The eight stages of release. 1. Remaining in the Fine-Material Sphere, one perceives corporeal forms. 2. Not perceiveing internal corporeal forms, one perceives corporeal forms externally.) 3. One is intent on the thought, “It is beautiful” 4. One attains and abides in the Sphere of Unbounded Space. 5. One attains and abides in the Sphere of Unbounded Consciousness. 6. One attains and abides in the Sphere of Nothingness. 7. One attains and abides in the Sphere of Neither-Perception-Nor-Non- perception. 8. One attains and abides in the Cessation of Perception and Feeling.
เปิดโลกทัศนศึกษามากเลย
บีโธเฟน-เป็นมนุษย์ลวงโลกอย่างไร
คำว่าหูหนวกแปลว่าไม่ได้ยิน ต่างกับหูตึงคือได้ยินแต่ไม่ชัดเจนอย่างคนปรกติ สาเหตุที่หูตึงเพราะบีโธเฟนใช้อุปกรณ์ขยายเสียงของคนหูหนวก เพื่อค้นคว้าทดลองเสียงฮาโมนิคของคอร์ดเทนชั่น เป็นเวลานานจนหูเสื่อม ซึ่งทำให้เขาสามารถประพันธ์เพลงแนวใหม่อันสามารถเปลี่ยนยุคสมัยยุคคลาสิคไปสู่ยุคโรแมนติก ทั้งที่ครูบาอาจารย์ทางดนตรียุคนั้นตำหนิบีโธเฟนว่าผิดหลักวิชาการ การผสมคอร์ดด้วยโน้ตต่างๆเท่าที่เป็นไปได้ทำให้ดนตรีแนวโรแมนติกเป็นที่นิยมแทนดนตรีแนวคลาสสิค ยุคถัดมายิ่งทำให้การผสมเสียงโน้ตแบบไร้ขีดจำกัดจนเกิดความวิปลาส เช่น ดนตรีอิมเพรสชั่นนิสซ์ ดนตรีรัสเซีย ดนตรีแร็กไทม์ ฯลฯ จนกระทั่งทำนองบลูส์ของคนผิวดำได้เข้ามามีอิทธิพลทำให้เกิดดนตรีต่างๆเช่น แจ๊ส ร็อค เมทัล บลูส์ ฟังกี้ ดิสโก้ ฮิปฮอบ แร๊ป เทคโน ฯลฯ ความวิกลจริตของการใช้เสียงประสานจึงได้คลายมนต์ดำลงไป
ก็เป็นไปได้ครับ เพราะระบบเสียง 12 semitone นั้น เสียง harmonic ที่ไม่ใช่ขั้นคู่ perfect มัน dissonance แตกต่างกันไป ชวนให้นำมาทดลองผสมกัน เพื่อสร้างอารมณ์ต่อผู้ได้ยินได้ฟัง
แม้จะใช้เสียงประสานอันวิปลาส สามารถชวนให้ขนลุกในหนังสยองขวัญ แต่บทเพลงก็ได้ทำหน้าที่ของมัน โดยไม่จำกัดว่าถูกหรือผิดทฤษฎี
ครับ
การเสพศิลปะใดๆจนจิตสำเร็จความใคร่คือเจโตวิมุตติ เกิดจากการสนองตอบอัตตาตัวตนจนถึงจุดสุดยอด ไม่ว่าจะเป็นผู้สร้างงานหรือผู้เสพงานล้วนไปไม่พ้นอวิชชา จึงไม่ใช่ทางไปสู่พระอรหันต์อย่างพุทธเถรวาท ดังนั้นการหลุดพ้นอย่างเซนหรือลัทธิศาสนาอื่นไม่ได้ละสังโยชน์ เป็นพระอรหันต์คนละนิยาม การถกเถียงกันแบบพูดไปคนละเรื่องจึงไร้ประโยชน์
การนำดนตรีมารับใช้พระเจ้า ขับร้องบรรเลงกันในโบสถ์ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น ช่วยนำพาจิตให้บรรลุสุดยอดเป็นเรื่องจริง จะเป็นวิปัสสนูกิเลสหรือเจโตวิมุตติก็ตาม สามารถชำระกิเลสหยาบได้ครับ
สำหรับสาวกผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่ได้ ไม่สามารถบรรลุถึงปัญญาวิมุตติ หรือมีความเชื่อเดิมเรื่องพระเจ้าอยู่แล้ว การใช้ศรัทธาร่วมกับการร้องเพลงจึงเหมาะสม ไม่มีอะไรที่ใช้ไม่ได้ อยู่ที่ว่ามันใช้ได้ผลกับใครแค่ไหนครับ
เจริญสติปัฏฐานจิตตั้งมั่นเห็นอารมณ์มากมายเป็นวิปัสสนาจะได้ปัญญาวิมุตติ = วิถีพุทธ(เถรวาท)
ส่วนการใช้ดนตรีเป็นสมถะน้อมนำให้อยู่ในอารมณ์อันเดียวจะได้เจโตวิมุตติ = วิถีคริสต์
พุทธต่างนิกาย ทางใครทางมัน นั่นแล
ช่องปรัชญาครับ...ไม่ใช่ช่อไปนิพพาน
