สวดเสริมบารมี จิราภรณ์ ทองสุโขทัย โซฮาภควคีร์ตา 2

แชร์
ฝัง

ความคิดเห็น • 9

  • @user-ft8yu8tw1q
    @user-ft8yu8tw1q 3 ปีที่แล้ว

    กราบสาธุค่ะ

  • @sabaide_7421
    @sabaide_7421 3 ปีที่แล้ว

    สาธุ

  • @fb.2300
    @fb.2300 4 ปีที่แล้ว

    ก็ดีนะผมว่าจัดบ่อยๆ มาเต้นออกกำลังกายกัน แต่งตัวสวยด้วย แต่คนสวดเปิดเพลงไม่เข้าอะไรเลย สวดก็แปลกๆ แต่ชอบคนชุดแดงมากๆแดงที่ไม่มีลายอ่า พี่สวยมาก

  • @siwa2530
    @siwa2530 6 ปีที่แล้ว

    โซฮา ปอ-ออย

  • @nutthapol9
    @nutthapol9 6 ปีที่แล้ว +1

    ถ้ารำถวายอ่ะ ชอบ แต่ถ้า ทรงร่าง ไม่เชื่อ FAKE
    ต้นตำรับ ที่อินเดียยังไม่มีเลย ร่างทรงนะ มีแต่สวด รำ ถวาย พิธี ขลังมาก

    • @user-jd9sc5ky8k
      @user-jd9sc5ky8k 4 ปีที่แล้ว +1

      ทางอินเดียตอนใต้มีการทรงน่ะครับต้องศึกษาด้วยน่ะครับ เเต่ในคริปนี้จริงปลอมคิดเอาเองครับ

