เพลงบูชาพระพิฆเนศ ฟังแล้วถูกหวย ฟังแล้วขายของดี ร่ำรวย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 พ.ย. 2024
  • วิธีบูชาพระพิฆเนศ เทพแห่งความสำเร็จ
    การบูชาพระพิฆเนศ หากไม่สะดวกที่จะจัดเตรียมอย่างยิ่งใหญ่ ก็สามารถเตรียมแต่พอประมาณ เพื่อการสวดบูชาได้ทุกๆวัน ซึ่งหลักๆ แล้วมีสิ่งที่ต้องเตรียม เพื่อการบูชาพระพิฆเนศ ดังต่อไปนี้
    อุปกรณ์ที่ใช้ในการบูชาพระพิฆเนศ
    1. รูปภาพ หรือ เทวรูปพระพิฆเนศที่เราบูชาอยู่
    2. ธูป หรือ กำยาน (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง) ถ้าใช้กำยานแท่ง ให้ใช้ 1 อัน ใช้ได้ทุกกลิ่น ถ้าใช้กำยานผง ให้ตักใส่โถตามความเหมาะสม ถ้าใช้ธูป จะใช้กี่ดอกก็ได้ ขอย้ำว่ากี่ดอกก็ได้ เพราะที่อินเดียจริงๆ แล้วไม่มีการกำหนดจำนวนธูปมาตั้งแต่โบราณ เนื่องจากเหตุผลที่จุดธูปก็คือ ต้องการถวายกลิ่นหอมแก่เทพ และให้ควันธูปเป็นสื่อนำคำอธิษฐานเราไปสู่เทพ เพราะฉะนั้นถ้าอยากประหยัดก็ใช้ 1 ดอกก็ดี มีคนไทยเท่านั้นที่ถือว่าธูป 1 ดอกคือการไหว้ศพ ชาวฮินดูเค้าหยิบออกมาจากซองได้มากี่ดอกก็จุดเลยไม่มีการนับหรือถ้าจะให้สบายใจ ไหว้แบบคนไทยหรือจีน ก็ใช้ 3 ดอก 5 ดอก 9 ดอก
    3. กระถางธูป หรือ แท่นวางกำยาน ใส่ดิน หรือ ผงธูป ลงในกระถางธูปก่อนเพื่อให้สามารถปักธูปได้ สำหรับแท่นวางกำยานก็มีขายหลายแบบ ส่วนใหญ่ทำจากกระเบื้องเซรามิก ดินเผา ทองเหลือง ฯลฯ หรือจะซื้อถ้วยเล็กๆ ตื้นๆ แบบที่ใส่พริกน้ำปลา มาใช้แทนก็ได้
    4. ประทีป (ดวงไฟ เทียน ตะเกียงน้ำมัน การบูร)ใช้เป็นไฟส่องสว่าง ควรมี 2 ดวงซ้าย-ขวา หรือเทียน 2 เล่ม ถ้าใช้เทียนก็ปักลงแท่นให้เรียบร้อย ถ้าใช้ตะเกียงน้ำมัน ตรวจสอบน้ำมันให้มีเพียงพอ
    เครื่องสังเวยที่ใช้ในการบูชาพระพิฆเนศ
    1. ดอกไม้ ถวายได้ทุกพันธุ์ ควรเป็นดอกไม้สด จะร้อยเป็นพวง เป็นช่อ หรือดอกเดียวก็ได้ ให้ล้างทำความสะอาดก่อนถวาย ดอกไม้ที่ดีที่สุดคือ ดอกบัว เพราะในบทสวดของเทพทุกพระองค์ มีหลายๆ โศลก หลายๆ บท ที่กล่าวว่า “ขอน้อมบูชาเทพผู้มีพระบาทงดงามดั่งดอกบัว” คือ ยกย่องสรรเสริญว่าทวยเทพทั้งหลายนั้นมีเท้าที่สวยงามเปรียบเสมือนดอกบัวที่งดงาม ส่วนดอกไม้อื่นๆ ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นดาวเรือง มะลิ กุหลาบทุกสี ขอให้สด สะอาด มีกลิ่นหอมโชยก็ได้แล้ว
    2. น้ำสะอาด อันนี้ต้องมี ขาดไม่ได้เด็ดขาด ห้ามใช้น้ำจากขวดที่เราเคยเปิดกินมาแล้ว แนะนำให้จัดขวดน้ำแยกไว้เพื่อรินถวายเทพโดยเฉพาะ โดยเทใส่แก้วเล็กๆ ซึ่งแก้วน้ำนี้ก็ต้องเป็นแก้วที่จะใช้ถวายเทพโดยเฉพาะเช่นเดียวกัน
    3. นมสด (หากจัดหาไม่ได้ จะถวายน้ำเปล่าอย่างเดียวก็ได้) นมที่ใช้ถวาย ควรเป็นนมสด (จืด) ที่ไม่ใช่รสดัดแปลง เช่น รสช็อคโกแล็ต รสสตรอเบอรี่ หรือนมเปรี้ยวดัดแปลงต่างๆ ก็ไม่ควร แต่เราสามารถถวาย โยเกิร์ตได้ โดยให้เลือกรสธรรมชาติ เนื่องจากโยเกิร์ต คือวิธีการทำนมเปรี้ยวในแบบของโบราณนั่นเอง หากนมเป็นกล่อง สามารถเสียบหลอดไว้ได้ หรือถ้าจะให้ดีก็เทใส่แก้ว
