ทำอย่างไร จิตถึงจะปล่อยวางได้?

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 ก.ย. 2024
  • 1) ลักษณะธรรมชาติของจิตที่หลงยึดมั่นถือมั่นหรือที่เรียกว่า "อุปาทาน"
    2) ความเข้าใจที่ถูกต้องที่นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความปล่อยวาง
    3) การฝึกจิตให้ค่อยๆสังเกตเห็น "ความไม่เที่ยง" จะช่วยให้เกิดปัญญาให้จิตเกิดอาการคลายออก
    อ่านถอดเสียงบทความนี้ : dungtrinanswer....
    ************************************************************************
    รายการดังตฤณวิสัชนาเป็นการตอบคำถามธรรมะโดยคุณดังตฤณ
    สามารถส่งคำถาม พูดคุย และรับฟังรายการออนแอร์ของคุณดังตฤณได้ที่
    / dungtrin
    ************************************************************************
    ฟังย้อนหลังได้ที่ www.dungtrin.ne....
    หรือที่ spreaker.com/sh... ซึ่งมีตัวเลือกให้ download
    ถอดเสียงเป็นตัวอักษร askdungtrinfc.w...
    ************************************************************************

ความคิดเห็น • 56

  • @chuleepornkitiviriyakul8225
    @chuleepornkitiviriyakul8225 9 ปีที่แล้ว +12

    ทำอย่างไร จิตจึงจะปล่อยวางได้
    ถาม : การปล่อยวาง การไม่คิดถึงสิ่งที่ทุกข์ หรือคิดถึงความทุกข์ให้น้อยที่สุด
    เราต้องเริ่มจากอะไรก่อน และทำอย่างไรให้คิดถึงเรื่องทุกข์น้อยที่สุด
    ตอบ : ความทุกข์ ถ้าหากว่ามันเกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เป็นทุกข์อย่างหนัก
    ก็ขอให้มองว่าใจมันยึดเรื่องนั้นๆอย่างเหนียวแน่น
    คือพุทธศาสนาชี้เข้ามาที่อาการของใจเป็นสำคัญเลยตรงนี้ว่าใจยึดหรือไม่ยึด
    ถ้าหากว่ายังยึดอยู่ท่านเรียกว่ามีอุปาทาน
    อุปาทานในความหมายที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้คือ สำคัญผิด ซึ่งมันก็เป็นความสำคัญผิดจริงๆ
    แต่โดยอาการของใจ โดยศัพท์ของอุปาทานที่ใช้ในทางพุทธศาสนา
    หมายถึงอาการยึดมั่นถือมั่น หลงยึดมั่นถือมั่นแบบสำคัญผิด
    นึกว่าอะไรนั้นมันเป็นของๆตัว อะไรนั้นมันเกี่ยวข้องกับตน
    ด้วยความยึดมั่นถือมั่น ลักษณะของจิตที่มันกำอะไรอย่างหนึ่งแน่น
    ยิ่งยึดมากเท่าไหร่ ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งที่มันไม่น่าชอบใจ
    มันเป็นสิ่งที่น่าขัดเคือง ยึดเข้าแล้วมันมีแต่ความทุกข์
    ส่วนถ้าหากว่าเรายึดสิ่งที่น่าพอใจ บุคคลอันเป็นที่รัก
    หรือว่าข้าวของอันถูกอกถูกใจ อย่างนี้ยึดแล้วดูเหมือนกับว่ามีความสุข
    แต่ว่าเป็นความสุขในแบบที่จะเป็นเชื้อของความทุกข์เมื่อต้องพรากจาก
    เพราะว่าพุทธศาสนาบอกว่าทุกข์อันดับต้นๆทุกข์อันดับหนึ่ง
    ก็คงไม่พ้นจากการพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก หรือว่าสัตว์เลี้ยง หรือว่าสิ่งของที่เราพิศวาสมาก
    ยิ่งพิศวาสเท่าไหร่ยิ่งมีต้นเหตุ ยิ่งมีเชื้อของความทุกข์มากขึ้นเท่านั้นทวีเป็นเงาตามตัว
    พูดง่ายๆว่ารักมากก็ยึดมาก ยึดมากก็เป็นต้นเหตุของทุกข์มาก
    ถ้าหากว่าเรามองอาการของใจว่ามันยึดมั่นถือมั่นมากแล้วมีความทุกข์มากอย่างนี้
    ด้วยความเข้าใจอย่างนี้ แล้วเล็งไปที่อาการของจิต
    เราจะเห็นว่าตราบใดที่ใจมันยังมีอาการยึดอยู่
    ตราบนั้นมันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่คิดถึงสิ่งที่เรากำลังยึด
    สิ่งนั้นอย่างไรๆก็ต้องผลิตความคิดขึ้นมา คือตัวอาการยึดสิ่งนั้น
    อย่างไรก็ต้องผลิตความรู้สึก จะเป็นสุขจะเป็นทุกข์
    หรือว่าจะเป็นความคิดแย่ๆ หรือเป็นความคิดดีๆอะไรก็แล้วแต่ มันจะยืนพื้นอยู่บนสิ่งที่เรายึดไว้นั้น
    อย่างเช่นถ้าหากว่าข้าวของแตกพังไป แล้วเรายังมีใจที่ยึดอยู่กับข้าวของนั้น
    ยังไงๆความคิดต้องออกมาว่า เสียดายจัง โธ่เอ๋ยนี่ถ้าไม่มีใครปัดตก ถ้าตอนนั้นเอาขึ้นที่สูงกว่านี้นะ
    มันจะมีสมมติขึ้นมาสารพัด แล้วก็จะเสียดายอดีต
