ลาวสมเด็จ (ทางเปลี่ยน)​ : เครื่องสายผสมออร์แกน คณะเตชนเสนีย์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 ก.ย. 2024
  • ลาวสมเด็จ (ทางเปลี่ยน)​ : เครื่องสายผสมออร์แกน คณะเตชนเสนีย์
    ทางเปลี่ยน : ครูเจือ เสนีย์​วงศ์ ณ​ อยุธยา​
    ซอด้วง : ครูประกอบ สุ​กัณหะเกตุ
    ซออู้ : ครูประเวช กุ​มุท
    ออร์แกน : ครูศิริ พงษ์ปาละ
    ขิม : ครูจำเนียร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
    ไวโอลีน : ครูเล็ก ภานุนันท์
    ขลุ่ยเพียงออ : ครูจิตร เสนีย์วงศ์​ ณ​ อยุธยา
    กลองแขก : จ่าจุก (กรมดุริยางค์ตำรวจ)
    ฉิ่ง : ครูสุนทร มา​ประสพ
    (อนุเคราะห์​ข้อมูลผู้บรรเลง : อ.นุศาสน์ สุกัณหะเกตุ)​
    - ประวัติ คณะเตชนเสนีย์ -
    วงเครื่องสายครูเจือ หรือต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๘ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "เตชนเสนีย์" วงนี้นับเป็นวงเครื่องสายผสมดนตรีสากลที่มีชื่อเสียงมากในพระนคร ในช่วงระยะเวลาที่ดนตรีไทยกำลังอยู่ในยุคเฟื่องฟู โดยครูเจือ เสนียวงศ์ ณ​ อยุธยา ได้รวบรวมทั้งเพื่อน พี่น้อง และลูกศิษย์มาร่วมวงดนตรีกัน ซึ่งนักดนตรีในวงส่วนมาก มีอาชีพประจำเป็นหลักฐาน ได้ใช้เวลายามว่างมาแสวงหาความเพลิดเพลินจากการเล่นดนตรีร่วมกัน
    เครื่องสายครูเจือเริ่มจับกลุ่มระยะแรกๆ ที่บ้านของครูเจือ หน้าโรงเลี้ยงเด็ก ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ​ ต่อมาได้ย้ายบ้านไปอยู่ตรอกเชิงสะพานตึกดิน เขตพระนคร ซึ่งระยะนี้ชื่อเสียงของเครื่องสายครูเจือมีมากขึ้น จึงมีผู้มาสมัครเป็นศิษย์ ตลอดจนถึงเพื่อนฝูงที่มีฝีมือมาร่วมวงด้วยมากขึ้น และมีการออกงานบรรเลงต่างๆ มากขึ้นด้วย
    ในระยะที่เครื่องสายครูเจือ มีชื่อเสียงสูงขึ้นนี้ บรรดาเพื่อนฝูงและศิษย์ใกล้ชิด ได้ปรึกษาหารือร่วมกับครูเจือในการตั้งชื่อคณะ โดยมีการเสนอ ๒ ชื่อ คือ คณะเจือเสนีย์ และ คณะเตชนเสนีย์ ซึ่งมติตกลงใช้ชื่ออย่างหลัง ส่วนสัญลักษณ์ของคณะมีการทำเป็นแหนบเสียบกระเป๋าเสื้อ เป็นรูปพระประโคนธรรพ พร้อมตัวย่อของคณะว่า "ต.ส." โดยครูเจือได้นำเรื่องการตั้งคณะเข้าปรึกษากับครูหลวงประดิษฐ​ไพเราะ​ (ศร ศิลป​บรรเลง)​ จนทำออกมาแล้วเสร็จ และครูเจือได้นำแผ่นประกาศชื่อคณะและแหนบเข้าร่วมพิธีไหว้ครูที่บ้านครูหลวงประดิษฐ​ไพเราะด้วย
    จากนั้นครูเจือได้กำหนดวันไหว้ครูขึ้น ที่บ้านเชิงสะพานตึกดิน เพื่อกระทำพิธีแจกแหนบ ต.ส. โดยได้เรียนเชิญครูหลวงประดิษฐ​ไพเราะมาเป็นผู้นำพิธีและเป็นประธานในงาน
