก.ผมเริ่มทดลองทำ.ทุเรียนมีลูกเยอะและใย่.การทำงานของทุเรียนน่าจะใช้กับแตงโมใด้.

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณสำหรับข้อสังเกต พวก แตงโม ทั้ง แตงไทย และแตงเทศ (เมล่อน) การให้ติดมากกว่า 1 ผล ทำได้ โดยไม่ต้องใช้ออกซิน แต่โดยทั่วไป จะทำให้ผลเล็กครับ ส่วนการใช้ออกซิน ที่เห็นทำให้ลูกติดมากๆ จะเป็นแตงกวครับ

  • @user-fh9ob6ti7v
    @user-fh9ob6ti7v 2 ปีที่แล้ว +1

    แล้วยาฆ่าแมลงละคะตอนดอกบานจะใช้อะไรยังไง

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว

      จริงๆ ใช้ยาได้ทุกยาครับ เพียงแต่ว่า ต้องเป็นช่วงวิกฤติเท่านั้น เพราะระยะดอกบาน ถ้าฉีดยาก็ต้องปัดดอกเอง หรือต้องใช้ลมเป่า

  • @user-wn8di2zv3y
    @user-wn8di2zv3y 2 ปีที่แล้ว +2

    โปรตีน+น้ำตาลทางด่วนฉีดช่วงหางแย้ได้ไหมคับ ฝนหนักมาก

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +2

      สามารถฉีดได้ครับ

    • @user-wn8di2zv3y
      @user-wn8di2zv3y 2 ปีที่แล้ว

      @@Yamkaset ขอบคุณคำแนะนำคับ

  • @user-yj1fh6hx2p
    @user-yj1fh6hx2p 2 ปีที่แล้ว +1

    ทุกวันนี้ชาวสวนอาบยาทุเรียนคือพ้นเปียกเลยคับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +2

      เจออยู่หลายครั้งครับ บางทีบอกเขาก็ไม่เข้าใจ

  • @user-nj3ld7qe7r
    @user-nj3ld7qe7r 2 ปีที่แล้ว

    สารอ๊อกซินใช้อัตราเท่าไหร่ต่อน้ำ 200 ลิตร ครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +1

      20 cc ครับผม

  • @Koonarong
    @Koonarong 2 ปีที่แล้ว +2

    อยู่​จังหวัด​ไหน​ครับ​

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว

      ในคลิปนี้ เป็นแปลงทุเรียน ที่ อำเภอ ขลุง จันทบุรีครับ

  • @keang8081
    @keang8081 2 ปีที่แล้ว +1

    พ่นที่ใบรึช่อดอกครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +2

      ถ้าพ่นขึ้นลูก พ่นที่ช่อลูกครับ แต่ถ้าหาก พ่นช่วยใบ ให้พ่นที่ใบ
      หลักการหนึ่งของพวกอาหารทางใบ คือ ต้องการให้สารทำงานตรงไหน ให้พ่นตำแหน่งเซลล์อ่อนๆ ตรงนั้น เช่น ลูกอ่อน ใบอ่อนครับ

  • @taltaltal7311
    @taltaltal7311 2 ปีที่แล้ว +1

    ทุเรียนแตกใบอ่อนช่วงหัวกำไรจะมีผลต่อดอกและการติดลูกไหมครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +2

      หัวกำไล ต้องเร่งใบให้แก่ครับผม ใช้ อาหารทางใบ + Mg ครับ

    • @taltaltal7311
      @taltaltal7311 2 ปีที่แล้ว

      @@Yamkaset ขอบคุณครับ

  • @Mo-sq1it
    @Mo-sq1it ปีที่แล้ว

    ออกซินพ่นตอน ดอกหัวกำไล ก่อนดอกบานได้มั้ย เพื่อเพิ่มการติดลูก

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  ปีที่แล้ว +2

      มีคนพ่นนะครับ พ่นก่อนดอกบาน กับหลังดอกบาน ห่างกัน 7 วัน แต่ผลลัพธ์ ยังไม่เคยตามผลอย่างจริงจังว่า ที่ติดลูก เป็นเพราะ ออกซิน กี่ % ครับ
      การฉีด ออกซิน อย่าฉีดเกิดกว่าอัตตรากำหนดครับ เพราะมีผลให้ดอกร่วงได้เช่นกัน

  • @anirutthongkan455
    @anirutthongkan455 2 ปีที่แล้ว

    ไฟรถจิบครับ

  • @user-en9vg1nl8n
    @user-en9vg1nl8n 2 ปีที่แล้ว +1

    ผสมยาเพลี้ยกับยาราได้ไมคับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +1

      สามารถผสมกันได้ ถ้าหากเป็นสารประเภทเดียวกัน เช่นละลายในน้ำ ต้องระวังพวก ละลายในน้ำมัน หรือพวกไวท์ออยครับ

  • @user-tk8hg5wd5q
    @user-tk8hg5wd5q 2 ปีที่แล้ว +1

    แล้วการพ่นทางใบล่ะครับ ได้ผลสักกี่เปอเซนต์

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +3

      ประมาณ 2.5 - 5% เพราะ ปากใบมีขนาดเล็กมากและไม่ได้มีไว้สำหรับดูดน้ำเข้า แต่มีไว้สำหรับหายใจ ช่องปากใบเวลาเต่ง เปิดสุด ก็กว้างพอที่จะให้โมเลกุลของ อะมิโน (ซึ่งถือว่าเล็กสุดแล้ว) ผ่านไปได้เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีช่องข้างๆ ปากใบ ที่เป็นช่องเปิดรับสารเข้าไปได้
      สำหรับตัวเลขที่ผมกล่าวมาข้างต้น เป็นข้อมูลจากงานวิจัยเท่านั้นครับ ปัจจุบัน ที่ชาวสวนใช้กันแล้วได้ผล เพราะพ่นปริมาณมากพอ และพ่นในจังหวะที่ถูกต้องเพียงพอ การใช้ปุ๋ยทางใบ อาหารทางใบ ถือเป็นสิ่งจำเป็นกรณีที่อยู่ในภาวะวิกฤติ พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสง สร้างอาหารได้เองครับ