    เสียดายที่ไม่อย่างนั้น เสียดายที่ไม่อย่างนี้ แล้วยิ่งเกิดความเสียดาย
    แล้วไปสมมติมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งมีอาการเพ้อ ยิ่งมีอาการเหมือนจะคุ้มคลั่ง
    มีอาการเหมือนอยากจะย้อนเวลากลับไปให้ได้ ตรงนี้เรียกว่าทุกข์ต่อทุกข์
    จินตนาการต่อสิ่งที่ล่วงไปแล้วหรือไปพยายามสมมติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
    ใจมันก็ยิ่งมีความกระสับกระส่าย มีความเร่าร้อน มีความรู้สึกว่ามันไม่สามารถจะถอนออกไปได้
    เพราะว่าเหมือนกับอาการของจิต อาการของใจ
    แทนที่มันจะค่อยๆคลายออกมาตามกาลเวลาที่ผ่านไป
    มันกลับกลายเป็นว่า ยิ่งคิดมันยิ่งไปผูกพัน ยิ่งไปกำให้มันแน่นขึ้น
    จากเดิมที่สมมติว่ากำแน่นอยู่ห้า ยิ่งคิดขึ้นมากเท่าไหร่มันก็จะกลายเป็น
    กำหก กำเจ็ด กำแปด กำเก้า จนกระทั่งถ้าถึงจุดหนึ่ง กำสิบ กำเต็มที่แบบไม่มีช่องว่าง
    ไม่มีโอกาสปล่อยออกมาเลย เราจะรู้สึกถึงความยึดมั่นเหนียวแน่นเกินกว่าจะถอดถอนออกมาได้
    ถึงตอนนั้นเราจะมาถามหาวิธี ดูเหมือนกับว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
    เอาล่ะถ้าหากว่าดูจากหลักการเจริญสติของพุทธศาสนาท่านให้ทำอย่างไร
    ก่อนอื่นเลยเราทำความเข้าใจง่ายๆว่า ทุกข์หรือว่าอาการที่มีการกระสับกระส่าย
    มีความร้อน มีความไม่สามารถที่จะอยู่เย็นได้ของจิต
    เป็นเพราะว่ายึดเปล่าๆแล้วก็เกิดความรู้สึกว่ามันทุกข์ไปเปล่าๆ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านั้น
    อันนี้ทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกก่อนนะครับ
    ถามว่าต้องเริ่มจากอะไร ต้องเริ่มจากความเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจธรรมชาติของจิตแล้ว
    มันก็จะไม่มีลำดับการปฏิบัติที่จะถูกฝาถูกตัว
    ส่วนใหญ่จะไปเริ่มกันจากอุบาย ให้คิดอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้
    ซึ่งมันเหมือนกับการปลอบประโลมแค่เพียงชั่วครั้งชั่วคราว
    แต่ถ้าหากเราทำความเข้าใจว่าทั้งหลายทั้งปวงมีแค่จิตยึดกับจิตปล่อย มีอยู่แค่สองอย่างนี้
    เราก็จะได้หลักการปฏิบัติ แนวทางการปฏิบัติที่เป็นสากลใช้ได้ตลอดชีวิตที่เหลือ
    หลังจากที่เราเข้าใจได้แล้วว่า จิตมีแต่ยึดกับปล่อย เราก็ตั้งคำถาม ตั้งโจทย์ว่า
    ทำอย่างไรจิตมันถึงจะมีอาการปล่อย ถึงจะมีอาการคลาย
    พระพุทธเจ้าตรัสว่าอนิจสัญญา หรือว่าความเห็นว่าไม่เที่ยง
    สามารถครอบงำความสุขความทุกข์ทั้งปวง
    หรือแม้กระทั่งอุปาทานสำคัญมั่นหมายผิดๆ
    คือพูดง่ายๆว่าอาการยึดมั่นถือมั่นมันจะสู้อาการเห็นความไม่เที่ยงไม่ได้
    ถ้าจิตเห็นอยู่ ถ้าจิตจดจ่อเห็นความไม่เที่ยงไม่เท่าเดิม
    ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็แล้วแต่อะไรอย่างนั้นมันจะคลายออก
    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราสังเกตอยู่ว่า เรามีความทุกข์ เรามีความอึดอัด
    ในนาทีนี้สมมติว่า บอกตัวเองว่า ยึดมาก-ทุกข์มาก
    ลองสังเกตว่านาทีต่อไปนึกขึ้นมาเล่นๆ ดูเข้ามาเล่นๆ
    ว่ามันยึดเท่าเดิม ทุกข์เท่าเดิม หรือว่ามันน้อยลง
    การที่เราค่อยๆเห็นไปทีละนิด สังเกตเข้ามาว่า
    อาการยึด อาการแน่น อาการเค้น หรืออาการเหมือนกับโศกเศร้า
    อยากครำ่ครวญหรือว่าอยากที่จะรินน้ำตาออกมา มันมีไม่เท่าเดิมในแต่ละนาที
    เราจะค่อยๆเกิดปัญญา ตัวปัญญาที่เห็นว่ามันไม่เที่ยงจะทำให้จิตเกิดอาการคลาย
    คือมันจะรู้ขึ้นมาเองว่ากำอยู่ เหมือนมือนี่กำอะไรเปล่าๆเป็นอาการอย่างหนึ่ง
    แล้วพอกำไปแล้วไอ้ของที่กำอยู่มันไม่เที่ยง มันเหมือนกับกำก้อนอะไรที่มันไม่คงที่เปลี่ยนรูปได้
    มันก็จะมีอาการเหมือนกับปล่อยมือ คลายมือออกมาตามธรรมดาธรรมชาติของจิตที่ฉลาดขึ้น
    อันนี้ก็ขอให้ลองดูก็แล้วกัน แค่ลองแค่นี้แหละ
    ว่าสังเกตความยึดว่ามันมากหรือมันน้อย ถ้าสังเกตเป็นนาทีได้ ก็สามารถจะสังเกตแต่ลมหายใจได้
    แต่ละลมหายใจนี่ความยึดไม่เท่ากัน

