5 ลักษณะที่แตกต่างของ Compressor...ตู้เย็น แบบธรรมดา 1 เฟสกับแบบ Inverter 3 เฟส

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 พ.ย. 2020
  • --- การควบคุมและแรงดัน-ความถี่ที่ใช้
    - คอมเพรสเซอร์แบบธรรมดา จะใช้แรงดันไฟฟ้าและความถี่เดียวตลอดการทำงาน ซึ่งก็คือแรงดันไฟฟ้า 220Vac ความถี่ 50 Hz นั่นก็คือไฟบ้านที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง โดยมีอุปกรณ์ช่วยในการทำงานของมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์ก็คือ
    - Over Load-Protector (โอเวอร์โหลด-โพรเทคเตอร์) ชุดป้องกัน...ทำหน้าที่ในการป้องกันขดลวดชุดสตาร์ท (S)ไม่ให้มีกระแสเกิน ซึ่งจะทำให้ขดลวดสตาร์ท (S) ขาดได้
    - Starting-Relay หรือชุดช่วยสตาร์ท มีทั้งแบบขดลวด และแบบเซรามิก ทำหน้าที่ช่วยสตาร์ทให้กับขดสตาร์ท (S) ในการทำงานครั้งแรก และจะส่งต่อไปให้ขดลวดรัน (R) ทำงานต่อไป ซึ่งพูดง่ายๆก็คือขดสตาร์ทจะทำงานแค่ช่วงเสี้ยววินาที จากนั้นจะส่งต่อให้ขดรันทำงานต่อไป
    - คอมเพรสเซอร์แบบ Inverter (อินเวอร์เตอร์) จะใช้แรงดัน Vac หรือ Vdc ก็ได้แล้วแต่การออกแบบของยี่ห้อนั้นๆ แต่ความถี่ในการใช้งานจะเป็นความถี่ที่มีการปรับเปลี่ยนค่าได้ ตั้งแต่ค่าน้อยไปจนถึงค่ามากๆ เพื่อนำไปขับมอเตอร์ที่ออกแบบการพันขดลวดมาเฉพาะสำหรับค่าความถี่ ซึ่งจะมีค่าเฟสแต่ละขดทำมุมกันอยู่ที่ 120 องศา การทำงานจะใช้แผงอิเลคโทรนิคส์สำหรับมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์หรือที่เราเรียกว่า Inverter (อินเวอร์เตอร์)...นั่นเอง
    --- สารทำความเย็นหรือน้ำยาที่ใช้
    ... คอมแบบธรรมดาส่วนใหญ่ใช้ทั้ง 2 เบอร์นั่นก็คือ R-134a และ R-600a
    ... คอมแบบ Inverter มักจะใช้ R-600a
    --- ด้านหลังของตู้ จะสังเกตได้ง่ายๆ... ก็คือ
    ... คอมแบบธรรมดา ด้านหลังตู้จะเรียบหรือถ้าเป็นตู้แบบใช้แผงควบคุม ก็จะเห็นแผงควบคุมนั้นอยู่ด้านล่างใกล้ๆบริเวณคอมเพรสเซอร์
    ... คอมแบบ Inverter ด้านหลังตู้มักจะมีการฝังแผงควบคุมการทำงานของมอเตอร์-อินเวอร์เตอร์อยู่ จะเห็นได้อย่างชัดเจน และที่รู้ได้ง่ายไปกว่านั้นก็คือ..ด้านหน้าตู้จะมีแผ่นเพลทหรือสติ๊กเกอร์ติดแสดงชัดเจนว่าเป็น Inverter พร้อมสัญญลักษณ์
    --- ลักษณะตัวและรูปร่างของมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์
    ... มอเตอร์-คอมเพรสเซอร์แบบธรรมดาจะมีลักษณะที่ใหญ่และหนักกว่า มอเตอร์-คอมเพรสเซอร์แบบ Inverter เล็กน้อยและลักษณะของตัวมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์ของ Inverter จะดูเล็กกว่าจนสังเกตเห็นได้ชัด
    --- ที่หัวหลักของมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์
    ... มอเตอร์-คอมเพรสเซอร์แบบธรรมดาที่หัวหลักจะมีอุปกรณ์ช่วยสตาร์ท และโอเวอร์โหลด-โพรเทคเตอร์อยู่
    ... แต่มอเตอร์-คอมเพรสเซอร์แบบ Inverter จะมีเพียงหัวซ๊อกเกต 3 รูเสียบอยู่บนหัวหลัก และอาจจะเห็นตัว โอเวอร์โหลด-โพรเทคเตอร์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกับของมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์แบบธรรมดาโดยสิ้นเชิง
    **** ในส่วนนี้มีความสำคัญอยู่มาก เนื่องจากบางท่านไม่ทราบว่าตู้ที่กำลังดูอยู่นั้นเป็นตู้แบบ Inverter แต่เข้าใจว่าเป็นตู้ที่ใช้มอเตอร์-คอมเพรสเซอร์แบบธรรมดา ที่ใช้ชุดช่วยสตาร์ทและโอเวอร์โหลด จึงทำการหาทั้ง 2 ตัวนี้แต่ปรากฏว่าไม่พบ จึงต้องทำความเข้าใจใหม่กับลักษณะและข้อแตกต่างอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ****
    เพราะฉะนั้นการที่นำคลิปวีดีโอสั้นๆคลิปนี้มาลงให้ศึกษา จุดประสงค์ก็เพียงอยากให้ท่านได้เข้าใจและเริ่มต้นในสิ่งที่ง่ายๆเรียบๆ และค่อยๆก้าวขึ้นไปสู่ในระดับที่เป็นมืออาชีพได้อย่างแท้จริง
    ก็หวังไว้เช่นเดิมว่าคลิปวีดีโอตัวนี้น่าจะมีประโยชน์ได้บ้างสำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มสนใจและศึกษา ในเรื่องการซ่อมตู้เย็น เชื่อว่าเมื่อถ้าเราทำได้แล้วจะเกิดความภูมิใจและอยากทำให้ได้มากกว่านี้มากขึ้นไปอีก
    ขอกราบขอบพระคุณท่านสมาชิกที่กดติดตามและช่างมือใหม่ หรือผู้ที่สนใจในงานทางด้านนี้ทุกท่าน จงประสบความสำเร็จในสิ่งที่ท่านชอบและในสิ่งที่ท่านทำ ปรึกษาปัญหาได้ที่เบอร์ 02-8855306 และ 084-6663328 ยินดีตอบคำถามทุกๆท่านด้วยความเต็มใจ...ขอบพระคุณอีกครั้ง
    “ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน”
    “ขอให้ความสำเร็จจงตามไปด้วยกับท่าน”
    กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามและรับชมด้วยดีเสมอมา
    สวัสดี...นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์ 1/12/2563 21.10 น.