    หลังจากเสร็จพิธีสงฆ์และพิธีครอบครูเสร็จสิ้น ครูหลวงประดิษฐไพเราะ​ได้อ่านประกาศตั้งชื่อ คณะเครื่องสายครูเจือ เป็น คณะเตชนเสนีย์ และทำการมอบแหนบ ต.ส. แก่ศิษย์ที่มาร่วมพิธีจึงเป็นการเสร็จสิ้น.
    (เรียบเรียงประวัติคณะจาก : บันทึกครูเล็ก ฑีฆกุล, หนังสือวิญญาณดนตรี ครูเหม เวชกร)​
    - ประวัติเพลง ลาวสมเด็จ -​
    เพลงลาวสมเด็จสองชั้น เป็นเพลงทำนองเก่าสำเนียงลาว ประเภทหน้าทับลาว มีท่อนเดียวเป็นเพลงเกร็ด
    เพลงลาวสมเด็จ เป็นเพลงเก่าที่นิยมบรรเลงในวงปี่พาทย์และเครื่องสายโบราณ ต่อมามีผู้นำไปบรรเลงประกอบการแสดงละคร
    ต่อมา เรือเอกชิต แฉ่งฉวี ได้แต่งขยายเป็นอัตราสามชั้นและตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา พร้อมทั้งแต่งทางเปลี่ยนในอัตราสองชั้นบรรเลงติดต่อกัน เพลงนี้แต่งเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เพลงนี้ นายเจริญ แรงเพ็ชร ได้แต่งขยายและแต่งตัดเป็นเพลงเถาไว้ทางหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ เมื่อครั้งที่มีการประชันวงปี่พาทย์ที่วัดห้วยจระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ นายพินิจ ฉายสุวรรณ ยังได้นำมาแต่งขยายและแต่งตัดครบเป็นเพลงเถาอีกทางหนึ่งด้วย.
    (ที่มาประวัติเพลง : อ.สราวุธ​ หลักบุญ, องคาพยพ​ ชาแนล)​
    เทปคาสเซ็ท​ เครื่องสายผสมออร์แกน ชุด ลาวสมเด็จ
    AMIGO AG.๑๒๕
    สำเนาเสียงจากเทปคาส​เซ็ท​ : ฉ​ั​ต​รกร​ เกตุ​มี
    เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์​เพลงไทย​ใน​การศึกษา​ มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์
    ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ : / @deklenkhimchannel7019

ความคิดเห็น • 1

  • @user-qd6jb2pv2r
    @user-qd6jb2pv2r 2 ปีที่แล้ว

    อันสมเด็จพระมหากษัตริย์ราช เป็นขวัญชาติธงชัยของไทยผอง
    ( สร้อย ) ชื่นหฤทัย เรามีธงชัยขวัญใจชาติเอย
    เป็นฉัตรแก้วกั้นเกศประเทศครอง ทรงปกป้องประชาราษฎร์ให้ร่มเย็น
    ( สร้อย ) ชื่นพระคุณ ด้วยทรงการุณย์ไทยอุ่นอกเอย
    ควรเคารพอภิวันท์มั่นดวงจิต เชิดบูชิตพระคุณไว้ให้สูงเด่น
    ( สร้อย ) มั่นดวงใจ เทิดพระคุณไว้เหนือใดอื่นเอย
    ร่วมจงรักภักดีมิวายเว้น ให้สมเป็นไทยชาติรักราชเอย
    ( สร้อย ) มั่นภักดี ในบาทธุลีมิมีเปลี่ยนเอย