    • @user-tk8hg5wd5q
      @user-tk8hg5wd5q 2 ปีที่แล้ว

      @@Yamkaset ขอบคุณมากครับ

  • @Manlifestyle
    @Manlifestyle 2 ปีที่แล้ว

    แต่ละพู น่าจะมี 5 เมล็ดมั้ยครับ 😊

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +3

      ในชีวิตจริง เจอ พู 5 เม็ดนี่ปลาบปลื้มมากครับ ผมสังเกตว่า ถ้ามีพู 5 เม็ด มักจะมีแค่ 3 พู แต่ถ้า หาก 3-4 เม็ด มีโอกาสเจอ 4-5 พู คละกันไปครับ
      ในทางวิชาการ เขาเอาค่าเฉลี่ย คือ 3 ครับ :-) แต่ชีวิตจริงก็เจอ 4-5 บ่อยๆครับ

    • @Manlifestyle
      @Manlifestyle 2 ปีที่แล้ว +1

      ถ้ามองถึงสรีระ น่าจะมี 5 เมล็ดนะครับ แต่อัตราการผสมติดจริงๆ เราเจอแค่ 3-4 เป็นส่วนมาก อยากให้พี่ยามอธิบายให้เกษตรกรได้เข้าใจประมาณนี้ครับ ผมไม่ได้ต้องการอะไรนะครับ เพียงแค่อยากช่วยเสริมให้เกษตรกร ได้ทราบถึงตัวเลขของจำนวนเมล็ดที่แท้จริงเท่านั้นครับ ถ้าผมแสดงความคิดเห็นผิดไป ต้องขออภัยด้วยนะครับ 😊

  • @user-fg8ie3oi7p
    @user-fg8ie3oi7p ปีที่แล้ว

    ชีดเจนร่ะ

  • @user-ef5pp6qs7t
    @user-ef5pp6qs7t ปีที่แล้ว +1

    ของของเรา.. ถ้ามันเป็น​ของเรา.. มันก้จะต้อง​อยู่​กับเรา... เหมือนช่วงผลอ่อนทุเรียน​ 5555

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  ปีที่แล้ว

      เวลาร่วงเยอะๆ ใจหายอยู่ครับ

  • @user-gm9qo6qv8m
    @user-gm9qo6qv8m 2 ปีที่แล้ว +3

    ผมดูคลิปทุเรียนมาสองปีแล้วครับแต่ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าหนามทุเรียนช่วงไข่ไก่ช่วงกระป๋องนมทำไมบางลูกหนามเล็กบางลูกหนามใหญ่ครับเพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้นจะแก้ยังไงครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +5

      ถ้าสังเกต หนามถี่ เปลือกบาง หนามห่าง เปลือกหนา สิ่งที่สร้างเปลือกให้หนาคือ N ไนโตรเจน ปกติ ถ้าทุเรียนสาว เราเรียก เข้ โบ้
      แต่ถ้าหากทุเรียนอายุมากแล้ว ลูกจะเปลือกบาง แต่บางลูกในต้นเดียวกันก็ยังมีเปลือกหนา เพราะ ความสามารถในการดึง N แตกต่างกันครับ
      เคยนั่งคุยเรื่องนี้กับเจ๊จุ๋ม เจ๋จุ๋ม เริ่มตั้งแต่ลูกเท่าไข่ไก่ ค่อยๆ ดูว่าหนามถี่ขนาดไหน แล้วใส่ปุ๋ย ไม่เน้นตัวหน้า ใส่ไป ดูหนามไป แล้วก็สามารถทำทุเรียนหนามถี่ เปลือกบางได้ครับ
      การแก้ไข ถ้าหากในต้นเดียวกัน ลูกหนามถี่ห่าง ต่างกัน ลองสังเกตว่าเป็นตรงไหน ส่วนครึ่งล่างจะหนามห่าง ใช่มั้ย ครับ
      การแก้ไขคือ การคุมปุ๋ย ร่วมกับการเริ่มสังเกตตั้งแต่ระยะไข่ไก่ครับ

  • @user-eh7ed5ly5w
    @user-eh7ed5ly5w 2 ปีที่แล้ว +2

    ช่วงหางแย้เราควรให้นำ้กี่นาทีครับพี่ยามผมหัดทำทุเรียนครับทุเรียน6ปีครับพี่ขอให้พี่เฮงๆรวยๆนะครับสุขภาพแข็งแรงนะครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +1

      พอหางแย้แล้วเริ่มให้น้ำเต็มที่ได้ครับ

  • @Nawaphon_xx
    @Nawaphon_xx 2 ปีที่แล้ว +1

    พึ่งได้ความรู้ใหม่เลยครับทุเรียนผมโทรมมากๆกิ่งใบตายหมดติดลูกก็ร่วงหมดไม่รู้ว่าควรบำรุงตรงไหนก่อนเลยลองตัดกิ่งที่ตายเหมือนมีตัวอะไรเล็กๆดำๆอยู่ในเนื้อไม้ด้วยครับ

    • @Yamkaset
      @Yamkaset  2 ปีที่แล้ว +1

      ถ้าโทรมมาก ต้องบำรุงต้นก่อนครับ ถ้าหากมีดอก ให้ตัดใจ เอาดอกทิ้งก่อน เอาต้นไว้ครับ ค่อยบำรุงไป