ระบำมาตรฐาน ชุดการแสดงระบำดาวดึงส์โรงเรียนมัธยมยานากาวา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 พ.ค. 2023
  • ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงมาตรฐานที่เป็นฉบับไทยอีกชุดหนึ่ง ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์บทร้องขี้ประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนที่ ๒ ตอนตีคลี ฉากดาวดึงส์ ในฉากนี้มีพระอินทร์กับพระมเหสีประทับอยู่บนแท่น พระวิศนุกรรม และพระมาตุลี นั่งอยู่ชั้นลดสองข้าง พวกคนธรรพ์ประจำเครื่องดนตรีอยู่ด้านหน้า เหล่าเทวดานางฟ้าเข้านั่งเฝ้าสองข้าง เริ่มเปิดฉากเหล่าเทวดานางฟ้าก็จับระบำถวาย การแสดงเรื่องนี้จัดแสดงที่โรงละครดึกดำบรรพ์ ริมถนนอัษฎางค์ (วังบ้านหม้อ) ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อร้องของระบำพรรณนาถึงความงดงามความโอฬารของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และความมโหฬารตระการตาในทิพย์สมบัติของพระอินทร์ ตลอดจนความงดงามของเหล่าเทวดานางฟ้าในสรวงสวรรค์ หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา (หม่อมเจ้าในพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์)เป็นผู้คุม ฝึกหัดคิดท่ารำ ต่อมาการแสดงชุดนี้ได้นำมาจัดเป็นชุดเอกเทศ จึงนำออกด้วยเพลงเหาะ และรำตามเนื้อร้องในเพลงตะเขิ่ง, เจ้าเซ็น แล้วจบท้ายด้วยเพลงรัว นับเป็นระบำชุดหนึ่งที่ได้ปรับปรุงทางดนตรี และทางรำให้ได้กะทัดรัด จนเป็นนาฏศิลป์ไทยชุดหนึ่งที่ได้ยึดถือเป็นแบบระบำแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งได้อนุรักษ์ไว้เป็นแบบแผนสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
    รูปแบบ และลักษณะการแสดง
    เป็นการรำของเหล่าเทวดานางฟ้า ลักษณะท่ารำที่สำคัญ คือท่ารำจะไม่มีความหมายตรงกับเนื้อร้อง แต่จะเป็นท่ารำที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกันตลอดทั้งเพลง ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ท่ารำบางท่าได้ปรับปรุงเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น ได้แก่ การใช้ท่ารำยกมือขึ้นประสานไขว้กันไว้ที่อก และขยับฝ่ามือตบอกเบา ๆ ตามจังหวะพร้อมการเคลื่อนเท้าไปด้วย กล่าวกันมาว่าท่ารำแบบนี้ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระอนุชาของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อประมาณสองร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยทรงเลียนแบบมาจากการเต้นทุบอกในพิธีเต้นเซ็นของชนนับถือลัทธิศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซนซึ่งฝรั่งเรียกว่า Shiites โดยทรงปรับท่าทางให้ดูนุ่มนวลอ่อนช้อยไปตามหลักนาฏศิลป์ไทย
    การรำขั้นตอนที่ ๑
    รำออกในเพลงเหาะ (เป็นท่ารำที่แสดงการเดินทางเป็นรูปขบวนของเหล่าเทวดานางฟ้า กระบวนท่ารำเป็นมาตรฐานที่ใช้สืบต่อกันมา )
    ขั้นตอนที่ ๒
    รำตามบทร้องในเพลงตะเขิ่ง (เนื้อร้องกล่าวถึงความงามทั่วสรรพางค์กายของเทวดานางฟ้า) เพลงเจ้าเซ็น (เนื้อร้องแสดงถึงความงดงามอลังการในวิมานที่ประทับของพระอินทร์)
    ขั้นตอนที่ ๓
    รำเข้าตามทำนองเพลงรัว
    ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
    ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ได้แก่เพลงเหาะ เพลงรัว เพลงตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น และเพลงรัว
    เครื่องแต่งกาย
    ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง ละคร
    ฝ่ายพระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย
    ฝ่ายนางศิราภรณ์มงกุฏกษัตรีย์
    บทร้องระบำดาวดึงส์
    ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัย สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปองเทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง
    นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล
    สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่นมงกุฎ ทรงวชิราวุธ
    รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา
    อันอินทรปราสาททั้งสาม ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา
    สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน
    ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉี่อยชด บราลีที่ลดมุขกระสัน
    มุขเด็ดทองคาดกนกพัน บุษบกสุวรรณชามพูนุท
    ราชยานเวชยันต์รถแก้ว เพริศแพร้วกำกงอลงกต
    แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย
    รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย
    ดุมพราววาววับประดับพลอย แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง
    เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสี
    มาตลีอาจขี่ขับประดัง ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา
    โอกาสที่ใช้แสดง
    เริ่มต้นที่ใช้แสดงประกอบละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี ต่อมาได้จัดเป็นชุดระบำเอกเทศ จึงสามารถใช้แสดงในงานต่าง ๆ ทั่วไปได้

ความคิดเห็น •