#การขยายพันธุ์ปลาหางนกยูง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 2 ต.ค. 2024
  • ปลาหางนกยูง # การขยายพันธุ์ปลาหางนกยูง
    สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงในแบบฉบับของผม ซึ่งที่จริงผมก็ครูพักลักจำมาจากในยูทูบบ้าง จากบทความที่อ่านเอาในอินเตอร์เน็ตบ้าง ซึ่งจะทำถูกต้องทั้งหมดตามหลักวิชาการหรือไม่อันนี้ก็ไม่แน่ใจนัก แต่ว่าผลที่ออกมาก็ถือว่าน่าพอใจเพราะจากที่ผมลงทุนซื้อปลาหางนกยูงมาจากร้านขายปลาซักครึ่งปีได้ ตัวผู้ตัวเมียรวมแล้วประมาณ 5 คู่ก็สิบตัว มีตั้งแต่ตัวละ 5 บาท ถึง ตัวละ 20-30 บาท รวมๆแล้วหมดไปไม่น่าจะเกิน 200 บาท แต่ว่าตอนนี้ออกลูกออกหลานน่าจะหลายพันตัวเลยทีเดียว ถ้าจะให้ขยายพันธุ์แบบไม่ต้องดูแลประคบประหงมมากก็แค่ให้อาหารบ่อยหน่อย ซักวันละสองครั้ง เพราะธรรมชาติของปลาหางนกยูง ถ้ามันหิวมันจะไล่จับลูกปลากินเป็นอาหาร แต่ถ้าเราให้อาหารมันอื่มๆมันก็จะไม่ไปไล่กัดกินลูกปลา หาสาหร่ายหางกระรอกมาให้ลูกปลาซุกหลบซักหน่อย จำนวนปลาก็จะมากขึ้นๆเรื่อยๆ เราก็ตักใส่อ่างใส่โอ่งใบอื่นๆไปได้เรื่อยๆ อันนี้ก็เป็นวิธีที่ง่าย แต่ในช่วงแรกๆที่เรามีปลาน้อยๆ อยากจะลองเพาะพันธุ์แบบเป็นการเป็นงาน ก็ไปหาซื้อปลาแม่พันธุ์มาซัก 2-3 ตัวเลือกแบบท้องมาแล้วจากร้านเลยก็ยิ่งดี หรือจะเอามาผสมพันธุ์เองก็สุดแล้วแต่เราสะดวกเลยครับ
    *สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ก็เอาแบบประหยัดๆ เอาแบบที่เรามีอยู่แล้ว ในคลิปนี่ผมก็ใช้แต่ของเก่าๆ นี่ใช้ทำมาหลายครอกเลย ซื้อหามาจากร้านทุกอย่าง 10 บาท ก็จะมี ที่ช้อนปลา ตะกร้าแบบมีฝาปิด เหยือกใส่น้ำ เตรียมตัวด้วยการเริ่มจากตักน้ำในบ่อปลานี่แหละใส่อ่างที่แยกเตรียมไว้ให้พอสมควรที่ปลาจะอยู่ได้แล้วก็นำตะกร้าวางลงไปแบบนี้
    จากนั้นเราก็นำแม่พันธุ์ปลา สังเกตุง่ายปลาหางนกยูงตัวเมียลำตัวจะไม่มีสีสันสวยงาม จะมีก็ตรงหาง เยิ่งถ้าท้องเปล่งๆแสดงว่าใกล้คลอดแล้ว จากนั้นนำแม่พันธุ์ปลาลงในตะกร้าที่เตรียมไว้ สำหรับตะกร้าเลือกแบบมีฝาปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ปลากระโดดออกได้ แล้วก็ปิดฝาแบบนี้ ระหว่างรอคลอดเราก็หาสาหร่ายหางกระรอกมาใส่ เพราะในความเป็นจริงเราคงไม่รู้ว่าปลาจะคลอดออกมาตอนไหน จากที่ผมเพาะมาถ้าตัวที่ท้องเปล่งมากๆบางทีไม่ถึงครึ่ง ชั่วโมงก็คลอดออกมาแล้ว สำหรับสาหร่ายหางกระรอกก็ใส่เพื่อให้ลูกปลาหลบแดดได้นั่นเอง หลังจากขั้นตอนนี้ก็เหลือแค่รอเวลา ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะกี่ชั่วโมง กี่วัน แต่อย่างที่บอกครับ เลือกที่ท้องเปล่งๆมากๆก็ไม่นาน ตอนท้องยังไม่เปล่งเราก็เลี้ยงไว้ในอ่างตามปกติก่อนรอให้มันเปล่งมากๆจริงๆก่อนค่อยเอามาใส่ตะกร้าใส่อ่างแบบนี้ สาหร่ายหางกระรอกยังช่วยเรื่องออกซิเจนในน้ำได้ด้วย เผื่อว่าคลอดช้า ปลาก็อยู่ได้หลายวันโดยไม่ตายในอ่างเล็กๆแบบนี้ด้วย
    *หลังจากเวลาผ่านไป ก็ตามที่บอกนะครับ อาจใช้เวลามากน้อยตามความแก่อ่อนของท้องปลาแม่พันธุ์ ลูกปลาที่คลอดออกมาเป็นอาหารอย่างดีของแม่พันธุ์ แม่พันธุ์จะจับลูกปลากินในขั้นตอนนี้ ตะกร้าจึงถือเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่สำคัญของลูกปลา เพราะลูกปลาจะว่ายหนีออกมาตามรูตะกร้าได้ ก็จะปลอดภัยจากการถูกจับกิน เสร็จแล้วเราจะยกตะกร้าออกหรือจะจับแม่พันธุ์แยกออกมาก็ได้ เราก็จะได้ลูกปลาที่ปลอดภัยครบเต็มจำนวน ตามตำราเค้าว่าอาจมากถึง 200 ตัวต่อแม่พันธุ์ 1 ตัวเลยในคราวเดียว แต่ของผมเคยนับได้สูงสุดก็ 40-50 ตัว ซึ่งผมก็ว่าเยอะแล้ว
    *เป็นยังไงบ้างครับ วิธีเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงแบบของผม เพื่อนๆลองเอาไปทำตามดูครับ ปลาหางนกยูงมีความสวยงามเลี้ยงไว้ดูเล่นก็ได้ หรือจะเอาใส่โอ่งใส่อ่างน้ำในบ้านเพื่อกำจัดลูกน้ำก็ได้ ลูกน้ำไม่เกิดยุงก็ไม่มี ไข้เลือดออกไม่ถามหา แนะนำว่าใส่ภาชนะละ 2 ตัวและตรวจดูทุกสัปดาห์ว่าปลายังอยู่ดีมั้ย ไม่กลัวที่จะหาตัวใหม่มาเพิ่มแล้วนะครับคราวนี้ เพราะเราสามารถเพาะเองได้ง่ายๆแบบนี้ กดไลท์ กดแชร์และกดติดตามเพื่อที่จะไม่พลาดเรื่องราวดีๆแบบนี้ สำหรับคลิปนี้ผมก็ขอขอบคุณทุกๆท่านที่รับชมนะครับ..ขอบคุณครับบบบบ

ความคิดเห็น •