ความคิดเห็น • 75

  • @suwatsitthiworakul2798
    @suwatsitthiworakul2798 3 ปีที่แล้ว +7

    อธิบายแบบไม่ห่วงวิชาความรู้เลย ผมให้คะแนนเต็มร้อยเลย ขอให้ท่านและครอบครัวจงมีความสุขและพบเจอแต่สิ่งที่ดี ๆ ครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณมากมายครับ...สำหรับคำอวยพรดีๆ ขอให้ท่านได้รับสิ่งนั้นด้วยนะครับ

  • @user-sr6pf5fz3u
    @user-sr6pf5fz3u 6 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากๆครับ 👍

    • @praseat594917
      @praseat594917  6 หลายเดือนก่อน

      ขอบพระคุณเช่นกัน ...ครับ

  • @user-jq4mx9zo2b
    @user-jq4mx9zo2b 3 ปีที่แล้ว

    อธิบายเข้าใจง่ายดีครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณครับสำหรับการติดตามและรับชม

  • @0849685768
    @0849685768 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ ที่ให้ความรู้

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว

      ยินดีและขอบคุณครับ

  • @zaza-cj5cn
    @zaza-cj5cn 2 ปีที่แล้ว

    อธิบายดีมาก/เสียงฟังชัดเจน/เข้าใจดีคับ/กราบขอบพระคุณ

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณ ...ครับ

  • @user-xv8po8gi4d
    @user-xv8po8gi4d 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุนครับอาจาร

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณเช่นกัน ..

