ด้วง กว่างชน นักสู้แห่งขุนเขา แพ้ VS ชนะ ไปดูกัน!

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 6 พ.ย. 2019
  • “ชนกว่าง” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวล้านนา ที่นิยมเล่นกันเป็นเวลานานแล้ว จนกลายเป็นประเพณีแต่จะเริ่มเล่นกันมาตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏ ปัจจุบันยังมีการเล่นกันอยู่ แต่อาจจะไม่มากเท่ากับในอดีต
    การเล่นชนกว่างของชาวล้านนานิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ก็คงจะคล้ายๆ กับการเล่นชนปลากัดของชาวภาคกลาง
    ชนกว่างใช่ว่าจะชนกันได้ในทุกฤดูกาล จะมีให้เล่นกันก็แต่เฉพาะในฤดูฝน คือประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พอออกพรรษาแล้วก็ค่อยๆ เลิกราปล่อยกันไป กว่างก็จะเริ่มหายตายจาก เพื่อการเกิดใหม่ในปีหน้า ตามวัฏจักรของมัน
    กว่าง เป็นสัตว์จำพวกแมลงปีกแข็ง มีขา ๖ ขา ตัวผู้มีเขา ๒ เขา
    .
    มีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งพอจะรวบรวมได้ดังนี้
    ๑. กว่างแม่อี่อู้ด เป็นกว่างตัวเมียไม่มีเขา ตัวสีน้ำตาล กว้าง ยาวประมาณ ๑ นิ้ว มักมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เรียกว่า “กว่างอี่มุ้ม” อำเภอเมืองเชียงราย เรียกว่า “แม่อี่หลุ้ม” หรือที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เรียกว่า “แม่บังออน” เป็นต้น
    ๒. กว่างกิ เป็นกว่างตัวผู้ มีเขาสั้น ตัวเล็ก สีน้ำตาล
    ๓. กว่างกิดง เป็นกว่างตัวผู้ มีเขาสั้น ตัวโต สีน้ำตาล
    ๔. กว่างแซม เป็นกว่างตัวผู้ มีเขายาว ตัวเล็ก สีน้ำตาล (แดง) ไม่ค่อยนิยมเอามาเล่นชนกัน เพราะไม่ค่อยมีความอดทน ดุดัน
    ๕. กว่างฮัก เป็นกว่างตัวผู้ ตัวเล็ก ขนาดกว้าง ยาวประมาณ ๑x๒ นิ้ว (เท่ากับกว่างแซม) มีเขายาว ตัวสีดำหรือที่มักเรียกกันว่า “กว่างฮักน้ำปู่” ถ้าเป็นสีดำ (ใส) เรียกว่า…“กว่างฮักน้ำใส” ไม่ค่อยนิยมนำเอามาเล่นชนกัน
    ๖. กว่างโซ้ง เป็นกว่างตัวผู้ มีรูปร่างได้สัดส่วนสวยงาม ตัวใหญ่ (ประมาณ ๑ ๑/๒ x ๒ ๑/๒ นิ้ว) เขาโง้มยาว มีเล็บแหลมคม มีนิสัยอดทน ดุดัน และมีความฉลาด ตัวเป็นสีน้ำตาล (แดง) นิยมนำมาเล่นชนกันมากกว่ากว่างชนิดอื่น
    ๗. กว่างห้าเขา มีรูปร่างใหญ่โตเท่ากับกว่างโซ้ง มีเขา ๕ เขา ไม่นิยมนำเอามาชนกัน
    #Mangozeen

ความคิดเห็น •