การฟังเพลงทำให้เกิดสมถะสมาธิได้ ซึ่งมี 2 แบบคือสมาธิอันประกอบด้วยสติ(สัมมาสมาธิ) กับสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยสติ(มิจฉาสมาธิ) ผมเชื่อว่าผู้ปฏิบัติธรรมที่เล่นดนตรีเป็นได้เปรียบคนทั่วไป ได้เปรียบจิตรกร เพราะมีสติสัมปชัญญะ ทำให้ได้สมาธิที่รู้เนื้อรู้ตัว ถึงแม้จะไม่ใช่นักดนตรีทุกคนก็ตาม
-ช่างทาสีเขามองมือเคลื่อนไหวไปตามพื้นที่ส่วนที่ทาสีและไม่ทาสี จิตที่อยู่ในอารมณ์เดียวทำให้เกิดสมถะสมาธิโดยไม่ได้ตั้งใจ(ทั้งสัมมาและมิจฉาสมาธิ)
-แต่ละวันมีเรื่องให้ต้องคิดทั้งเรื่องทางครอบครัว การงานและผู้คนที่ต้องพบเจอ ทำให้ช่างทาสีทำงานไปพร้อมกับหลงคิด จิตไม่ได้อยู่กับมือจึงขาดสติใจลอยไปคิดลืมเนื้อลืมตัว สมาธิจึงไม่เกิด
-จิตรกรสร้างสรรผลงานด้วยมือข้างที่ถนัด การเขียนรูปเป็นความเพลินเพลินจนทำให้ลืมเวลาที่ผ่านไป จิตรกรได้สมถะสมาธิโดยไม่ตั้งใจ(ทั้งสัมมาและมิจฉาสมาธิ)
-งานศิลปะเป็นงานที่ต้องใช้จินตนาการและอารมณ์จึงจะสร้างงานได้ไหลลื่น บ่อยครั้งที่จิตรกรฝืนใจเขียนรูปแล้วก็ต้องวางมือเพราะไม่มีสมาธิ
-มีคนหัดเล่นกีต้าร์ที่ไม่ประสบความสำเร็จล้มเลิกไปมากกว่าคนที่เล่นได้เป็น มือกีต้าร์ส่วนใหญ่เป็นคนถนัดขวา กว่าจะเล่นกีต้าร์ได้ต้องฝึกมือซ้ายให้ใช้งานด้วยความพยายาม
-จิตรกรใช้มือขวาที่ถนัดจิตมักจะหลงไปกับจินตนาการทำให้ไม่ได้ฝึกสติ ในขณะที่มือกีต้าร์ฝึกฝนมือซ้ายข้างที่ไม่ถนัดต้องมีสติบ่อยๆเพื่อบังคับมือซ้าย
-สมาธิของจิตรกรจึงขาดสติไม่รู้เนื้อรู้ตัวด้วยความเคยชิน ต่างกับสมาธิของนักเรียนดนตรีที่มีความรู้ตัวถี่กว่า เปอร์เซ็นต์ที่มีสติและสัมมาสมาธิจึงสูงกว่า
-การส่งเสริมให้ลูกได้เลือกเล่นเครื่องดนตรีที่ชอบและต้องฝึกฝนมือซ้ายจึงช่วยพัฒนาสติสัมปชัญญะ เช่น ไวโอลิน ซอด้วง ซออู้ จะง่ายกว่ากีต้าร์สำหรับเด็กผู้หญิง
-เมื่อนักดนตรีได้พบครูสอนกรรมฐานอย่างถูกต้อง ทั้งสมถะและวิปัสสนา ความมีสติ รู้เนื้อรู้ตัวจะทำได้ง่ายกว่าคนทั่วไปที่ใช้มือข้างถนัดทำงาน
-คนถนัดขวาจะช่างคิด เมื่อต้องใช้มือซ้ายเล่นดนตรีจิตจะคิดน้อยลงจนกระทั่งสมาธิทำให้จิตตั้งมั่นมาอยู่ที่ใจ นักดนตรีที่เล่นด้วยใจเรียกว่าบายฮาร์ทจึงต่างกับนักดนตรีที่เล่นแบบอ่านโน้ต
-การเจริญวิปัสสนาไม่ควรใช้สมองนำแต่ควรใช้ใจนำ ผู้ปฏิบัติธรรมก็ไม่ต่างกัน นักดนตรีอ่านโน้ตใช้สมอง นักดนตรีบายฮาร์ใช้ใจ เมื่อมาฝึกกรรมฐานย่อมมีจริตต่างกัน
-คนส่วนใหญ่เคยชินกับการใช้มือข้างที่ถนัด เคยชินกับการคิด เคยชินกับการหลงดู หลงฟัง หลงเพลินกับ การกินการอยู่ การทำงานในชีวิตประจำวัน จึงชอบฟังธรรมะ คิดเข้าใจธรรมะ มากกว่าการภาวนา
The eight stages of release.
1. Remaining in the Fine-Material Sphere, one perceives corporeal forms.
2. Not perceiveing internal corporeal forms, one perceives corporeal forms externally.)
3. One is intent on the thought, “It is beautiful”
4. One attains and abides in the Sphere of Unbounded Space.
5. One attains and abides in the Sphere of
Unbounded Consciousness.
6. One attains and abides in the Sphere of Nothingness.
7. One attains and abides in the Sphere of Neither-Perception-Nor-Non- perception.
8. One attains and abides in the Cessation of Perception and Feeling.
ฟังเพลงแล้วก็เลยอยากเซ็นเช็คบริจาค😅ชิตังเม
มีเรตอายุในการดู
สร้างภาพยนตร์ ใช้สัญลักษณ์แสดงออกมา ไม่ต้องสื่อตรงๆ