  • @user-ht3ty1bj1e
    @user-ht3ty1bj1e ปีที่แล้ว

    เพจนี้ดีสุดสุด ไม่หวงวิชา ซึ่งทำให้คนที่สนใจมีการพัฒนา ขอชื่นชมครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  ปีที่แล้ว

      เป็นกำลังใจได้เป๊นอย่างดีเลย ...ขอบพระคุณมากครับ

  • @surapanelectric
    @surapanelectric 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล ได้ข้อมูลแน่นเลยครับ ขอนำข้อมูลไปแบ่งปันให้ลูกศิษย์ในช่องของผมบ้างครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว +1

      ยินดีครับ ...สามารถสอบถามเรื่องที่สงสัยได้เลยนะครับ ถ้ารู้จะตอบให้ขอบพระคุณครับ

  • @kmkp501
    @kmkp501 ปีที่แล้ว

    สวัสดีครับอาจารย์ขอสอบถามคับคอมอินเวอร์เตอร์ซัมซุงเสียเราจะเอาคอมอินเวอร์เตอร์ของค่ายอื่นมาใส่แทนได้ไหมคับหรือยี่ห้อเดียวกันแต่คนละรุ่นจะใส่แทนกันได้ไหมคับอาจารย์

    • @praseat594917
      @praseat594917  ปีที่แล้ว

      อาจจะได้เป็นบางยี่ห้อครับ ...ที่เคยเปลี่ยนก็มีของ Panasonic Embraco (ถ้าพิมพ์ชื่อผิดต้องขออภัยด้วย) โดยเทียบจาดขนาดคิวที่ใกล้เคียงกันครับ ถ้าให้ดีลองเช็คความถี่ที่ติดไว้ที่ตัวคอมฯด้วยก็ยิ่งดีครับ

  • @Oum_Sawanya
    @Oum_Sawanya 11 หลายเดือนก่อน

    สวัสดีค่ะ คอมอินเวอร์เตอร์ นำมาทำเครื่องสูบลมได้มั้ยคะ

    • @praseat594917
      @praseat594917  11 หลายเดือนก่อน +3

      ได้ครับ ...แต่จะยุ่งยากมากกว่าคอมฯแบบธรรมดานะครับ
      ... คอมฯธรรมดาสามารถนำมาใช้ได้เลย แต่คอมฯแบบอินเวอร์เตอร์จะต้องมีแผงบอร์ดควบคุม เกรงว่าจะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายกับเวลาที่ทำ
      นะครับ

    • @Oum_Sawanya
      @Oum_Sawanya 11 หลายเดือนก่อน

      @@praseat594917 ขอบคุณมากค่ะ

  • @user-jn6eu2ne1p
    @user-jn6eu2ne1p 2 ปีที่แล้ว

    มากกว่าการขอบคุณ

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณครับ ...