  • @schaokasem
    @schaokasem ปีที่แล้ว

    สาธุครับ

  • @chanphentiktok5134
    @chanphentiktok5134 8 ปีที่แล้ว +1

    สาธุๆค่ะ

  • @user-ex1nj7gf8g
    @user-ex1nj7gf8g 6 ปีที่แล้ว

    สาธุๆๆขอให้ท่านได้มรรคปลนิพพาน

  • @likitchenpairojskul7762
    @likitchenpairojskul7762 7 ปีที่แล้ว +2

    สาเหตุท่ีทำให้ปล่อยวางไม่ได้เพราะใจท่ีเราควบคุมไม่ได้เข้าไปยึดสิ่งต่างๆท่ีเราเห็นว่าสำคัญด้วยการคิดของมันเองและท่ีเราปล่อยวางไม่ได้เพราะเกิดจากการท่ียังมีความอยากซ่อนอยู่ในเรื่องนั้น การปล่อยวางจะเป็นไปไม่ได้หากว่ายังมีความอยากอยู่เพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิดอุปทาน ดังนั้นหากจะปล่อยวางต้องกำจัดความอยากก่อนด้วยการมีสำมาฐิติการเห็นชอบว่าสิ่งต่างๆมันไม่เที่ยงท้ายท่ีสุดเราก็ต้องตาย ไม่ว่าคุณเป็นใครคุณเป็นอย่างไรคุณก็ต้องตายวันหนึ่งจึงไม่ควรท่ีจะไปจริงจังกับสิ่งใดหรือเห็นว่าสิ่งต่างๆท่ีถูกสมมุติว่าถูกต้องนั้นสำคัญเพราะถ้าคุณยึดถือว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้สำคัญคุณก็จะเกิดความอยากโดยไม่รู้ตัวและเกิดทุกข์ตามมา จึงต้องค่อยฝึกฝนการมองในลักษณะนี้

  • @aorkitty2242
    @aorkitty2242 9 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากมากค่ะ คลายความเศร้าได้ค่ะ

  • @vdoer
    @vdoer 8 ปีที่แล้ว

    อนุโมทนาครับ ขอบคุณมากครับ ฟังแล้วรู้สีกดีจริง ๆ ครับ

  • @sebastiane3838
    @sebastiane3838 10 ปีที่แล้ว

    สาธุ ครับ ขอบคุณจริงๆครับ

  • @user-nk8ir1ev3p
    @user-nk8ir1ev3p 6 ปีที่แล้ว

    อนุโมทนาบุญค่ะ อ.🙏🙏🙏😊

  • @lekzythai
    @lekzythai 9 ปีที่แล้ว

    ผมกำลังเป็นอยู่ครับ ยึดอยู่กับอดีต ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง คิดฟุ้งซ่านกับอนาคตอีก ไม่สามารถอยู่กับปัจจุบันจิต

  • @agisz3747
    @agisz3747 8 ปีที่แล้ว

    สาธุ ครับ

  • @aemy2228
    @aemy2228 6 ปีที่แล้ว

    ใข่เลยค่่ะ ขอบคุณนะคะ

  • @teateatime6747
    @teateatime6747 10 ปีที่แล้ว +1

    สาธุธรรม "ทำอย่างไร จิตถึงจะปล่อยวางได้?" ดังตฤน .. 1) ลักษณะธรรมชาติของจิตที่หลงยึดมั่นถือมั่น
    ­หรือที่เรียกว่า "อุปาทาน"
    2) ความเข้าใจที่ถูกต้องที่นำไปสู่การปฏิบัติ­เพื่อความปล่อยวาง
    3) การฝึกจิตให้ค่อยๆสังเกตเห็น "ความไม่เที่ยง" จะช่วยให้เกิดปัญญาให้จิตเกิดอาการคลายออก

  • @nitaj.2137
    @nitaj.2137 6 ปีที่แล้ว

    ชอบหัวข้อนี้มาก.

  • @dexthai6474
    @dexthai6474 7 ปีที่แล้ว

    อยู่กับแฟนมาตลอด แต่อีก 2 เดือนหน้า จะต้องไปเรียนที่อื่นแล้ว ฝันร้ายทุกคืนครับ ร้อนรุ่มตลอดเวลา จิตใจร้อนรน เป็นห่วงเขา กลัวจะเกิดอะไรกับเขา เขาเป็นคนอ่อนแอค่อนข้าง แล้วก็ดื้อรั้นครับ ต้องให้เราดูแลตลอด คิดมากจริงๆ

  • @pitchayananwaenpet2176
    @pitchayananwaenpet2176 4 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากค่ะ

  • @user-ex1nj7gf8g
    @user-ex1nj7gf8g 6 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @chomveluwan
    @chomveluwan 10 ปีที่แล้ว

    สาธุ ขอบคุณค่ะ ;)

  • @arangphosi196
    @arangphosi196 4 ปีที่แล้ว

    สาธุ

  • @กุหลาบหนามคม-จ1ษ
    @กุหลาบหนามคม-จ1ษ 7 ปีที่แล้ว

    จะพยายามค่ะไม่ยึดมั่นถือมั่น

  • @manteerasak131
    @manteerasak131 9 ปีที่แล้ว +9

    ผมโดนสังคมนินทาว่าด่าแม้กระทั่งคูบาอาจานกับคนในสังคมยังไม่มีคัยให้กำลังใจผมเลยเหนื่อยกับชีวิตคับผมต้องปล่อยวางถึงยูได้

    • @decho2074
      @decho2074 8 ปีที่แล้ว +1

      เอาใจช่วยนะ เราก็พยายามอยู่เหมือนกัน มาพยายามด้วยกัน

    • @natcha5396
      @natcha5396 6 ปีที่แล้ว

      เป็นกำลังใจให้ค่ะ ไม่ต้องไปสนใจค่ะ สู้ๆ

    • @eiei6403
      @eiei6403 6 ปีที่แล้ว

      ไปทำอะไรไม่ดีเขาถึงด่ารึเปล่า...?

