อบจ.อุดรธานี ร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ และรับฟังเสวนา“โหนกระแสสิ่งแวดล้อม ลดโลกเดือด”ลดก๊าซเรือนกระจก

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 2 ก.ค. 2024
  • อบจ.อุดรธานี ร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ และรับฟังเสวนา “โหนกระแสสิ่งแวดล้อม ลดโลกเดือด” ลดก๊าซเรือนกระจก ในพื้นที่
    วันที่ 4 ก.ค.2567 เวลา 08.30 น. นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี มอบหมายให้ นายปริญญา มั่นพลศรี หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุข อบจ.อุดรธานี เข้าร่วมรับฟังการประชุมเชิงปฎิบัติการ การสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน จ.อุดรธานี เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ จ.อุดรธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
    โดยมี นาย ณัฐพงศ์ คำวงศ์ปิน รอง ผวจ.อุดรธานี ประธานเปิดการประชุม นายชัยพิชิต สอนสมนึก ผอ.สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี กล่าวรายงาน หัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กว่า 150 คน เข้าร่วมรับฟัง ณ ห้องประจักษ์ตราเฟิร์ส คลาส 2 โรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ ต.บ้านเลื่อม อ.เมือง จ.อุดรธานี
    การจัดการประชุม ฯ ในวันนี้ จัดโดย สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี สืบเนื่องจาก จ.อุดรธานี ได้จัดทำแผนลดก๊าซเรือนกระจกของ จ.อุดรธานี และแผนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งข้อมูลของ จ.อุดรธานี จะไปสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ที่ กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่างๆลงให้ได้ร้อยละ 40 ในปี พ.ศ. 2573 โดยผลการศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ จ.อุดรธานี ในปีฐาน คือปี พ.ศ.2567 เท่ากับ 2.9 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 55 และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานเป็นอันดับที่ 6 เท่ากับร้อยละ 38 และอันดับที่ 3 คือภาคการจัดการของเสียร้อยละ 21 จากการคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ จ.อุดรธานี ในปีพ.ศ. 2573 หากจังหวัดไม่ดำเนินมาตรการลดก๊าซเรืนกระจกเลย จังหวัดจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 3.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45
    นอกจากนี้ จ.อุดรธานี ได้กำหนดมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่เสนอไว้ 18 มาตรการ หากดำเนินการจะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 24 โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มมาตรการ ดังนี้
    1. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จำนวน 3 มาตรการ เช่น ปรับเปลี่ยนระบบแสงสว่างภายในอาคารเป็นหลอด LED การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในทางสาธารณะ สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 57,367 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
    2. มาตรการพัฒนาพลังงานทางเลือก จำนวน 5 มาตรการ เช่น การจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การส่งเสริมการใช้บโอดีเซลแก๊สโซฮอล์ E20 และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 232,811 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
    3. มาตรการจัดการในภาคขนส่ง จำนวน 1 มาตรการ คือ การก่อสร้างรถไฟรางคู่ สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 231,429 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
    4. มาตรการจัดการของเสีย จำนวน 4 มาตรการ เช่น การจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า การเพิ่มปริมาณน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของเทศบาลนครอุดรธานี สามารถลดปริมาณก๊ซเรือนกระจกได้ 154,325 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
    5. มาตรการด้านป่าไม้และพื้นที่สีเขียว จำนวน 2 มาตรการ คือ การปลูกป่าอย่างยั่งยืน สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 63,614 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
    6. มาตรการด้านการเกษตร จำนวน 4 มาตรการ เช่น การลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตร การลดพื้นที่การเผาในพื้นที่ เกษตร สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 120,334 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
    หลังพิธีเปิดการประชุมฯ แบ่งเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงเช้า รับฟังการเสวนาในหัวข้อ “โหนกระแสสิ่งแวดล้อม ลดโลกเดือด” โดย ผศ.ดร.พฤกษ์ ตัญตรัยรัตน์ ที่ปรึกษาโครงการ ฯ นายจีระศักดิ์ ตรีเดช นักพัฒนาองค์กรเอกชน ที่ได้รับงบกองทุนสิ่งแวดล้อม โครงการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสสภาพภูมิอากาศ และ ผู้แทนจาก ธ.ก.ส.จ.อุดรธานี ช่วงบ่าย ร่วมกิจกรรมกลุ่มปฎิบัติการบูรณาการขับเคลื่อนแผนลดก๊าซเรือนกระจกของ จ.อุดรธานี
    --------------------------------------
  • เพลง

ความคิดเห็น •