  • @user-ze4xh1nv9i
    @user-ze4xh1nv9i 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับอาจารย์

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณเช่นกันครับ

  • @komkomkom1411
    @komkomkom1411 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับครู

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณ...ขอบพระคุณ

  • @user-tg9pz6ek1l
    @user-tg9pz6ek1l 3 หลายเดือนก่อน

    ขอสอบถามหน่อยครับถ้าเราจะใช้ Compressor แบบ Inverter จะดัดแปลงให้เป็นแบบธรรมดาได้ไหมครับ คือตอนนี้ตู้เย็นเป็นแบบ Inverter แต่แผงควบคุมเสียเลยว่าจะดัดแปลงให้เป็นแบบธรรมดานะครับจะใช้ Compressor Inverter ได้ไหมครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 หลายเดือนก่อน

      ไม่ได้ ...ครับ

  • @buakeawsila7204
    @buakeawsila7204 ปีที่แล้ว +1

    วิธีเช็คหาขั้วwuvอาจารย์พอจะมีวิธีแนะนำไหมครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  ปีที่แล้ว

      ... ต้องถามก่อนว่าทำไมต้องหาหัวหลักของคอมฯแบบอินเวอร์เตอร์ก่อนนะครับตามปกติแล้ว
      ... หัวหลักของคอมเพรสเซอร์แบบ Inverter มักจะออกแบบมาให้มุมด้านบนหรือหัวจั่วของสามเหลี่ยมเป็น V ไม่ว่าหัวจั่วนั้นจะอยู่ล่างหรือบน
      ... และค่าความต้านทานของขอลวดทั้ง 3 U V W นั้นมีค่าความต้านทานเท่ากัน
      ... หรือในกรณีที่เราไม่มีแจ๊คเสียบหัวหลักคอมฯ หรืออาจจะใช้สายไฟมาต่อแทนแจ๊คหัวเสียบ ก็ให้ไล่จากปริ้นก่อนโดย
      - ถ้าเป็น V ก็ให้ต่อไปที่หัวจั่วหรือมุมของสามเหลี่ยม
      - ส่วน W กับ U ให้ลองต่อกับหัวหลักที่เหลือ ...แล้วเดินเครื่องให้คอมฯ
      ทำงาน ลองเอานิ้วอุดที่ท่ออัดดู ถ้าอัดได้ก็แสดงว่าต่อได้ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ก็สลับสาย W กับ U แล้วทดสอบอีกครั้ง

    • @buakeawsila7204
      @buakeawsila7204 ปีที่แล้ว

      พอดีผมซื้อคอมมือสองยี่ห้อพานามาใส่แทนLGตู้เย็น 2 ประตูไม่แน่ใจขั้วต่อครับ

  • @phairatfakson6914
    @phairatfakson6914 2 ปีที่แล้ว

    โอเวอร์โหลดตู้เย็นอินเวอร์เตอร์เสียใช้ฟิวต่อแทนได้มั้ยครับ ขอบคุณครับที่ให้ความรูั

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      ไม่ได้ครับ ...เพราะฟิวส์ถ้าขาด/ตัดแล้วขาดเลย ไม่สามารถต่อกลับคืนได้เองครับ

  • @user-tq9wn9pj2o
    @user-tq9wn9pj2o 3 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณคัรบที่มอบความรุ้ดีๆๆให้ขอให้อาจารสุขภาพแข็งแรงคัรบ

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำอวยพร...ดีๆ

  • @user-po6vp8xc2n
    @user-po6vp8xc2n ปีที่แล้ว

    รักเลย

    • @praseat594917
      @praseat594917  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณมาก ...ครับ

  • @user-rm5pr2mt7v
    @user-rm5pr2mt7v 3 ปีที่แล้ว +1

    การวัดคอม อินเวอร์เตอร์

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว

      หมายถึง..การวัดค่าความต้านทานของขดลวด ตั้งมิเตอร์ย่านวัดค่าความต้านทาน การวัดจะได้ค่าเท่ากันทั้งหมด...จึงจะถือว่าปกติ..ครับ
      ...และก็ยังมีการวัดขดลวดกับเปลือกคอมฯว่าลงกราวด์หรือไม่ ด้วยนะครับ

