ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายน้ำไหล บางสิบหมื่น

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 เม.ย. 2022
  • ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล เป็นวันทำบุญขึ้นปีใหม่ไทยที่นิยมปฏิบัติต่อกันมาในภาคตะวันออกและภาคกลางบางจังหวัด โดยชาวบ้านจะนิยมก่อนพระเจดีย์ทรายถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งจะกำหนดจัดงานหลังวันสงกรานต์ประมาณ 5 - 6 วัน
    การก่อเจดีย์ทราย คือ การขนทรายมากองแล้วรดน้ำเอาไม้ปั้นกลึงเป็นรูปทรงเจดีย์ หรือ ทำเป็นกรวยเล็กๆ ก่อให้ครบ ๘๔,๐๐๐ กอง เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ ตกแต่งด้วยการปักธงทิวและดอกไม้อย่างสวยงาม เมื่อก่อพระเจดีย์ทรายและจัดเตรียมบริขารเพื่อถวายพระแล้วเสร็จ พระสงฆ์ก็จะพิจารณาบังสุกุล ทำบุญเลี้ยงพระ และเลี้ยงคนที่ร่วมงานด้วย เป็นประเพณีที่สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์
    วัดที่อยู่ใกล้ห้วย หนอง คลอง บึง จะจัดประเพณีก่อพระทรายน้ำไหลขึ้น วิธีการ คือ การขุดลอกทรายที่น้ำฝนซัดไหลมาลงรวมอยู่ตามเส้นทางน้ำ ถือเป็นการขนทรายเข้าวัดและพัฒนาท้องถิ่นโดยการร่วมแรงคนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมบุญขุดลอกเส้นทางน้ำให้สะอาด เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนน้ำฝนจะได้ไหลสะดวก
    แต่ในปัจจุบันสภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป การขนทรายเข้าวัดเปลี่ยนเป็นซื้อจากรถขนทราย วัดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรายในการสร้างปูชนียสถาน และคูคลองที่ทรายเคยซัดไหลมารวมกันถูกตัดเป็นถนน งานก่อพระทรายน้ำไหลเปลี่ยนสภาพ เรียกกันสั้นๆ ลงเหลือแค่ “วันไหล” หรือ “ประเพณีวันไหล”
    ที่มาข้อมูล th.wikipedia.org

ความคิดเห็น •