    • @montchye
      @montchye 5 ปีที่แล้ว

      ธรรมชาติเดิมของมนุษย์จะมีความอยากให้คนอื่นยอมรับเป็นธรรมดา มันเป็นความยึดถือที่บางทีเราไม่รู้ตัว ถ้าเราพิจารณาแล้วว่าได้ทำสิ่งที่ถูก ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ก็ไม่ต้องกังวลอะไร สรรพสิ่ง(ทั้งภายนอกและภายในใจ) ล้วนไม่คงที่ แปรเปลี่ยน เป็นไปตามเหตุปัจจัย

  • @sarahome7379
    @sarahome7379 7 ปีที่แล้ว +3

    ขอยคุนค่ะ ทำยากมากค่ะแต่ก้จะปล่อยวางให้ได้ค่ะ

  • @mochay17
    @mochay17 9 ปีที่แล้ว +2

    **ทำอย่างไร จิตจึงจะปล่อยวางได้
    ๐ ถาม : การปล่อยวาง การไม่คิดถึงสิ่งที่ทุกข์
    หรือคิดถึงความทุกข์ให้น้อยที่สุด
    เราต้องเริ่มจากอะไรก่อน
    และทำอย่างไรให้คิดถึงเรื่องทุกข์น้อยที่สุด
    ๐ ตอบ : ความทุกข์ ถ้าหากว่ามันเกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    เรื่องที่เป็นทุกข์อย่างหนัก ก็ขอให้มองว่า
    ใจมันยึดเรื่องนั้นๆอย่างเหนียวแน่น
    คือพุทธศาสนาชี้เข้ามาที่อาการของใจเป็นสำคัญเลย
    ตรงนี้ว่าใจยึดหรือไม่ยึด
    ๐ ถ้าหากว่ายังยึดอยู่ท่านเรียกว่ามีอุปาทาน
    อุปาทานในความหมายที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้
    คือ สำคัญผิด ซึ่งมันก็เป็นความสำคัญผิดจริงๆ
    แต่โดยอาการของใจ โดยศัพท์ของอุปาทาน
    ที่ใช้ในทางพุทธศาสนา
    หมายถึงอาการยึดมั่นถือมั่น
    หลงยึดมั่นถือมั่นแบบสำคัญผิด
    นึกว่าอะไรนั้นมันเป็นของๆตัว
    อะไรนั้นมันเกี่ยวข้องกับตน
    ด้วยความยึดมั่นถือมั่น ลักษณะของจิตที่มันกำอะไร
    อย่างหนึ่งแน่นยิ่งยึดมากเท่าไหร่
    ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น
    ๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งที่มันไม่น่าชอบใจ
    มันเป็นสิ่งที่น่าขัดเคือง ยึดเข้าแล้วมันมีแต่ความทุกข์
    ๐ ส่วนถ้าหากว่าเรายึดสิ่งที่น่าพอใจ
    บุคคลอันเป็นที่รัก หรือว่าข้าวของอันถูกอกถูกใจ
    อย่างนี้ยึดแล้วดูเหมือนกับว่ามีความสุข
    แต่ว่าเป็นความสุขในแบบ
    ที่จะเป็นเชื้อของความทุกข์เมื่อต้องพรากจาก
    เพราะว่าพุทธศาสนาบอกว่าทุกข์อันดับต้นๆทุกข์อันดับหนึ่ง
    ก็คงไม่พ้นจากการพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก
    หรือว่าสัตว์เลี้ยง หรือว่าสิ่งของที่เราพิศวาสมาก
    ยิ่งพิศวาสเท่าไหร่ยิ่งมีต้นเหตุ
    ยิ่งมีเชื้อของความทุกข์มากขึ้นเท่านั้นทวีเป็นเงาตามตัว
    พูดง่ายๆว่ารักมากก็ยึดมาก
    ยึดมากก็เป็นต้นเหตุของทุกข์มาก
    ๐ ถ้าหากว่าเรามองอาการของใจว่า
    มันยึดมั่นถือมั่นมากแล้วมีความทุกข์มากอย่างนี้
    ด้วยความเข้าใจอย่างนี้ แล้วเล็งไปที่อาการของจิต
    เราจะเห็นว่าตราบใดที่ใจมันยังมีอาการยึดอยู่
    ตราบนั้นมันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่คิดถึงสิ่งที่เรากำลังยึด
    สิ่งนั้นอย่างไรๆก็ต้องผลิตความคิดขึ้นมา
    คือตัวอาการยึดสิ่งนั้นอย่างไรก็ต้องผลิตความรู้สึก
    จะเป็นสุขจะเป็นทุกข์ หรือว่าจะเป็นความคิดแย่ๆ
    หรือเป็นความคิดดีๆอะไรก็แล้วแต่
    มันจะยืนพื้นอยู่บนสิ่งที่เรายึดไว้นั้น
    อย่างเช่น
    -ถ้าหากว่าข้าวของแตกพังไป
    แล้วเรายังมีใจที่ยึดอยู่กับข้าวของนั้น
    ยังไงๆความคิดต้องออกมาว่า เสียดายจัง
    โธ่เอ๋ยนี่ถ้าไม่มีใครปัดตก ถ้าตอนนั้นเอาขึ้นที่สูงกว่านี้นะ
    มันจะมีสมมติขึ้นมาสารพัด แล้วก็จะเสียดายอดีต
    เสียดายที่ไม่อย่างนั้น เสียดายที่ไม่อย่างนี้
    แล้วยิ่งเกิดความเสียดาย
    แล้วไปสมมติมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งมีอาการเพ้อ
    ยิ่งมีอาการเหมือนจะคุ้มคลั่ง
    มีอาการเหมือนอยากจะย้อนเวลากลับไปให้ได้
    ตรงนี้เรียกว่าทุกข์ต่อทุกข์
    จินตนาการต่อสิ่งที่ล่วงไปแล้วหรือไปพยายามสมมติ
    ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
    ใจมันก็ยิ่งมีความกระสับกระส่าย
    มีความเร่าร้อน มีความรู้สึกว่ามันไม่สามารถจะถอนออกไปได้
    เพราะว่าเหมือนกับอาการของจิต อาการของใจ
    แทนที่มันจะค่อยๆคลายออกมาตามกาลเวลาที่ผ่านไป
    มันกลับกลายเป็นว่า ยิ่งคิดมันยิ่งไปผูกพัน
    ยิ่งไปกำให้มันแน่นขึ้น จากเดิมที่สมมติว่ากำแน่นอยู่ห้า
    ยิ่งคิดขึ้นมากเท่าไหร่มันก็จะกลายเป็น
    กำหก กำเจ็ด กำแปด กำเก้า
    จนกระทั่งถ้าถึงจุดหนึ่ง กำสิบ กำเต็มที่แบบไม่มีช่องว่าง
    ไม่มีโอกาสปล่อยออกมาเลย
    เราจะรู้สึกถึงความยึดมั่นเหนียวแน่น
    เกินกว่าจะถอดถอนออกมาได้
    ถึงตอนนั้นเราจะมาถามหาวิธี
    ดูเหมือนกับว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
    ๐ เอาล่ะถ้าหากว่าดูจากหลักการเจริญสติ
    ของพุทธศาสนาท่านให้ทำอย่างไร
    ก่อนอื่นเลยเราทำความเข้าใจง่ายๆว่า
    ทุกข์หรือว่าอาการที่มีการกระสับกระส่าย
    มีความร้อน มีความไม่สามารถที่จะอยู่เย็นได้ของจิต
    เป็นเพราะว่ายึดเปล่าๆแล้วก็เกิดความรู้สึกว่า
    มันทุกข์ไปเปล่าๆ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านั้น
    อันนี้ทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกก่อนนะครับ
    ๐ ถามว่าต้องเริ่มจากอะไร
    ต้องเริ่มจากความเข้าใจ
    ถ้าไม่เข้าใจธรรมชาติของจิตแล้ว
    มันก็จะไม่มีลำดับการปฏิบัติที่จะถูกฝาถูกตัว
    ส่วนใหญ่จะไปเริ่มกันจากอุบาย
    ให้คิดอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้
    ซึ่งมันเหมือนกับการปลอบประโลมแค่เพียงชั่วครั้งชั่วคราว
    แต่ถ้าหากเราทำความเข้าใจว่าทั้งหลายทั้งปวง
    มีแค่จิตยึดกับจิตปล่อย มีอยู่แค่สองอย่างนี้
    เราก็จะได้หลักการปฏิบัติ
    แนวทางการปฏิบัติที่เป็นสากลใช้ได้ตลอดชีวิตที่เหลือ
    ๐ หลังจากที่เราเข้าใจได้แล้วว่า
    จิตมีแต่ยึดกับปล่อย เราก็ตั้งคำถาม
    ตั้งโจทย์ว่า
    "ทำอย่างไรจิตมันถึงจะมีอาการปล่อย ถึงจะมีอาการคลาย"
    พระพุทธเจ้าตรัสว่าอนิจสัญญา หรือว่าความเห็นว่าไม่เที่ยง
    สามารถครอบงำความสุขความทุกข์ทั้งปวง
    หรือแม้กระทั่งอุปาทานสำคัญมั่นหมายผิดๆ
    คือพูดง่ายๆว่าอาการยึดมั่นถือมั่น
    มันจะสู้อาการเห็นความไม่เที่ยงไม่ได้
    ถ้าจิตเห็นอยู่ ถ้าจิตจดจ่อเห็นความไม่เที่ยงไม่เท่าเดิม
    ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็แล้วแต่อะไรอย่างนั้นมันจะคลายออก
    ยกตัวอย่างเช่น
    -ถ้าเราสังเกตอยู่ว่า เรามีความทุกข์ เรามีความอึดอัด
    ในนาทีนี้สมมติว่า บอกตัวเองว่า ยึดมาก-ทุกข์มาก
    ลองสังเกตว่านาทีต่อไปนึกขึ้นมาเล่นๆ ดูเข้ามาเล่นๆ
    ว่ามันยึดเท่าเดิม ทุกข์เท่าเดิม หรือว่ามันน้อยลง
    การที่เราค่อยๆเห็นไปทีละนิด สังเกตเข้ามาว่า
    อาการยึด อาการแน่น อาการเค้น
    หรืออาการเหมือนกับโศกเศร้า
    อยากครำ่ครวญหรือว่าอยากที่จะรินน้ำตาออกมา
    มันมีไม่เท่าเดิมในแต่ละนาที
    เราจะค่อยๆเกิดปัญญา ตัวปัญญาที่เห็นว่า
    มันไม่เที่ยงจะทำให้จิตเกิดอาการคลาย
    คือมันจะรู้ขึ้นมาเองว่ากำอยู่
    เหมือนมือนี่กำอะไรเปล่าๆเป็นอาการอย่างหนึ่ง
    แล้วพอกำไปแล้วไอ้ของที่กำอยู่มันไม่เที่ยง
    มันเหมือนกับกำก้อนอะไรที่มันไม่คงที่เปลี่ยนรูปได้
    มันก็จะมีอาการเหมือนกับปล่อยมือ
    คลายมือออกมาตามธรรมดาธรรมชาติของจิตที่ฉลาดขึ้น
    อันนี้ก็ขอให้ลองดูก็แล้วกัน
    แค่ลองแค่นี้แหละ
    ว่าสังเกตความยึดว่ามันมากหรือมันน้อย
    ถ้าสังเกตเป็นนาทีได้
    ก็สามารถจะสังเกตแต่ลมหายใจได้
    แต่ละลมหายใจนี่ความยึดไม่เท่ากัน