  • @teonyjang1586
    @teonyjang1586 ปีที่แล้ว

    ขั้วคอมอินเวอร์เตอร์ สลับ c อยู่บนกับล่างแตกต่างกันยังงัยครับ..ใช้แทนกันได้มั้ย

    • @praseat594917
      @praseat594917  ปีที่แล้ว

      ... ไม่ใช่หัวหลัก C นะครับเมื่อเป็นแบบอินเวอร์เตอร์ก็จะเรียกเป็น U V และ W ครับ
      ... ไม่แตกต่างครับจุดนั้นจะสลับเป็นบนหรือล่างก็ยังเป็นตำแหน่ง V อยู่ดี เพราะว่าหัวที่เสียบกับหัวหลักคอมฯนั้นมีการบังคับตำแหน่งไว้ที่บอร์และหัวหลักให้ตรงกันเสมอครับ

  • @kifsonsaephung1262
    @kifsonsaephung1262 3 ปีที่แล้ว

    ดีครับอาจารย์สอบถามหน่อยครับ
    เชื่อมปิดระบบตู้เย็นน้ำยาr600 วิธีที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุดต้องเปิดเครื่องให้คอมทำงานหรือปิดเครื่องครับ ขอบคุณมากครับอาจารย์🙏🙏🙏
    ช่างบางคนว่าเดินเครื่องบางคนว่าเปิดเครื่อง คาใจ

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว +1

      *** ตามมาตรตราฐานของบริษัท ...เขาให้ใช้หัวอุดปิดเอาครับ ***
      ***** แต่ทั่วๆไป ให้เดินเครื่องให้เข็มที่เกจวัดตกเลข 0 ก็เชื่อมปิดได้เลยครับ *****
      ******* หลายท่านอีกเหมือนกัน ปิดเครื่องแล้วเชื่อมก็ได้อีกละครับ *******
      แต่ความคิดเห็นผม ให้ใช้หัวอุดแล้วซีลฝา ปลอดภัยกว่าครับ
      ผิดถูกอย่าว่ากันนะครับ เพราะทุกวิธีใช้ได้หมดละครับ

    • @kifsonsaephung1262
      @kifsonsaephung1262 3 ปีที่แล้ว

      @@praseat594917 ขอบคุณมากครับอาจารย์ พอดีเห็นช่างเค้าโต้เถียงเรื่องนี้กันไม่รู้จะเชื่อใครดี แต่ที่แน่ๆผมเชื่ออาจารย์ครับ
      ขอบคุณมากครับกับคำตอบคำชี้แนะหายข้องใจสักที 🙏🙏🙏🙏

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว +1

      ต้องกลับมาตอบเลยนะครับว่า...ขอบพระคุณครับ

  • @perrmyint3098
    @perrmyint3098 3 ปีที่แล้ว

    ถึงว่าผมหา overload start kit รือว่า delay ไม่เจอ ขอบคุณมากครับ.

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว

      ครับ...ขอบพระคุณครับ

  • @phokhamkorvongxay572
    @phokhamkorvongxay572 3 ปีที่แล้ว

    มาแล้วครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว +1

      ขอบพระคุณครับ...มาเม้นท์แรกเลย

  • @bigbluebanthai46
    @bigbluebanthai46 ปีที่แล้ว

    สงสัยว่า คอมเพรสเซอร์ของ Inverter ทำงานตลอดเวลา จะทำให้ตู้เย็นพังเร็วกว่าไหมครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  ปีที่แล้ว

      คอมฯ Inverter จะมีการหยุดไม่ทำงานในช่วงตัดละลายด้วยครับ
      แต่เท่าที่ดูๆแล้วก็เสียพอๆกับตู้แบบธรรมดาครับ อาจจะเป็นบางยี่ห้อที่เสียมากหน่อยเช่น Samsung เป็นต้น

  • @user-lg6kp9wq4w
    @user-lg6kp9wq4w 2 ปีที่แล้ว

    อยากรู้ขั่วไหนvuwคับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว +1

      ส่วนใหญ่ V จะอยู่ที่ยอดแหลมที่ชี้ขึ้นหรือลง (ถ้าเป็นเฟสเดียวก็คือ C) ส่วน U กับ W นั้นข้างไหนก็ได้ แต่ถ้าจะให้แน่นอนควรไล่ดูจากหัวเสียบที่แผงหรือบอร์ด ก็จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นครับ ขอบพระคุณสำหรับคำถาม

