บทสวดขันธปริตร วิรูปักเข.."ฉบับฝึกท่องจำ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 ก.ย. 2024
  • สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต
    " พระพุทธมนต์..เสียงสวด พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต
    ช่อง สำรอง. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    "สำหรับท่านที่ชอบสวดมนต์ และชอบฟังบทสวดมนต์"
    "พระพุทธมนต์.."วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา
    เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า
    เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ
    ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย
    "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ"
    [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต]

ความคิดเห็น • 4

  • @พระพุทธมนต์
    @พระพุทธมนต์  3 ปีที่แล้ว +1

    ..ขันธปริตร เป็นส่วนหนึ่งของอหิราชสูตร บทว่าด้วยพระสูตรที่กล่าวถึง พญางูทั้ง 4 สกุล หรือ เรียกย่อว่า ขันธปริตต์เพียงแต่ว่า ขันธปริตร สวดเฉพาะคาถา หรือบทกวีท้ายอหิราชสูตร โดยเนื้อหาในพระไตรปิฎกอยู่ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (อง. จตุกฺก. 21.67.83) และในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค (วิ. จูฬ. 7.251.8) อีกทั้งยังพบในชาดก ทุกนิบาต (ขุ. ชา. 27.105.56) [1]
    สำหรับประวัติของพระปริตรนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี มีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด เหล่าภิกษุจึงได้กราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ภิกษุดังกล่าวถูกงูกัดเพราะไม่ได้แผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง 4 ตระกูล คืองูตระกูลวิรูปักษ์ งูตระกูลเอราบถ งูตระกูลฉัพยาบุตร และงูตระกูลกัณหาโคมดม แล้วตรัสสอนให้แผ่เมตตางูทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งก็คือคาถาขันธปริตรนั่นเอง [2]
    เนื้อความในอหิสูตร หรืออหิราชสูตรกล่าวถึงที่มาของขันธปริตร ไว้ดังนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ตระกูลพญางู 4เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ 1 ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ 1 ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ 1 ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู 4 จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง 4 นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู 4 จำพวกนี้เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน [3]
    ขณะที่อรรถกถาชาดก ยังมีตัวบทเอ่ยถึงที่ของขันธปริตรเช่นกัน โดยเรื่องมีอยู่ว่า ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด พระพุทธองค์ตรัสว่า ตถาคตเคยสอนขันธปริตรเมื่อครั้งที่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นฤๅษีที่ป่าหิมพานต์ได้พำนักอยู่ร่วมกับฤๅษีเป็นอันมาก ขณะนั้นมีฤๅษีตนหนึ่งถูกงูกัดเสียชีวิต จึงสอนขันธปริตรแก่พวกฤๅษีเพื่อป้องกันภัยจากอสรพิษ [4]
    ..โดยทั่วไปแล้วพระปริตร จะเริ่มต้นด้วยบทขัด ซึ่งอธิบายที่มาที่ไปและอานิสงส์ของการสวดสาธยายพระปริตรนั้นๆ ซึ่งขันธปริตรก็เช่นเดียวกัน โดยเริ่มจากบทขัดขันธปริตร แล้วจึงตามด้วยคาถา ซึ่งยกมาจากอหิราชสูตร
    เนื้อหาของบทขัดของขันธปริตรมีดังนี้ "สัพพาสีวิสะชาตีนัง/ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ/ยัง นาเสติ วิสัง โฆรัง/เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง/อาณาเขตตัมหิ สัพพัตถะ/สัพพะทา สัพพะปาณินัง/สัพพะโสปิ นิวาเรติ /ปะริตตัง ตัง ภะณามะ เห ฯ" โดยมีคำแปลดังนี้ "พระปริตรย่อมป้องกันพิษและอันตรายอื่นๆ ของสัตว์ทั้งปวงได้ตลอดเขตแห่งอำนาจทุกแห่งเสมอ เหมือนทิพยมนต์และโอสถทิพย์ที่ขจัดพิษร้ายของอสรพิษทั้งปวง ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรนั้นเถิด" [5]
    จากนั้นจึงเริ่มคาถาของพระปริตร

  • @พระพุทธมนต์
    @พระพุทธมนต์  3 ปีที่แล้ว

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวอยู่ภายใต้การจองจำของสังคม ซึ่งมีแต่ความหลอกหลอน สับปรับและแปรผัน ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวเป็นทาสของสังคมจนแทบจะกระดิกกระเดี้ยตัวมิได้ จะทำอะไร จะคิดอะไร ก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของสังคมไปเสียหมด สังคมจึงกลายเป็นเครื่องจองจำชนิดหนึ่งที่มนุษย์ซึ่งสำคัญตัวว่าเจริญแล้วช่วยกันสร้างขึ้น เพื่อผูกมัดตัวเองให้อึดอัดรำคาญ มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจ
    ดู ๆ แล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์จะสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่นฝูงวิหคนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกัน แต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่ที่ต้องแบกไว้คือ เรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรตินั้น เป็นภาระหนักยิ่งของมนุษยชาติ
    สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่ง คือ เรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกิน นักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียว ปลดภาระไปได้อีกมาก แต่การกินอย่างนักพรต กับการกินอย่างผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะมีข้อแตกต่างกันอยู่ ผู้บริโภคกาม และยังหนาแน่นอยู่ด้วยความรู้สึกทางโลกียวิสัย เมื่อกิน บางทีก็กินเพื่อยั่วยุกามให้กำเริบ จะต้องกินอย่างมีเกียรติ กินให้สมเกียรติ มิใช่กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะ ความจริงร่างกายคนเรามิได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิว ร่างกายก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างมีเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วง คนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้ แต่จำต้องทำเหมือนโคหรือควาย ซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถ แต่จำใจต้องลากมันไป...ลากมันไป อนิจจา!”

  • @Namcha42
    @Namcha42 ปีที่แล้ว

    สาธุค่ะ🙏

  • @kunaeng2942
    @kunaeng2942 2 ปีที่แล้ว +1

    สาธุ สาธุ สาธุค่ะ