ธรรมปริยายชำแรกกิเลส | นิพเพธิกสูตร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 19 พ.ค. 2024
  • ธรรมปริยายชำแรกกิเลส
    นิพเพธิกสูตร
    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
    เล่มที่ ๒๒ ข้อ ๓๓๔
    ข้อแนะนำในการปฏิบัติ
    ก่อนจะฟังพึงเข้าสมาธิสักครู่หนึ่ง
    เมื่อได้สมาธิดีแล้วฟังพุทโธวาท
    และน้อมธรรมมาสู่ใจ
    น้อมใจปฏิบัติตามพุทโธวาทตรง ๆ
    ให้เข้าใจแจ้ง และได้สภาวะจิตดีจริง
    เมื่อได้สภาวะดีใด ให้รักษาสภาวะนั้นออกมาสู่ชีวิตจริง
    ความยาววีดิทัศน์ 25:05 นาที
    เวลาปฏิบัติ 35 นาที
    _____
    ธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
    เธอทั้งหลายพึงทราบกาม
    เหตุเกิดแห่งกามความต่างแห่งกาม
    วิบากแห่งกาม
    ความดับแห่งกาม
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม
    เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา
    เหตุเกิดแห่งเวทนา
    ความต่างแห่งเวทนา
    วิบากแห่งเวทนา
    ความดับแห่งเวทนา
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา
    เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา
    เหตุเกิดแห่งสัญญา
    ความต่างแห่งสัญญา
    วิบากแห่งสัญญา
    ความดับแห่งสัญญา
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา
    เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ
    เหตุเกิดแห่งอาสวะ
    ความต่างแห่งอาสวะ
    วิบากแห่งอาสวะ
    ความดับแห่งอาสวะปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ
    เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม
    เหตุเกิดแห่งกรรมความต่างแห่งกรรม
    วิบากแห่งกรรม
    ความดับแห่งกรรม
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม
    เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์
    เหตุแห่งทุกข์
    ความต่างแห่งทุกข์
    วิบากแห่งทุกข์
    ความดับแห่งทุกข์
    ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์
    กาม
    กามคุณ ๕ ประการนี้ คือ
    รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
    เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู
    กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก
    รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น
    โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด
    ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณในวินัยของพระอริยะเจ้า
    ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม
    อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น
    ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกามทั้งหลาย
    ก็ความต่างกันแห่งกาม คือ
    กามในรูปเป็นอย่างหนึ่งกามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง
    กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง
    กามในรสเป็นอย่างหนึ่งกามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
    นี้ความต่างกันแห่งกาม
    วิบากแห่งกาม คือ
    การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกาม
    ความดับแห่งกามเพราะผัสสะดับ
    อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม
    เมื่อใด อริยสาวกทราบชัดกาม เหตุเกิด ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกาม
    เวทนา
    เวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
    ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา
    ก็ความต่างกันแห่งเวทนา คือ
    สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส ไม่เจือด้วยอามิสทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิส ไม่เจือด้วยอามิส
    อทุกขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส
    นี้เรียกว่าความต่างแห่งเวทนา
    วิบากแห่งเวทนา คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา
    ความดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
    อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
    ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา เหตุเกิด ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้
    สัญญา
    สัญญา ๖ ประการนี้ คือ
    รูปสัญญา
    สัททสัญญา
    คันธสัญญารสสัญญา
    โผฏฐัพพสัญญา
    ธรรมสัญญา
    ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา
    ความต่างแห่งสัญญา คือ
    สัญญาในรูป
    สัญญาในเสียง
    สัญญาในกลิ่นสัญญาในรสเ
    สัญญาในโผฏฐัพพะ
    สัญญาในธรรมารมณ์
    นี้เรียกว่าความต่างแห่งสัญญา
    วิบากแห่งสัญญา คือ เราย่อมกล่าวสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า) บุคคลย่อมรู้สึกโดยประการใดๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆ ว่า เราเป็นผู้มีความรู้สึกอย่างนั้น นี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา
    ความดับแห่งสัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
    อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา
    ก็เมื่อใด อริยสาวกทราบชัดสัญญา เหตุเกิด ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งสัญญานี้
    อาสวะ
    อาสวะ ๓ ประการ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
    อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ
    ความต่างแห่งอาสวะ คือ
    อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี ให้ไปสู่กำเนิดสัตวดิรัจฉานก็มี ให้ไปสู่เปรตวิสัยก็มี ให้ไปสู่มนุษย์โลกก็มี ให้ไปสู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ
    วิบากแห่งอาสวะ คือ การที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งอาสวะ
    ความดับแห่งอาสวะย่อมเกิดเพราะความดับแห่งอวิชชา
    อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ
    ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดอาสวะ เหตุเกิด ความต่าง วิบาก ความดับ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้
    กรรม
    เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ
    ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
    ความต่างแห่งกรรม คือ
    กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ในเปรตวิสัยก็มี ในมนุษย์โลกก็มี ในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม
    วิบากแห่งกรรม คือ
    กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
    กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑
    กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
    ความดับแห่งกรรม...

ความคิดเห็น • 5

  • @prasanwongsatittana2080
    @prasanwongsatittana2080 23 วันที่ผ่านมา +2

    ขอขอบคุณ

  • @Layitesig
    @Layitesig 24 วันที่ผ่านมา +1

    สาธุสาธุสาธุ อนุโมทามิ
    🌲🍂🙏🙏🙏🍂🌲

  • @user-xx8if2zz8e
    @user-xx8if2zz8e 24 วันที่ผ่านมา +2

    🙇🙇🙇

  • @user-ni3yh6ht7p
    @user-ni3yh6ht7p 23 วันที่ผ่านมา +1

    อนุโมทนาสาธุครับ

  • @vimuttra
    @vimuttra 22 วันที่ผ่านมา +1

    🙏🏻🙏🏻🙏🏻