    • @user-lg6kp9wq4w
      @user-lg6kp9wq4w 2 ปีที่แล้ว

      พอดีผมซื้อตัวเทสคอมinverter มาinverter ผมไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      หัวเสียบของตัวเทส ...มันก็บังคับไว้อยู่แล้วนะครับ เสียบเข้าไปเพื่อทดสอบได้เลยครับ

  • @tongsasanit3370
    @tongsasanit3370 3 ปีที่แล้ว

    อาจารณ์คับเกจปล่อยนำ้ยาเราซื้อแบบเดี่ยวเกจวัดอันเดียวก็ใด้ใช่ไหมคับ.

  • @bermm5893
    @bermm5893 2 ปีที่แล้ว

    Digital inverter เสียงดังตลอดอันนี้เสียหรือไม่ครับตรวจสอบด้วยตัวเองได้ไหม

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว +1

      เสียงดังตลอด... หมายถึงว่าแหล่งที่มา มาจากไหนครับ อาจจะมาจากลูกยางรองตัวคอมฯเอง แต่ถ้ามาจากในตัวคอมเพรสเซอร์เอง ก็มีโอกาศที่น่าจะเสียสูงอยู่... ครับ

    • @bermm5893
      @bermm5893 2 ปีที่แล้ว

      @@praseat594917 ลองสังเกตมาสองวันครับ ปรากฏว่า มันก็มีช่วงเวลาที่มันหยุดเหมือนละลายน้ำแข็ง แล้วก็มีช่วงที่คอมเพรสต้องทำงานดังอยู่นาน แต่ก็ไม่รู้อยู่ดีครับว่า ปกติแล้ว ระบบดิจิตอลอินเวอรเตอร์ทำงานแบบนี้อยู่แล้วหรือเปล่า หรือว่าปกติก็แบบนี้ครับ? ขอบคุณครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      ปกติเสียงการทำงานของคอมเพรสเซอร์จะเงียบๆอยู่นะครับ เป็นของฮิตาชิหรือเปล่าครับ

    • @bermm5893
      @bermm5893 2 ปีที่แล้ว

      @@praseat594917 sumsung ครับ

  • @user-zt3ms5yp8k
    @user-zt3ms5yp8k ปีที่แล้ว

    มอเตอร์คอมที่ทนไม่ค่อยเสียในตู้เย็นเป็นเพราะอะไร

    • @praseat594917
      @praseat594917  ปีที่แล้ว

      อาจจะเป็นเพราะว่า ...
      - แหล่งจ่ายไฟหรือปลั๊กที่ต่อใช้งาน ไฟมีความสเถียร ไม่ตกบ่อยๆ ไม่เกิน ทำให้
      คอมฯทำงานได้ราบเรียบ
      - นอกนั้นขึ้นอยู่กับตัวคอมฯเอง ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ อุปกรณ์ภายในของตัว
      คอมฯที่ได้มาตราฐาน ....ประมาณนั้นครับ

  • @boonkongkanwilai2099
    @boonkongkanwilai2099 2 ปีที่แล้ว

    คอมตู้แช่ATA72Xใช้คอมตัวไหนแทนได้บ้างครับ

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      คอมฯของกุลธรเบอร์อะไรก็ได้ครับที่มีขนาด 1/4 น้ำยา 134a ครับลองเทียบหาดูในกูเกิ้ลนะครับมีให้เลือกหลายเบอร์ครับ

    • @boonkongkanwilai2099
      @boonkongkanwilai2099 2 ปีที่แล้ว

      @@praseat594917 ขอบคุณครับ

  • @boonkongkanwilai2099
    @boonkongkanwilai2099 2 ปีที่แล้ว

    คอมเพรสเซอร์​ตู้เย็น​กับตู้แช่นำ้ยาเหมือนกับแรงเท่ากันมันต่างกันยังไงครับใช้แทนกันได้ไหม