    4. ผลไม้ ผลไม้อะไรก็ใช้ถวายได้ ไม่ต้องแพงมาก ใช้ผลไม้ตามฤดูกาล สับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็ดี ผลไม้ที่แนะนำคือ กล้วย อ้อย สาลี่ ชมพู่ มะขวิด ผลหว้า และ มะพร้าวผ่าซีก ใส่ในถาดหรือจานสะอาด (ซื้อมาเป็นกิโลๆ แช่เย็นไว้แล้วแบ่งออกมาถวาย ก็เหมาะสมในเศรษฐกิจยุคนี้)
    5. ขนมหวาน ห้ามใช้ขนมที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ (ประมาณว่าแซนวิชหมูหยองนี่ห้าม) ควรเป็นขนมที่ทำจากแป้ง มีความหวาน มัน เน้นน้ำตาลและกะทิ จัดใส่ถาดหรือจานสะอาด ปัจจุบันอนุโลมให้มีส่วนผสมของไข่ได้ มิฉะนั้นจะหาขนมมาถวายยากมากๆ
    ข้อห้ามการบูชาพระพิฆเนศ
    1. ห้ามถวายของคาว เช่น ข้าวผัดกระเพรา ก๋วยเตี๋ยว หัวหมู เป็ด ไก่ตอน ฯลฯ เพราะไม่เหมือนกับการเซ่นไหว้เจ้าแบบจีน
    2. จาน ถาด แก้วน้ำ ให้จัดไว้สำหรับบูชาเทพเท่านั้น ใช้เสร็จแล้วล้างให้สะอาด เก็บแยกไว้ ห้ามใช้ปะปนกับของคน
    3. เครื่องสังเวยอื่นๆ ที่สามารถถวายได้ ได้แก่ พืชพรรณ ธัญญาหารต่างๆ ข้าวสาร ข้าวกล้อง เกลือ น้ำตาล เมล็ดพริกไทย เมล็ดถั่ว งาขาว งาดำ ใบชา เมล็ดกาแฟสด มะเขือ มะขวิด ใบกระเพรา ใบโหระพา เครื่องเทศต่างๆ ผักสดทุกชนิด และผลไม้ทุกชนิด
    ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ
    เพื่อการสวดบูชาให้ได้ผลสูงสุด ควรเลือกเวลาที่เงียบสงัด เช่น เช้าตรู่ หรือ ก่อนนอน จะได้ไม่มีเสียงรบกวนจากผู้อื่น
    1. นำของสังเวยทั้งหมด (น้ำ นม ผลไม้ ขนมหวาน) จัดวางไว้หน้าเทวรูป, รูปบูชา
    2. ดอกไม้ ถ้าเป็นช่อหรือดอกเดียวให้วางไว้ข้างหน้า ถ้าร้อยเป็นพวง สามารถนำไปคล้องที่พระกรหรือศาสตราวุธของเทวรูปได้
    3. จุดกำยาน ธูป ประทีป เทียน
    4. การพนมมือ ให้พนมมือแบนราบติดกันไม่ใช่แบบดอกบัวตูม แล้วตั้งจิตให้สงบนิ่ง
    5. เมื่อจิตสงบนิ่งแล้ว ให้ เริ่มสวดบูชา การสวดมนต์นั้น ท่านสามารถเลือกบทสวด บทอัญเชิญ หรือบทสรรเสริญ บทใดก็ได้มาหนึ่งบท หรือจะสวดหลายๆ บท ให้ต่อเนื่องกันก็ยิ่งดี ในเบื้องต้นสำหรับการบูชาพระพิฆเนศนั้น คาถาบูชาที่ส่วนใหญ่นิยมคือ โอม ศรี คะเนศา ยะนะมะฮา (Om Shri Ganesha Yanamaha) อ่านออกเสียงตามแบบอินเดียว่า โอม ชรี กาเนชา ยะนะมะฮะ แต่ถ้ามีเวลาในการสวดบูชา แนะนำให้ทำสมาธิด้วยการสวดมนต์ โดยท่องบทเดียวกันให้วนไปเรื่อยๆ จะเป็น 108 จบก็ดี หรือจะเปิดเพลงขณะบูชาด้วยก็ดี ควรศึกษาและจำบทสวดมนต์ให้ได้หลายๆ บท เพื่อประโยชน์ในการทำสมาธิขณะสวดมนต์ หรือการสักการะในโบสถ์ วัด เทวาลัยต่างๆ
    6. ถวายไฟ หรือการทำ อารตี หากไม่สะดวกใช้ตะเกียงอารตี (ต้องใช้สำลีชุบน้ำมัน) สามารถถวายไฟแบบใช้เทียน หรือ การบูร ให้นำใส่ถาดแล้วจุดไฟ ยกขึ้นหมุนวนเป็นวงกลม (ตามเข็มนาฬิกา) 3 รอบ ต่อหน้าองค์เทวรูป หรือรูปภาพเทพที่เราบูชา แล้วใช้ฝ่ามืออังไฟ แล้วมาแต่ที่หน้าผาก เพื่อให้เกิดความสว่างแก่จิตและดวงปัญญา หรือแตะบริเวณอื่นๆ ที่เป็นโรคเจ็บป่วย
    7. ขอพรตามประสงค์ จากนั้นให้กล่าวคำว่า “โอม ศานติ…ศานติ…ศานติ” เพื่อขอความสันติให้บังเกิด เป็นอันเสร็จสิ้น
    8. ลาเครื่องสังเวย ถ้าจุดเทียน สามารถเป่าเทียนให้ดับได้เลย เพื่อป้องกันอัคคีภัย (ใช้เทียนเล่มเดิมนี้ จุดบูชาในวันต่อไปได้เรื่อยๆ จนเทียนหมด) ถ้าจุดธูปหรือกำยาน ต้องรอให้หมดดอก จึงจะลาเครื่องสังเวยได้

ความคิดเห็น • 2.5K