ประวัติวันสงกรานต์

แชร์
ฝัง

ความคิดเห็น • 6

  • @kanjirow8966
    @kanjirow8966 5 หลายเดือนก่อน +1

    สงกรานต์มาจากขอมและเปลี่ยนเป็นสยามพัฒนามาเป็นไทย ในสมัยขอมพ้ฒนาจากการเล่นสีเทศกาลโพลีนของอินเดียมา ขอมใช้น้ำผสมแป้งดินสอพองเคยเห็นลพบึรีโคราชและอยุธยาทำน้ำอบไทยมีความหอมสกัดจากดอกมะลิใช้ดอกมะลิสดและมะลิป่าจะหอมแช่น้ำใช้ปะหน้าและตามตัว เพราะไทยอยู่เส้นศูนย์สูตรจึงร้อนในช่วง เม.ย. เป็นช่วงพักรบและพักคลายร้อน ญาติๆและไพร่พลจะอยู่รวมพร้อมหน้ากัน จึงเกิดประเพณีงานบุญในวัด และรดน้ำดำหัวขอพรพระและผู้เฒ่าผู้ใหญ่ช่วงบ่ายเริ่มร้อนหนุ่มสาวเล่นน้ำรดให้ทั้งตัวให้เย็นฉ่ำเพราะเมาน้ำจันแป้งมักสาโทจะได้ฟื้นตัวเร็วๆ มันอยู่ในสายเลือดไทยมานมนานแล้ว จำกันเอาไว้ ขอมคือต้นกำหนดวัฒนธรรมและเปลี่ยนมาเป็นสยามหรือเสียมที่จีนเรียก และพัฒนาเป็นไทยปัจจุบัน อยู่ในผืนแผ่นดินนี้ไม่ได้ไปไหนและขอมเผยแพร่วัฒนธรรมนี้ให้ประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่อดัตถึงปัจจุบัน

  • @siwakeanson673
    @siwakeanson673 ปีที่แล้ว +1

    ได้สาระได้ความรู้ ทางประวัติศาสตร์ ดีมากเลยครับ❤😊😊

  • @zatoemonkeyluv
    @zatoemonkeyluv 2 ปีที่แล้ว +3

    คำว่าสงกรานต์ มาจากภาษาบาลี สันสกฤต คือ สํ (สัง) แปลว่า พร้อม กับดี กร (กะระ) แปลว่า การกระทำ หรือว่าโยกย้าย เคลื่อน และอนฺต (อันตะ) ปัจจัย ในความมี ความเป็น สำเร็จรูปเป็น สงกรานต์ (สัง กร อันต) สงกรานต์ แปลว่า กระทำการย้ายพร้อม โยกย้ายพร้อม ตามจันทรคติ คือ ดวงดาวทุกดวง พระอาทิตย์ พระจันทร์ หรือราศี มิน สู่ราศี เมษ ในความมีความเป็น ย้ายไปพร้อมกัน จึงเรียกว่า "สงกรานต์" จากปีเก่าเข้าปีใหม่ แต่ก่อนมา เริ่มเดิมทีเป็นประเพณีของ พราหมณ์ ฮินดู ทำการปะแป้งกัน หรือว่าบางท้องที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ก็จะสาดน้ำกัน ไทยเรารับเข้ามาและได้นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาร่วมด้วย อาทิ นำพระพุทธรูปมาสรงน้ำ ต่อมานำผู้สูงอายุ รวมถึงบรรพบุรุษ ผู้เฒ่าผู้แก่ อัฐิกระดูกบรระบุรุษที่เราเคารพนับถือ มาสรงน้ำทำบุญอุทิศให้ท่าน ในวันดังกล่าว ถือเป็นการกระทำ กตัญญูกตเวทิตาธรรม อย่างหนึ่ง เพื่อความสบายใจ เพื่อความเจริญก้าวหน้า ถือเป็นเป็นเรื่องที่ดีงาม ไทยเราจึงได้รับมาปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อ ๆ กันมารวมทั้งประเทศใกล้เคียง ไทย ลาว พม่า เขมร เป็นต้น บางคนสงสัยว่า คำว่าสงกรานต์ ทำไมถึงต้องเขียนเป็นแบบนี้ เพราะเป็นภาษาบาลี สันสกฤต ขอปุจฉา วิสัชนามาเพื่อเป็นวิทยาทาน คัดจากบทความเรื่องสงกรานต์ ของ พ่อหลวงหนานดวงจันทร์ ครุขยัน แห่งวัดไหล่หินหลวง นครลำปาง มาด้วยประการฉะนี้แล ขอกราบอนุโมทนาสาธุ

    • @zatoemonkeyluv
      @zatoemonkeyluv 2 ปีที่แล้ว

      วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันเนาว์ แปลว่าวันใหม่ มาจาก "นว" แปลว่า ใหม่ ก้าว เก้า ๙ (นว นพ แปลง ว เป็น พ) ทางภาคเหนือเรา เรียกว่า "วันเนาว์" วันเน่าว์ คำพูดเสียงสำเนียง ต่างกันไป ศัพท์เดิม จะมาจาก "นว" หรือ นพ (เนาว์ เนาพ์ เน่าว์)ออกมาอธิบายด้วยความเคารพ(คารวะ)อย่างยิ่ง ต่อประเพณีอันดีงามของ สงกรานต์ ที่เราชาวเหนือเรียกว่า "ปี๋ใหม่เมือง" ด้วยประการฉะนี้แล กราบสาธุ

    • @Decha-bi4es
      @Decha-bi4es 2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณ​ผู้​ให้ความรู้​อย่าง​กระจ่างแจ้ง​ครับ​

  • @user-kh6xt8jr5v
    @user-kh6xt8jr5v 3 หลายเดือนก่อน +1

    เอาตรงนี้ให้เหมนมันดู