    • @nutthapol9
      @nutthapol9 4 ปีที่แล้ว

      @@user-jd9sc5ky8k มีครับ แต่ต้องทำความเข้าใจพื้นฐานนะครับว่า ในอินเดียเองก็มีทั้งศาสนาฮินดูที่เป็นทางการ (วัฒนธรรมพระเวท และวัฒนธรรมอารยัน) กับฮินดูชาวบ้านหรือวัฒนธรรมพื้นบ้าน
      ฮินดูทางการหรือในวัฒนธรรมอารยันนั้น แทบจะไม่มีการทรงเจ้าเข้าผีเลยครับ เพราะไม่ใช่ประเพณีของชาวอารยัน ผมเข้าใจว่า เพราะในวัฒนธรรมอารยันนั้น เขาแบ่งเทพกับผีบรรพบุรุษไว้คนละพวก ไม่เอามาปะปนกัน อย่างในวัฒนธรรมบ้านเรา ที่เทพพื้นเมืองก็ถือเป็นบรรพชนด้วย
      ยิ่งไปกว่านั้นการติดต่อกับเทพเจ้าหรือบรรพชน ก็ไม่ใช่การทรงเจ้าเข้าผี แต่ใช้พิธีกรรมอย่างอื่น เช่น การถวายยัญญบูชา ถวายข้าวบิณฑ์ ฯลฯ หรืออย่างมากที่สุดที่ปรากฏในพระเวทคือ การดื่มน้ำโสมแล้วเมามายจนราวได้พบกับเทพ
      ส่วนวัฒนธรรมฮินดูท้องถิ่นนั้นต่างออกไป ที่จริงวัฒนธรรมพื้นบ้านของอินเดียก็เหมือนอย่างในอุษาคเนย์ของเรา กล่าวคือ “ถือผี” ก่อนที่จะรับนับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู (ในความหมายของวัฒนธรรมพระเวทและอารยัน) จากภาคเหนือ จนในที่สุดวัฒนธรรมพื้นเมืองเหล่านั้นก็ถูกบวชเป็นฮินดูไปหมด
      เทพท้องถิ่นหรือเทพพื้นเมืองจึงอยู่ “นอกพระเวท” ทั้งนั้น เช่นเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ ที่ชาวบ้านนับถือเป็นบรรพชนบ้างหรือเป็นบุคคลสำคัญในท้องถิ่นนั้นๆ หรือไม่ก็เป็น “เจ้าที่” แล้วก็มักเฮี้ยนมากๆ เช่น พระอัยยันนาร์ มธุไรวีรัน กัตตราวรายัน เจ้าแม่มาริอัมมา ติลไลกาลิอัมมา ฯลฯ
      โดยมาก เทพเหล่านี้ถ้าเป็นชายเขามักให้ถือเป็นภาคดุร้ายของพระศิวะหรือไภรวะ ส่วนฝ่ายสตรีก็เป็นภาคของเจ้าแม่กาลี
      ดังที่ผมเคยเสนอว่า ไภรวะและกาลีนั้นที่จริงไม่ได้หมายถึงเทพองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ แต่หมายถึงภาวะดุร้ายของชายและหญิงที่เป็นเทพพื้นเมืองได้ทั้งหมด
      แต่แม้จะบวชเป็นฮินดูแล้ว เทพเหล่านี้ยังคงมีบทบาทในวิถีชีวิตของชาวบ้านอินเดียในแบบเดิมคือ เข้าทรงเพื่อมาขจัดปัดเป่าเภทภัยของชุมชน ทำนายทายทักบ้านเมือง
      นี่แหละครับ หากถามว่าฮินดูมีการเข้าทรงไหม ก็คือเข้าทรงเทพพื้นบ้านเหล่านี้
      แต่การเข้าทรงเทพฮินดูพื้นบ้านเหล่านี้ยังคงเป็นการจัดขึ้นโดย “ชุมชน” ไม่ได้เป็นเจ้าทรงตัวใครตัวมันอย่างไทยเรา และยังคงมีหน้าที่อยู่ในชุมชนแบบเดิม โดยมักเข้าทรงอย่างเป็นเทศกาล ไม่ได้ทำบ่อยๆ
      นอกจากนี้ การเข้าทรงในวัฒนธรรมอินเดียยังมีลักษณะที่เป็นกึ่ง “นาฏกรรม” หรือกึ่งการแสดง เพราะเขาไม่ได้เข้าทรงแล้วนั่งสูบบุหรี่พูดจาอะไร แต่มักแสดงกิริยาอาการต่างๆ ตามตำนานของเทพพื้นเมืององค์นั้นๆ เช่น ร่ายรำแบกหม้อน้ำ ถืออาวุธกิ่งไม้ใบไม้ บางครั้งถึงกับจับเรื่องในเทวตำนานนั้นๆ เลย
      นอกจากนี้ ยังมีการแต่งหน้าหรือสวมหน้ากาก เช่นการเล่นรำทรงที่เรียกว่า Teyyam ซึ่งจะค่อยๆ พัฒนามาเป็นการแสดงใส่หน้ากากหรือเขียนหน้าอย่าง “โขละ” หรือโขนโบราณของแขกเขา
      ส่วนเทพฮินดูทางการหรือเทพในพระเวท เช่น พระพรหมา พระศิวะ พระแม่ลักษมี พระนารายณ์ พระแม่สุรัสวดี พระคเณศ ฯลฯ เท่าที่ทราบ ในอินเดียไม่มีการเข้าทรงเทพเหล่านี้
      คำตอบก็เพราะเทพเหล่านี้มิได้อยู่ในวัฒนธรรมเข้าทรงอย่างเทพท้องถิ่นของคนทมิฬ หรือท้องถิ่นอื่นๆ ไม่ได้เป็นทั้งผีบรรพบุรุษ หรืออะไรแบบนั้น
      ก็คนละประเพณี คนละความคิดทางศาสนาและวัฒนธรรมไงครับ
      ที่จริงไม่ต้องไปถึงอินเดียก็ได้ แค่วัดแขกสีลมหรืออรุลมิกุ ติรุมาริอัมมัน โกวิล ก็แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเข้าทรงในฮินดูท้องถิ่นว่าเป็นอย่างไร
      หากเราลองพิเคราะห์ เราก็จะเห็นว่า การเข้าทรงเทพพื้นเมืองของอินเดียมีลักษณะเดียวกันกับทรงเจ้าเข้าผีอย่างเก่าของเรา ทั้งแง่ชุมชน แง่ของการแสดง และแง่ความเชื่อ
      จึงน่าแปลกประหลาดที่เทพเจ้าฮินดูที่ไม่เข้าทรงในอินเดีย แต่มีร่างทรงจำนวนมากในไทย แต่ครั้นพอทราบแบบนี้แล้วจะลองไปเข้าทรงเทพท้องถิ่นของอินเดีย ก็ไม่ได้อยู่ในชุมชนหรือระบบเครือญาติแบบเขาอีก จะเชื่อมโยงกันยังไง จะถือเป็นเจ้าที่ก็ไม่ใช่ เป็นบรรพชนก็ไม่เชิง
      พูดง่ายๆ คือ ต่อไม่ติด ไม่เกี่ยวไม่ข้อง ไม่ได้รับมาหรือส่งผ่าน แค่เลียนแบบ “รูปแบบ”
      ผมถึงเน้นว่า การทรงเจ้าเข้าผีเท่าที่เราพบเห็นในปัจจุบันเป็นวัฒนธรรม “ใหม่” ไงครับ
      กระนั้นก็ควรแก่การศึกษา วิเคราะห์ วิจารณ์
      เพื่อจะได้เข้าใจความเชื่อในสังคมไทยให้มากขึ้น

  • @user-nw8uk2ok5t
    @user-nw8uk2ok5t 4 ปีที่แล้ว

    😀💞💕❣️