  • @lerpongsauwalukparn4775
    @lerpongsauwalukparn4775 9 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ คุณเปนฆารวาสที่เข้าใจในธรรมได้เปนอย่างดี

  • @poopatchareekaewmanee8603
    @poopatchareekaewmanee8603 4 ปีที่แล้ว

    มีเรื่องเดียวเลยค่ะคือความกลัว กลัวทุกเรื่องเลยค่ะ ไม่อยากหาหมอไม่อยากป่วย

  • @janyatanakon9030
    @janyatanakon9030 5 ปีที่แล้ว

    ทุกข์มากค่ะมันอยู่ในจิตใต้สำนึกเลยนอนๆยังสะดุง ตื่นขึ้นมายังเศร้าอยู่เลยค่ะ ใครเป็นบ้างค่ะช่วยแนะนำด้วยค่ะ

  • @iceza9949
    @iceza9949 8 ปีที่แล้ว +3

    คิดปุ้ปน้ำตาร่วงทุกที

  • @nwkaolin5716
    @nwkaolin5716 6 ปีที่แล้ว

    พยายามจะหยุดความคิด (รู้ว่าคิด เบื่อความคิดแต่หยุดความคิดไม่ได้ เหมือนตัวคิดไม่ใช่เรา ) ประมาณว่ามันคิดของมันเองถึงเวลามันก็หยุดคิดเอง (ทำอะไรความคิดไม่ได้) 😓😓😓. (ไม่รู้ว่าใก้ลจะบ้ารึเปล่า😅)