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      ต้องแยกตู้เย็นกับตู้แช่ก่อนนะครับ
      - ตู้เย็น.. มีทั้งช่องฟรีซหรือช่องแช่แข็ง.. อุณหภูมิที่ใช้คือตั้งแต่ -12 องศา C ขึ้นไป และช่องแช่ธรรมดาอุณหภูมิคือตั้งแต่ 1-4 องศา C
      และคอมเพรสเซอร์ที่ใช้เป็นแบบ LBP หมายถึงสามารถทำความเย็นได้ถึง -40 องศา แล้วแต่ว่าจะออกแบบให้เป็นตู้อะไร
      - ตู้แช่ ถ้าเป็นตู้แช่เครื่องดื่มธรรมดา อุณหภูมิที่ใช้จะเริ่มตั้งแต่ 0-5 องศา (ไม่รวมตู้ที่สามารถแช่น้ำแข็งยูนิตได้นะครับ) คอมเพรสเซอร์ที่ใช้จะเป็นแบบ HBP หมายถึงสามารถทำความเย็นได้ที่ 0-12 องศา C
      คำตอบคือคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น กับคอมเพรสเซอร์ตู้แช่ แทนกันไม่ได้ ถึงจะแทนกันได้ก็ต้องดูองค์ประกอบหลายๆอย่างครับ.. ขอบพระคุณสำหรับคำถาม

    • @boonkongkanwilai2099
      @boonkongkanwilai2099 2 ปีที่แล้ว

      @@praseat594917 ขอบคุณครับ

  • @user-kb1mr6nx3b
    @user-kb1mr6nx3b 2 ปีที่แล้ว

    ถามว่าการตรวจซ่อมมอเตอร์อินเวอร์เตอร์จะยากใหมครับ การตรวจหาขั้วหลักเหมือนกับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบธรรมดาหรือไม่ อย่างไร แตกต่างกันอย่างไร

    • @praseat594917
      @praseat594917  2 ปีที่แล้ว

      ครับ... ส่วนใหญ่มอเตอร์แบบอินเวอร์เตอร์ไม่ค่อยพบอาการเสียมากนัก ส่วนใหญ่จะมีปัญหาหรือบอร์ดขับมอเตอร์เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ
      ***** การเช็คมอเตอร์แบบอินเวอร์เตอร์นั้น ก็เพียงแค่วัดด้วยมิเตอร์ตั้งย่านวัดที่ความต้านทาน Rx1 วัดสลับกันทั้ง 3 หัวหลักของมอเตอร์ ถ้าปกติเราจะได้ค่าความต้านทานที่เท่ากันทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าได้ 12 โอห์มก็จะได้เท่ากันทั้งหมด ...เป็นต้น ขอบพระคุณครับ *****

  • @siriyakornchaiyasingha6312
    @siriyakornchaiyasingha6312 3 ปีที่แล้ว +1

    ผมเป็นช่างแล้วครับอาจารย์โดยไม่ใด้เข้าคอสเรียนดูคลิปอาจารย์และท่านอื่นๆหลายท่านสามารถซ่อมแอร์ติดตั้งล้างใด้และซื้อเครื่องมือซ่อมแอร์ซ่อมตู้เย็นเยอะมากเรื่องบอร์ดถ้าเสียไม่เยอะผมว่าผมซ่อมใด้ดูคลิปทุกวันครับผมมีอาชีพขับรถรับจ้างวันหยุดรับจ๊อบซ่อมแอร์ล้างแอร์เครื่องซักผ้าขอบคุณครับอาจารย์

    • @praseat594917
      @praseat594917  3 ปีที่แล้ว +1

      เป็นกำลังใจให้นะครับ..ยินดีกับช่างใหม่ไฟแรงด้วยนะครับ ขอบพระคุณ