  • @phon_777
    @phon_777 8 ปีที่แล้ว

    พระธรรมวินัย ( ปล่อยวางซึ่งสุขในโลกธรรม ๘ ) โลกมีที่สุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าด้วย" กิน กาม เกียรติ โดยปัญญานั้น มีคุณมาก คือการหยั่งรู้ ซึ่งการวางสุขในโลกธรรม ๘ เหมือนดั่งไม่มีหัวใจ โดยสลัดคืนลมหายใจซึ่งก็คือจิตนี้ ทิ้งให้เจ้าของเดิม คืนให้กับธรรมชาติ ถ้ากำหนดได้ทุกลมหายใจเข้าออกแล้ว ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราได้เลย โดยนัยที่พระตถาคตทรงตรัสไว้ดีแล้วว่า...ข้าไม่ใช่แค่ตาคู่นี้ ข้าไม่ใช่แค่หูคู่นี้ ข้าไม่ใช่แค่ลิ้นลิ้นนี้ ข้าไม่ใช่แค่ร่างกายนี้ ข้าไม่ใช่แค่สตินี้ ข้าไม่ใช่อย่างที่ข้าเห็น ข้าไม่ใช่อย่างที่ข้าได้ยิน ข้าไม่ใช่อย่างที่ข้าได้กลิ่น ข้าไม่ใช่รสสัมผัส ไม่ใช่ความคิดและสิ่งกระตุ้นเร้า ข้าไม่ใช่ภาพนี้ ไม่ใช่เสียงนี้ ข้าไม่ใช่กลิ่นนี้ ไม่ใช่ความคิดนี้ ไม่ใช่รสนี้ ไม่ใช่สตินี้ ข้าไม่ใช่ธาตุของโลกนี้ ข้าไม่ใช่ท้องฟ้า ข้าไม่ใช่อากาศ ข้าไม่ใช่น้ำ ข้าไม่ใช่สติของข้าเช่นกัน ไม่มีธาตุใดรั้งข้าไว้ได้ ชีวิตและความตายจับข้าไม่ได้ ที่ข้ายิ้มนั้น เพราะข้าไม่ได้เกิดและข้าไม่ได้ตาย ชีวิตไม่ได้ให้กำเนิดข้า และความตายก็พรากชีวิตข้าไปไม่ได้ ตัวตนของข้าไม่พึ่งพาชีวิตและความตาย ไม่มีทางเป็นไปได้...
    พระธรรมวินัย ( วางซึ่งสุขในโลกธรรม ๘ )ว่าด้วย" กิน กาม เกียรติ
    ๑.วางลาภ ตัดความกังวลในปัจจัย๔ (ปลิโพธ) ให้มักน้อยในปัจจัย คือให้ละความโลเลในปัจจัย คือ เมื่อได้อย่างดี อย่างปราณีต ก็ให้บริโภค อย่างดีอย่างปราณีต ได้อย่างเลวทรามต่ำช้า ก็ให้บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วย ซึ่งพระภิกษุมีค่าตัวเพียงบาทเดียว ขโมยเงินแม้แต่บาทเดียวก็หมดจากความเป็นพระ แต่พระสังฆาธิการ ตอนนี้มีเงินไม่รู้กี่ล้านต่อกี่ล้าน เพราะฉะนั้นหากตรวจสอบพระสังฆาธิการไม่ได้ ทุกอย่างก็เหลวหมด
    ๒.วางยศ พระมียศถาบรรดาศักดิ์และมีสมณศักดิ์ จนต้องซื้อขายตำแหน่งกันในมูลค่ามหาศาล ในสมัยพุทธกาล พระทุกรูปเสมอภาคกันหมด ไม่ว่าพระที่เป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระที่เป็นลูกจัณฑาล ลูกหญิงโสเภณี มันต้องเสมอภาคกันหมด ไม่มีแบ่งแยก ไม่มีแตกแยก ตามแนวทาง สาราณียธรรม ๖ แต่ในปัจจุบันมีแต่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนเพิ่มมากขึ้น แล้วจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร มีทั้งสมเด็จบ้าง มีเจ้าคุณบ้าง ถ้าถามว่า บริหารเพื่อใคร ถ้าเพื่อตัวเอง ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของการดับทุกข์โดยส่วนรวม ก็รู้ไปเปล่าๆ แล้วพระสมเด็จบางองค์ ท่านอายุน้อย ยึดในตัวตน ก็เลิกเคารพท่านเจ้าคุณที่อาวุโสกว่าไปเลย ทั้งที่หลักอาวุโสของพระภิกษุสงฆ์ มีความสำคัญมาก
    ๓.วางสรรเสริญได้ นินทาก็ไม่ต้อง เกิดตามเห็นตามอีกต่อไป เป็นอันเลิกสนใจไป เห็นเป็นสิ่งไร้แก่นสาร การมาเข้ามาบวชนี้ ก็เพื่อมาละอัตตาตัวตน มาทำตัวให้ต่ำลงมากยิ่งดี เพื่อระงับดับกิเลส ให้จิตใจนั้นเหมือนแผ่นดิน คนที่มีคุณธรรมสูงจะไม่หลงไหลยึดติดกับสมมติต่างๆ เช่น ความสูงต่ำความใหญ่ความโตในฐานะทางโลก แต่จะยึดถือความสูงต่ำในทางธรรม “พระผู้มีพระภาคเจ้าสอนให้ปล่อยให้วางทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง มิให้ยึดติดในอารมณ์อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อารมณ์ที่พอใจหรืออารมณ์ที่ไม่พอใจ เมื่อเกิดขึ้น จงปล่อยวางเป็นกอง ๆ ไว้ ณ ที่นั้น อย่านำมาเก็บไว้แบกไว้” เมื่อ“เขาด่าว่าเราบนบก จงกองคำด่าว่านั้นไว้บนบก อย่านำติดไปในน้ำด้วย เขาว่าเราในน้ำ จงกองคำด่าว่านั้นไว้ในน้ำ อย่านำติตตัวขึ้นมาบนบก เขาด่าว่าในเมือง จงกองไว้ในเมือง อย่านำติดตัวมาจนถึงเชตวันนี้ด้วย”
    ๔.วางสุข ในประสาททั้ง๕ อันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รวมเรียกว่า กามคุณ ๕ เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ ก็เพราะกามนี้เอง เกิดตายเป็นแสนเป็นล้านชาติ เพราะสุขทุกข์มี การยึดมั่นถือมั่นจึงมี เพราะสุขทุกข์ดับ การยึดมั่นถือมั่นจึงดับ ด้วย"สุขกับทุกข์ ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้ว เป็นของติดกันอยู่ ครั้นวางสุข ทุกข์ไม่ต้องวาง มันก็หายไปเอง เข้าสู่พระนิพพานด้วยอาการแบบนี้
    เมื่อใดมีใจเป็นพระผู้ทรงคุณงามความดีที่มีศีลาจารวัตรอันงดงาม ย่อมพบความสุขที่แท้จริง
    พระดี...ดูได้ไม่ยาก ( มักน้อย สันโดษไม่สะสม )
    พระดี...ดูได้จากการสละ ( ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง )
    พระดี...ดูได้จากการวาง ( วางสุขในโลกธรรม 8 )
    พระดี...ดูได้จากการวางตน ( น่าเคารพ )
    พระดี...ดูได้จากศีล ( ไม่เห็นแก่ตัว รักผู้อื่น )
    พระดี...ดูได้จากใจ ( กระทำจิตให้บริสุทธิ์ ขาวรอบ )
    พระดี..จึงประพฤติอยู่ในพระธรรมวินัย ( กระทำหน้าที่โดยสมบูรณ์ )...ดังนี้
    พระพุทธเจ้าฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัท๔ ไม่ได้ฝากไว้กับมหาเถรสมาคม ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็นสิ่งที่ผู้คนทางโลกสมมุติขึ้นมา ในสมัยพุทธกาลก็ไม่มีตำแหน่งนี้ ประมุขแห่งพระพุทธศาสนามีเพียงพระองค์เดียวคือ พระพุทธเจ้า และหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว สิ่งที่ถือเอาเป็นตัวแทนพระองค์พระพุทธเจ้าคือ พระธรรมวินัย ( วางสุขในโลกธรรม๘ )คือการมีธรรมเป็นกาย ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ย่อมเข้าสู่การเป็นพุทธะ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเป็นสงฆ์สายเถรวาท คงต้องห้ามบัญญัติเพิ่ม หรือตัดทอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด ความเจริญก็พึงอยู่ได้ ไม่มีความเสื่อมเลย
    มหาปเทส ๔
    หมวดที่ ๒ เฉพาะในทางพระวินัย
    ๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
    ๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
    ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
    ๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
    จึงเห็นได้ชัดข้อ ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร เมื่อมาพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงให้วางยศถาบรรดาศักดิ์ให้หมดสิ้น แต่ปัจจุบันกลับไปเข้ากันโดยใช้ลำดับอาวุโสโดยสมณศักดิ์ ที่ทางฝ่ายอาณาจักรแต่งตั้งขึ้น ซึ่งขัดกันกับลำดับอาวุโสโดยการเกิดและโดยภูมิธรรม สิ่งนั้นจึงไม่ควร ตามพระธรรมวินัยนี้...
    ดูกร... ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ที่เราประพฤตินั้น มิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่ให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่อลาภสักการะคำสรรเสริญ มิใช่มุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิ หรือแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์ที่เราประพฤตินั้น ก็เพื่อความสำรวม ความละ ความคลายกำหนัด ดับยินดีและความดับทุกข์
    ดูกร...ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราบรรลุนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ปราณีต ไม่ใช่วิสัยของตรรกะหรือคิดเอาเองไม่ได้ หรือลงความเห็นว่าการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอรู้ได้
    ซึ่งจิตที่ฟอกด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวงเป็นไฉน...
    โดยนัย..ที่จักกล่าวโดยละเอียดพิศดาร อันว่าศีลนั้น คือ การรักษาความเป็นปกติ ของการไม่เห็นแก่ตัว มีเมตตา รักผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ส่วนสมาธินั้นเล่า คือ เพ่งสติระลึกถึงความไม่ใช่ตัวตนอยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก
    ส่วนปัญญานั้นมีคุณมาก คือการหยั่งรู้ โดยวางสุขในโลกธรรม ๘ เหมือนดั่งไม่มีหัวใจ โดยสลัดคืนลมหายใจซึ่งก็คือจิตนี้ ทิ้งให้เจ้าของเดิม คืนให้กับธรรมชาติ ถ้ากำหนดได้ทุกลมหายใจเข้าออกแล้ว ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราได้เลย ซึ่งเรานั้นย่อมไม่ได้เกิดและก็ไม่ได้ตาย
    บุคคลทั้งหลายที่มาเป็นศิษย์ของตถาคตนี้ ก็มีความประสงค์ด้วยนิพพาน การที่จะรู้ว่า ดีหรือชั่วกว่ากัน ก็แล้วแต่กิเลสเป็นผู้ตัดสิน ด้วยพระนิพพานเป็นที่ปราศจากกิเลสตัณหา ถ้าผู้ใดเบาบางจากกิเลสตัณหา ก็เป็นผู้ดีกว่าผู้ที่หนาไปด้วยกิเลส ถ้าบุคคลนับถือผู้ที่มีกิเลสมากกว่าผู้ที่ไม่มีกิเลส บุคคลผู้นั้นชื่อว่า "ถือศีล เอาต้นเป็นปลาย เอาปลายเป็นต้น เอาสูงเป็นต่ำ เอาต่ำเป็นสูง ถ้าถืออย่างนี้ ผิดทางพระนิพพานเป็นคนมิจฉาทิฎฐิ พระตถาคตตั้งศาสนาไว้ ไม่ได้หวังให้ผู้หนึ่งผู้ใด บำเพ็ญหาประโยชน์อย่างอื่น ตั้งไว้เพื่อประสงค์ให้บุคคล บำเพ็ญภาวนาเพื่อให้ระงับดับกิเลสเท่านั้น การบำเพ็ญภาวนา ถ้าไม่ได้ทำเพื่อให้ระงับดับกิเลส ก็ได้ชื่อว่า เป็นคนหลงโลกหลงทาง ถ้าผู้ใดไม่ประพฤติตามคำสอนนี้ พึงเข้าใจว่าผู้นั้น เป็นคนนอกพระพุทธศาสนา...ดังนี้
    th-cam.com/video/O0rF0RDxZfI/w-d-xo.html

    • @MyMy-kq4dd
      @MyMy-kq4dd 7 ปีที่แล้ว

      จิต เป็นดั่งลม

  • @ปลายทองดี
    @ปลายทองดี 5 ปีที่แล้ว

    ฟังอยุ่แท้ๆ ยังคิดเลย

  • @teateatime6747
    @teateatime6747 10 ปีที่แล้ว +1

    สาธุธรรม ทำอย่างไร จิตถึงจะปล่อยวางได้? : ดังตฤน

  • @tfhfhfdfhvhjn5265
    @tfhfhfdfhvhjn5265 6 ปีที่แล้ว

    ผมทุกเพราะมีคนมาด่า พระพุทธศาสนา เสียๆหายๆ ครับพอดีผมกดไปเจอคลิปๆนึงผมเห็นแล้วก็ทนไม่ไหวก็เจอชี้แจงให้เขาเข้าใจแต่เขาก็ยังว่าด่าเสียๆหายๆ ผมอยากจะวางเรื่องนี้แล้วครับแต่มันก็นึกคิดเรื่องนี้อยู่อะครับ คือผมอย่างปกป้อง พุทธศาสนา เพราะมี คนมาด่าเขาเป็นคนศาสนาอื่น

    • @montchye
      @montchye 5 ปีที่แล้ว +1

      เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด (ในพระพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าถูกหมิ่นเกียรติก็หลายหน) เรื่องเหล่านี้กำลังเกิด และ เรื่องเหล่านี้ก็คงจะต้องเกิดอึกเป็นธรรมดา
      แก่นของศาสนาพุทธคือความจริงเกี่ยวกับการพ้นทุกข์ นอกนั้นเป็นแค่เปลือกกับกระพี้
      ศาสนาพุทธเองก็วันสิ้นสุด แต่อริยสัจไม่ได้หายไปไหน รอให้พระศาสดาองค์ต่อไปค้นพบและประกาศออกไป
      วิธีที่จะรักษาและปกป้องศาสนานี้ที่ดีที่สุด คือปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มรรคมีองค์ ๘ แล้วจะเข้าใจเองว่าเราไม่ต้องทุกข์เพราะเรื่องเหล่านี้

  • @piniyapornapichottansiri3768
    @piniyapornapichottansiri3768 9 ปีที่แล้ว

    แพลงประวต์หลงปูมั่น

  • @wijakwiwi5214
    @wijakwiwi5214 5 ปีที่แล้ว

    มีใครเปนเหมือนผมอมทุกมาแต่เด้กบ้านผมเปนคนมีชื่อเสียงแต่ดันเราเปนคนขี้อาย ทำอะไรก้ไม่ได้ทำเต้มที่ผมก้เปนคนคิดมาตอลดเรยทำไรก้กว่าคนนินทาใช่ชีวิตได้แค่20เปอเชน จนเปนป่วยเรยคับเฮ้อ

    • @wijakwiwi5214
      @wijakwiwi5214 5 ปีที่แล้ว

      ทุกใจแบบไม่หายเรยท่าไม่ได้เทียวรึเมาลืมทุกอย่างเหนื่อยกับตัวเอง

  • @noknok7286
    @noknok7286 6 ปีที่แล้ว

    หนักมากตอนนี้

  • @nitaj.2137
    @nitaj.2137 6 ปีที่แล้ว

    คงไม่มีอะไรซับซ้อน เท่าจิตอีกเเล้ว

  • @banchawannasopar4924
    @banchawannasopar4924 8 ปีที่แล้ว

    ถั่วต้ม

  • @nattaya8437
    @nattaya8437 9 ปีที่แล้ว

    สาธุๆๆๆๆค่ะ

  • @user-mt7ed4yn4d
    @user-mt7ed4yn4d 6 ปีที่แล้ว

    สาธุครับ

  • @user-wv5sy8cr2c
    @user-wv5sy8cr2c 11 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @Numyai
    @Numyai 5 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากครับ

  • @rungnaphanmura69
    @rungnaphanmura69 9 ปีที่แล้ว

    นึกถึงแต่อดีตตลอดเวลาไม่สามารถปล่อยว่างได้เลยทุกวันนี้คิดมากตลอดเวลาที่โดนดูถูกดูแคลนตลอดเวลามีแต่ความคิดแย่ๆๆทุกวันนี้พยายามทำใจให้ชินกับเหตุกาลที่เจอ

  • @mochay17
    @mochay17 9 ปีที่แล้ว

    สาธุครับ

  • @himeotaku1
    @himeotaku1 11 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะ

  • @rungnaphanmura69
    @rungnaphanmura69 9 ปีที่แล้ว

    นึกถึงแต่อดีตตลอดเวลาไม่สามารถปล่อยว่างได้เลยทุกวันนี้คิดมากตลอดเวลาที่โดนดูถูกดูแคลนตลอดเวลามีแต่ความคิดแย่ๆๆทุกวันนี้พยายามทำใจให้ชินกับเหตุกาลที่เจอ

  • @user-en6lz5im5l
    @user-en6lz5im5l 10 ปีที่แล้ว

    กรรมอะไรมีแต่เรื่องทุกข์ใจในชีวิตและวิธีแก้กรรม

  • @iceza9949
    @iceza9949 8 ปีที่แล้ว +1

    ผมอยู่กับตายายพ่อแม่พามาส่งคิดถึงพ่อแม่มันเป็นตลอดไม่หาย

    • @pop22pop22
      @pop22pop22 8 ปีที่แล้ว

      รักตายายให้มากๆนะคะ เด็กอยู่เราก็เป็น ตอนนี้โตแล้ว รู้เลยใครควรรัก